แอดมินได้เจอ “รุ่นน้องคนนึง” เริ่มแหกกฎการหารายได้ตั้งแต่ปี 2 เริ่มมองหาช่องทางการทำรายได้ทางนึง จนสำเร็จ หารายได้ต่อเดือนไม่เยอะ หลักพันบ้าง หลักหมื่นบาทบ้าง แต่ที่แน่ๆ คือ ได้ความรู้เยอะมาก
พอเรียนจบก็ยังคงทำต่อเนื่อง และใช้ชีวิตแบบดีมาก แบ่งเวลาเรียนรู้ ไปเที่ยวบ้าง และยังคงหารายได้ช่องทางอื่นๆต่อไป
พออายุ 25 26 เจอกันอีกที “พี่ผมเตรียมเกษียณแล้วนะ” ตอนนี้มีรายได้มากพอจากการปันผลแล้ว หลักหลายแสนต่อเดือน) และมีเงินสำรองอื่นๆ (หลักหลายล้าน) รวมทั้งจ่ายหนี้บ้าน และหนี้รถ ได้สบายๆ จนไม่ต้องทำงานอะไรแล้ว แค่รอใช้เวลาไป
ที่น่าดีใจด้วยคือ ยังสามารถไปเที่ยวต่างประเทศได้แบบสบายๆปีละ หลายๆครั้งได้ด้วย
หลังจากผ่านไป เกือบปี ได้มานั่งคุยกันอีกครั้ง “พี่ผมได้งานใหม่แล้วนะ” กำลังจะเริ่มต้นเดือนหน้าแล้ว
ด้วยความสงสัย ก็เลยถาม ทำไมกลับมาทำงานละ สบายขนาดนั้นแล้ว
น้องคนนั้นบอกว่า เบื่อพี่ อยู่แต่บ้าน ไปแต่ห้าง สบายเกินไป สมองไม่ได้รับอะไรใหม่ๆเลย แรกๆก็ดี หลังๆความว่างเริ่มทำให้เบื่อจนรู้สึก “หมดคุณค่าในชีวิต” มาทำงานดีกว่า เรายังแข็งแรง มีคุณค่ามากกว่าเยอะ
จากเรื่องนี้ ได้เรียนรู้ว่า “คุณค่าของชีวิต” เป็นคนละเรื่องกับ ความร่ำรวย หรือ การมีความสบายมากๆ มันอยู่ที่นิยามของแต่ละคนมากกว่า
เราอาจจะแค่มีเป้าหมายเดียวกัน คือการหาเงิน เพื่อมาใช้จ่ายให้ความสบายในการดำรงชีวิตในระดับพื้นฐาน แต่พอขึ้นสูงๆแล้ว “ต้องเลือกเอง” ว่า จะมีคุณค่าของตัวเองในแบบไหน
และอุปสรรค ปัญหาการใช้ชีวิตที่เจอในทุกๆวัน มันอาจจะเป็น รสชาติชั้นดี ที่เมื่อพอเราสบายแล้ว เราจะได้คุณค่าจากมันมากกว่า อะไรที่ได้มาง่ายๆ “คนที่ก่อตั้งบริษัทของตัวเอง ย่อมชื่นชมตัวเองมากกว่า แค่การต่อยอดมาจากคนอื่น”
ความสบายเป็นแค่นิยาม ไม่ได้ให้คุณค่าที่แท้จริง
แต่การได้ลงมือทำ ในแบบของตัวเอง ต่อให้ไม่สำเร็จ
สุดท้ายก็จะได้ “คุณค่า” ในแบบของเรากลับมาอยู่ดี
เขียนโดย แอดมินเชน
ไปให้ถึง100ล้าน
#สังคมคุณภาพ
#เรียนรู้จากเรื่องจริง