เวลาหนึ่งวันเท่ากัน แต่ทำไมรายได้ธุรกิจต่างกัน คนทำธุรกิจต้องมองไปที่ภาพใหญ่ แต่สนใจข้อมูลในระดับรายวัน

สิ่งที่สงสัยมาตลอด อะไรคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ธุรกิจนั้นพัฒนามีรายได้ต่างกัน แรก ๆ ก็เห็นเป็นในเรื่องการ ต้นทุน ความรู้ คน คอนเนคชั่น ฯลฯ หลักจากมาเป็นเจ้าของ 2 บริษัทแล้วถึงได้รู้ว่า ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงตัวย่อย ตัวหลักที่แท้จริงแล้ว นั้นคือ “เวลาในแต่ละวัน” สิ่งนี้มีเท่ากันทุกธุรกิจ และการทำเยอะหรือน้อยไม่สำคัญเท่า ในแต่ละวันได้ผลลัพธ์ที่กระทบกับธุรกิจยังไงบ้าง ด้วยธรรมชาติของงานบริหารและการดูแลธุรกิจของเจ้าของธุรกิจยุคใหม่จะได้สัมผัสถึง “เส้นแบ่งเวลางานและเรื่องส่วนตัว ที่หายไป” เพราะทุก ๆ วันต้องมี “การอัปเดตที่ต้องเปิด” ข้อมูลและเทรนด์ต่าง ๆ ไหลกันแบบไม่หยุดหย่อน มีโอกาสใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกที่ คนทำธุรกิจเลยดูเหมือนกำลังทำงานกันตลอดเวลา คือ มีการแบ่งเวลาทำงานและมีวันหยุดเหมือนปกติ แต่ “ความคิดข้างใน” นั้นยังคงวิ่งตลอด สิ่งนี้ธรรมชาติที่ดีของการทำธุรกิจ แต่จากที่ได้ศึกษาประวัติของคนสำเร็จและจากประสบการณ์ของการเป็นเจ้าของบริษัทมาหลายปีของตัวเองแล้ว สิ่งนี้ไม่ใช่ตัวบ่งบอกว่าจะทำให้รายได้ของธุรกิจเพิ่ม จุดแข็งที่สำคัญกว่าจริง ๆ นั้นคือ “ผลลัพธ์ในแต่ละวัน” การเปิดรับอัปเดตข้อมูลตลอด คิดอะไรได้ในทุกวัน ต้องนำไปสู่การลงมือทำในหน่วยวันให้ได้ด้วย เป็นเจ้าของธุรกิจเมื่อคิดได้แล้วต้องแอ็กชั่นออกไปด้วยในแต่ละวัน ก็จะเป็นตัวสร้างผลกระทบและแรงดึงดูดที่ทำให้ธุรกิจก้าวหน้าได้ในที่สุด

เวลาหนึ่งวันเท่ากัน แต่ทำไมรายได้ธุรกิจถึงต่างกัน?

ทรัพยากรในด้านของเวลา คือส่วนแรกของธุรกิจที่ทำให้ธุรกิจมีรายได้ต่างกัน ลองดูธุรกิจที่เกิดนานแล้วแบบภาพรวม ส่วนใหญ่ถ้ายังอยู่ได้มาถึงจุดนี้ ก็ย่อมมีงบดุลรายได้ การลงทุนและสิ่งต่างๆที่มากกว่า ธุรกิจที่เพิ่งเกิดใหม่ เพราะผ่านอะไรมาเยอะ นอกนั้นจะเป็นเรื่องของความรู้ คน คอนเนคชั่นและส่วนย่อยต่าง ๆ  “ยิ่งจัดการเวลาได้ดีกว่าเท่าไร ก็จะเหมือนได้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นมา” นี้จึงเป็นปัจจัยที่ทวีคูณเพิ่มขึ้นได้โดยไม่สนว่าเป็นเจ้าใหญ่หรือเจ้าเล็ก ยิ่งเป็นแบรนด์เล็กยิ่งได้เปรียบ หากเพิ่งเกิดใหม่แต่จัดการเวลาได้ดีกว่า ก็จะสร้างผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

