หา “ล้านแรก” ได้ไม่ยาก ถ้าเข้าใจ “นิสัยของเงิน”
.
– การออมเป็น “เกมแห่งระยะเวลา” (game of time) ใครเริ่มต้นก่อน ก็รวยก่อน เพราะยิ่งทิ้งไว้นาน ยิ่งได้เป็นกอบเป็นกำ ถือเป็น “เงื่อนไขจำเป็น” ของทุกคนที่มีเป้าหมายต้องการบรรลุสู่อิสรภาพทางการเงิน
.
– “ความรู้ทางการเงิน” สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า “ความรู้ทางการงาน” เพราะในชีวิตของคนเราทุกคนนั้น จะมีช่วงที่จะสามารถหา “รายได้จากการทำงาน” (you at work) จำกัด และจะต้องมีชีวิตหลังเกษียณค่อนข้างยาวนาน จึงต้องรู้วิธีที่จะ “ใช้เงินให้ทำงาน” (money at work)
.
– การลงทุนเป็น “เกมแห่งจังหวะเวลา” (game of timing) ต้องรู้จังหวะในการเข้าออกจากตลาดที่เหมาะสม ซื้อเมื่อต่ำ ขายเมื่อสูง หยุดเมื่อสงสัย เพราะถ้าหากเข้าผิดจังหวะ ยิ่งทิ้งไว้นาน จะยิ่งเสียหายมาก และทำให้โอกาสที่จะได้ทุนคืนยากขึ้นเรื่อยๆ (losses are harder to regain)
.
– การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนไม่ใช่การตัดสินใจซื้อสินค้าสำเร็จรูป (product) แบบที่ตัดสินใจตอนซื้อครั้งเดียวจบ
.
ถ้าไม่ได้ผล หรือใช้แล้วไม่พอใจ ก็ทิ้งมันไว้เฉยๆ จริงๆ แล้วการลงทุนเป็นกระบวนการ (process) ที่ต้องมีการเอาใจใส่ ติดตามผล และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา
.
– หนทางไปสู่ความสำเร็จไม่ได้มีเพียงเส้นทางเดียว จุดสำคัญในการบริหารการลงทุนนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ วิธีการ หรือสไตล์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเพียง “เกมภายนอก” (outer game) แต่เป็นเรื่องของทัศนคติ วิธีคิด พลังใจ ซึ่งเป็น “เกมภายใน” (inner game)
.
– ลำพังแค่การ “เอาชนะดัชนี” (beat the index) ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ไม่มีใคร “เอาชนะตลาด” (beat the market) ได้
.
เคล็ด (ไม่) ลับในการจะยืนหยัดอยู่ในเกมการลงทุนอย่างตลอดรอดฝั่งในฐานะ “ผู้ชนะ” นั้น อยู่ที่การยืนอยู่ข้างเดียวกับตลาดไม่ใช่ฝืนตลาด
.
– ความสำเร็จในการลงทุนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน จริงๆ แล้วมันอาจเปรียบได้กับการวิ่งแข่งระยะไกล (marathon) ไม่ใช่การวิ่งแข่ง 100 เมตร (sprint) ดังนั้น คุณจะต้อง “รู้จักตัวเอง” (know yourself)
.
ว่าอะไรคือสไตล์การลงทุนที่เหมาะสมที่เข้ากันได้กับความสามารถในการรับความเสี่ยง (risk attitude) และทักษะในการลงทุน (risk aptitude) เพราะนั่นคือ “ระบบ” ที่คุณต้องใช้ในเพื่อ “ทำธุรกิจ” นี้ในระยะยาว
,
ในการใช้เงินต่อเงินนั้น คุณต้อง “รู้จักเครื่องมือ” (know the vehicle) ว่ามีลักษณะและรูปแบบการให้ผลตอบแทนอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดอะไรบ้าง
.
– นอกจากนี้ คุณต้อง “รู้จักตลาด” (know the market) คือ รู้ว่าตลาดการเงินมีธรรมชาติเป็นอย่างไร อะไรคือสาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้เกิดการกระเพื่อมขึ้นลงของตลาด และรู้วิธีการในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนว่าต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
.
– อย่าติดอยู่ในกับดักของ “การบริโภคข้อมูลเกินขนาด” (information overload) ซึ่งมัวแต่สนใจหาข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ จนไม่กล้าลงมือปฏิบัติ (analysis paralysis)
.
เพราะมีความเชื่ออย่างผิดๆ แบบพวกมองโลกสมบูรณ์แบบ (perfectionist) ว่าถ้ามีข้อมูลที่สมบูรณ์จะไม่เกิดความผิดพลาด (zero-defect mentality) จริงๆ แล้ว หัวใจสำคัญของการบริหารการลงทุนนั้นอยู่ที่การ “จำกัดความเสี่ยง” (risk limitation) ไม่ใช่ “กำจัดความเสี่ยง” (risk elimination)
.
– ถ้าถามว่ากฎ ที่สำคัญที่สุดที่สรุปได้จากการปฏิบัติ (rule of thumb) ของผู้เขียนหนังสือชุด “อยากรวย ต้องรู้” คืออะไร ก็อยากตอบว่า rule of “ทำ” นั่นคือ “รู้แล้วต้องลงมือทำ” เพราะในภาษาอังกฤษ คำว่า “โชคลาภ” (luck) เป็นตัวย่อของ Laboring Under Correct Knowledge แปลว่า “ลงมือทำ ด้วยความพากเพียร โดยอาศัยความรู้ที่ถูกต้อง” นั่นเอง
.
.
.
ที่มา: ผู้แต่ง คุณนำชัย เตชะรัตนะวิโรจน์ จากหนังสือชุดอยากรวยต้องรู้ เล่ม 3 สำนักพิมพ์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
.
#เทคนิคการบริหารเงิน
#ล้านแรก
#ไปให้ถึง100ล้าน
.
รับประเด็นดีๆ แบบสั้นๆ อ่านง่ายๆ
เพื่อเพิ่มรายได้และกำไรไปด้วยกันได้ที่
.
Line : @100lanclub / https://lin.ee/gW2xe1J
IG : instagram.com/100lanclub
Blockdit : blockdit.com/100lanclub
Website : www.smepark.co