เหมือนคำกล่าวที่บอกว่า “ยุคนี้ปลาใหญ่ที่เก่งกาจ ยังสู้ปลาเล็กที่เร็วไม่ได้” ซึ่งผู้นำธุรกิจระดับโลกแบบอีลอน มัสก์ ได้แสดงให้เห็นแล้ว โดยเปลี่ยนเวลาใน 1 สัปดาห์ ให้เป็นเวลาทำงานได้กว่า 80-100 ชั่วโมง ช่วยติดสปีดธุรกิจให้โตได้อย่างรวดเร็ว เพราะแบ่งเวลาทั้งหมดด้วยเทคนิค “Time Boxing” หรือ “Time Blocking” เป็นการประยุกต์การใช้ To-Do List เข้ามารวมกับเวลา คือ ไม่ว่าทำอะไรจะมีกำหนดเวลาชัดเจนมาก คือมีเรื่องที่ต้องทำ และต้องทำให้จบภายในเวลาที่กำหนดไว้ด้วย ด้วยเทคนิคนี้ทำให้รู้ได้ว่า “หากเจ้าของธุรกิจมีเวลาเพิ่ม ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการพัฒนาธุรกิจได้มากขึ้น” การมองให้เห็นข้อมูลระดับรายวัน จะช่วยแปลงความคิดให้เกิดเป็นผลลัพธ์ขึ้นในทุก ๆ วัน

เทคนิคเปลี่ยนการ “คิดตลอดเวลา” คิดทุกวันแบบให้ได้ “ผลลัพธ์ทางธุรกิจ” เพิ่มขึ้นมา

เมื่อ “การคิดตลอดเวลา” นั้นไม่สำคัญเท่า “ต้องทำให้ออกมาเป็นผลลัพธ์ได้ด้วย” จึงต้องมองหาเทคนิคที่จะช่วยให้การคิดนั้นสร้างผลลัพธ์ขึ้นมาได้ จากประสบการณ์ทำธุรกิจของตัวเอง และอ่านประวัติของเจ้าของธุรกิจหลายท่าน ขั้นแรกของการคิด ต้องมีแหล่งข้อมูลผู้ช่วยที่ให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องแบบเชื่อถือได้เพื่อใช้ในการวางแผนและตัดสินใจได้อย่างแม่นยำให้มีความผิดพลาดให้น้อยที่สุด เพราะทุกอย่างล้วนส่งผลแบบชัดเจนเป็นตัวเงินหรือผลกระทบแน่นอนหากตัดสินใจผิด

เครื่องมือที่ใช้ในการเริ่มต้นจัดการความคิดให้มีผลลัพธ์จึงเริ่มไปที่ “การมีโมบายแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์กับการทำธุรกิจ” ทำไมต้องเริ่มจากในมือถือก่อน เพราะทุกวันนี้หากดูไปที่พฤติกรรมจริง ๆ แล้วการบริหารไม่ได้เกิดจากแค่ในบริษัท เริ่มต้นกันตั้งแต่ช่วงเช้า ที่พอตื่นมาก็มีการหยิบมือถือขึ้นมาเช็กสิ่งต่าง ๆ หลังจากนั้นเมื่อไปทำงาน ตลอดทั้งวันมือถือจะเป็นเครื่องมือที่ใช้เยอะที่สุด ทั้งการติดต่อ การเช็กข้อมูลเพื่อตัดสินใจ รวมไปถึงการสั่งงานต่าง ๆ ไปจนถึงตอนนอน มือถือก็จะอยู่ข้างตัวด้วยตลอด ทำให้การเป็นผู้บริหารที่จัดการทุกอย่างได้อย่างดีนั้น จึงเริ่มจากมีเครื่องมือช่วยจัดการธุรกิจที่ดีตั้งแต่ในมือถือ เพื่อเปลี่ยนให้ทุกจังหวะที่คิดอะไรดี ๆ ได้ สามารถคิดให้เป็นผลลัพธ์ได้จริง มีข้อมูลในการตัดสินใจ หรือแอ็กชั่นต่าง ๆ ได้เลยทันที โดยสามารถใช้เทคนิคเปลี่ยนทุกการคิดให้ได้ผลลัพธ์ ดังนี้

1. ลักษณะของ “ความคิดที่ดี” ที่ทำได้จริง ให้นำความคิดนั้น มาตีกรอบด้วยข้อมูลทางตัวเลขการเงินที่น่าเชื่อถือ ทำให้ไม่ฟุ้งและรู้ว่าควรทำอะไรก่อนหลัง

ขั้นแรกของการคิดเป็นผลลัพธ์ที่ดีนั้น ต้องดูไปที่ภาพรวมของธุรกิจ โดยภาพรวมนั้นต้องเรียงลำดับข้อมูลที่ต้องการรู้ได้แบบชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือไว้ใจได้ รู้ที่มาที่ไปของข้อมูล การเลือกใช้เครื่องมือภายในตรวจสอบข้อมูลเป็นหนึ่งในวิธีที่หลายเจ้าทำ แต่หากดูตามพฤติกรรมจริง ๆ เมื่อคิดอะไรได้ควรตรวจสอบดูภาพรวมจากมือถือได้เลยประกอบไปด้วย เพื่อเช็กความถูกต้องของข้อมูลแบบเรียลไทม์ ตรงนี้จึงเป็นเทคนิคใหม่ที่เจ้าของธุรกิจหลายคนมองข้าม การย้ายข้อมูลการเคลื่อนไหวของบริษัทแบบภาพรวมมาไว้ในโมบายแบงก์กิ้งที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจ จะเหมือนว่าเราได้เครื่องมือที่ดีและฟรีมาใช้ เพราะระบบของโมบายแบงก์กิ้งนั้นจะมีการตรวจสอบและเชื่อมข้อมูลแบบเรียลไทม์ให้ทันที ซึ่งหลัก ๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องของยอดเงิน งบดุล ยอดหนี้ คู่ค้า ฯลฯ และหากเลือกใช้ได้ถูกตามโจทย์ของธุรกิจด้วยแล้วก็จะเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แบบเช่น ttb business one  โมบายแอปพลิเคชันระดับมืออาชีพสำหรับ SME โดยเฉพาะ ผู้ช่วยที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกรรมการเงิน ควบคุมธุรกิจได้จากมือถือเครื่องเดียว ช่วยให้ บริหารธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ช่วยในการตัดสินใจและบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ให้การบริหารธุรกิจเป็นเรื่องง่าย

โดยมีฟีเจอร์สุดล้ำที่น่าสนใจอาทิเช่น Smart Dashboard ใช้ในการสรุปข้อมูลการเงินในบัญชีของบริษัทเพื่อให้เข้าใจภาพรวมแบบง่ายดายเพียงไม่กี่คลิก และหากมีบัญชี OD Balance ก็จะสรุปรวมมาให้ด้วย ข้อดีคือเราจะรู้ได้ทันทีว่า ตอนนี้สถานะของบริษัทกำลังเป็นยังไง อยู่ในช่วงไหน สามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายได้เท่าไร หรือกำลังมีโอกาสทางไหนที่น่าสนใจควรนำไปคิดต่อได้ทันที ซึ่งสามารถนำข้อมูลแบบเรียลไทม์นี้มาคิดต่อยอดแบบวางแผนหน่วยวันได้ทันที เพื่อคว้าทั้งโอกาสใหม่และเตรียมการรับมือที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน

2. ความคิดพัฒนาธุรกิจที่ดีนั้น “ควรต่อยอด” จากสิ่งที่มี ไม่ใช่การทำใหม่ไปตลอด โดย “ใช้ข้อมูลการไหลของเงินในอดีตประกอบ”  

โอกาสนั้นมักซ่อนอยู่ในสิ่งที่ทำมาอดีต คำพูดจากนักบรรยายชื่อดังที่เหมาะกับเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารที่ต้องการพาธุรกิจไปอนาคต ข้อมูลในอดีตนั้นจะเป็นตัวบอกได้หลายอย่าง มีหลายครั้งที่เราได้เจอโอกาสใหม่ ๆ มุมมองดี ๆ ที่น่าสนใจมาใช้กับธุรกิจ แต่พอทำ ๆ ไปถึงรู้ว่าไม่เหมาะ กว่าจะรู้ตัวทั้งเสียต้นทุนและเวลาไปแล้ว ก็เป็นอะไรที่น่าเสียดาย

การคิดต่อยอดอนาคตทางธุรกิจ จึงต้องดูข้อมูลในอดีตประกอบด้วย เพราะจะได้รู้ว่าเรามีจุดอ่อนหรือแข็งอะไร เพื่อจำลองตัวเองให้เข้าใจก่อนว่า เราควรทำ หรือไม่ควรทำ หรือควรแยกเป็นอีกส่วนให้ชัดเจนไปเลย การต่อยอดคือหนทางที่ดีและเห็นผลเร็วที่สุด ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจหลายท่านมักชอบทำสิ่งใหม่แทนที่จะต่อยอดไปจากของเดิม  การทำสิ่งใหม่ตลอดก็เหมือนนับหนึ่งใหม่บ่อย ๆ ซึ่งมีโอกาสที่จะเหนื่อยกว่าเดิม และผลลัพธ์ไม่ได้ตามที่คาดไว้   ดังนั้นขั้นแรกจึงควร เลือกทำแบบต่อยอดของเดิมไปก่อน การต่อยอดได้ถูกจังหวะจึงเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่ง เพราะถ้าหากทำเล็กเกินไปก็เห็นกำไรช้าไม่ทันใจ หรือถ้าเลือกใหญ่เกินไป ก็อาจจะรับความผิดพลาดไม่ไหวอีก ความสมดุลจึงเป็นการเลือกแบบพอเหมาะตรงตามสเกลของธุรกิจ

ซึ่งตัวช่วยที่ดีในการตรวจสอบดูข้อมูลที่ดีให้มองไปที่ “การไหลของเงินในธุรกิจก่อน” ว่าเงินไหนมาจากทางไหน ต้นทุน กำไรเกิดขึ้นมาจากแหล่งไหนบ้าง ด้วยฟีเจอร์ Smart Statement ของแอปพลิเคชัน ttb business one ที่จะแสดงข้อมูลการไหลของเงินได้แบบครบถ้วน เช่น ธุรกิจรับเงินโอนจากใครลูกค้าเจ้าไหน หรือจ่ายหนี้ ชำระไปที่ใครยอดเท่าไร, คู่ค้าคนไหนเป็นคนรับ ทำให้ตรวจเช็กข้อมูลในอดีตได้ทันที นอกจากนั้นยังมีฟีเจอร์สุดล้ำแบบ  Smart Search, Quick View, Group Company View สามารถดูภาพรวมบัญชีล่าสุด ดูข้อมูล transaction และเสิร์ชหารายการต่าง ๆ ได้ทันที ความน่าสนใจก็คือ ทั้งหมดนี้จบได้แค่ในแอป ttb business one แอปเดียวในมือคุณ

ส่วนที่อยากแนะนำเพิ่มสำหรับแอปนี้เพราะมีความพิเศษอีกอย่างคือ ช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมได้ด้วย คือฟีเจอร์ Smart Payment จะแสดงตัวเลือกให้ว่าจะโอนแบบไหนดี ช่วยแนะนำช่องทางโอนเงินที่เหมาะสม และแบบไหนประหยัดกว่า เพื่อช่วยลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมของทุกยอดในธุรกิจ ทั้งช่วยลดต้นทุน ttb business one โมบายแอปพลิเคชันระดับมืออาชีพนี้เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะมาช่วยบริหารธุรกิจ SME ให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นอีกทั้งช่วยให้ธุรกิจ SME เติบโตอย่างรวดเร็ว มั่นใจ และยั่งยืน โดยสามารถดูเพิ่มเติมได้ใน  https://www.ttbbank.com/100wealth/1bizonembapp-dec2021

3.ทุกความคิด ต้องการ “การเรียงลำดับแบบเชื่อมต่อ” ถึงจะได้ผลลัพธ์จริง แค่คิดได้อย่างเดียวยังไม่ถึงว่าจะทำได้

หลังจากมีความคิด พร้อมข้อมูลครบแล้ว สิ่งต่อมาคือต้องเข้าใจธรรมชาติของความคิดที่ได้ผลลัพธ์ นั้นต้องการ การเรียงตัว ถ้าคิดขึ้นมาลอย ๆ หรือเรียงไว้แค่ในความจำ จะมีโอกาสสร้างความลังเลได้สูง และอาจจะทำให้มองข้ามจุดสำคัญไปได้ ดังนั้นต้องเอาความคิดและข้อมูล มาจับการเรียงตัวกันโดยอาจจะจดบันทึกลงสมุดโน๊ตหรือแอปโน๊ตดี ๆ เช่น evernote ในมือถือ จะช่วยให้เรียงความคิดออกมาเป็นผลลัพธ์ได้แบบชัดสู่การลงมือทำและได้ผลลัพธ์ดี ๆ ได้ในที่สุดจากหน่วยวันก็เป็นหน่วยเดือน จากเดือนก็กระทบเป็นปีได้ ความคิดดี ๆ มักเกิดขึ้นในแต่ละวันแบบไม่บอกกล่าว

แจ๊ค ดอร์เซ่  CEO ของทวิตเตอร์ ชอบใช้ IOS Note  เพราะเป็นแอปฟรีที่ใช้งานสะดวก ง่าย สามารถจดเป็นไอเดียทุกวัน โดยหลัก ๆ เขาจะโน๊ตชื่อคนที่จะไปเจอ และจดความคิดเรื่องที่คิดออกจดใส่โน๊ตไว้ก่อน และค่อยไปหาข้อมูลประกอบหรือเชื่อมความคิดกันในภายหลัง  และยังมีอีกความคิดที่โด่งดังจากสตีฟ จ็อบส์ เป็นโอวาทที่ Steve Jobs แสดงในวันรับปริญญาของมหาวิทยาลัย Stanford ว่า ความคิดดี ๆ นั้นเกิดจาก “การลากเส้นต่อจุด” ยิ่งคุณเชื่อมมันได้มากและเร็วเท่าไร ก็จะช่วยสร้างผลลัพธ์ได้ดีมากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้น การคิดแบบได้ผลลัพธ์นอกจากมีข้อมูลประกอบที่ชัดแล้ว การนำมาเรียงลำดับเชื่อมต่อกันก็จะเป็นการสร้างโอกาสที่เกิดผลลัพธ์ได้จริงในทางธุรกิจ สิ่งที่สำคัญคือการเลือกใช้เครื่องมือช่วยคิดให้เหมาะสม ในยุคที่ทุกอย่างนั้นอัปเดตตลอดเวลา เกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมากมายทุกวินาที โอกาสก็เป็นของเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารที่มองเห็นก่อน คิดออกมาเป็นผลลัพธ์ได้ก่อนเสมอ

คำว่า “โอกาสในยุคนี้” อาจเป็นเรื่องของเจ้าของธุรกิจและผู้บริหาร
ที่ย่นเวลาได้เร็วขึ้นในแต่ละวันโดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีได้ถูกต้องเริ่มตั้งแต่ที่ใกล้ตัวที่สุด
จัดการเวลาจัดการความคิดเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้
เป็นปลากลาง ๆ ก็ควรมีจังหวะที่ว่ายน้ำเร็วเป็นปลาเล็ก ๆ ก็ควรติดพลังให้ว่ายน้ำเร็วตลอดเวลา
หนทางสู่ความสำเร็จไม่มีทางลัดแต่ย่นระยะเวลาได้

อ้างอิงที่มาของข้อมูลบางส่วน

https://twitter.com/jack/status/1012428138326851585?ref_src=twsrc%5Etfw%7Ctwcamp%5Etweetembed%7Ctwterm%5E1012428138326851585%7Ctwgr%5E%7Ctwcon%5Es1_&ref_url=https%3A%2F%2Fwww.businessinsider.com%2Ftwitter-jack-dorsey-productivity-app-apple-notes-2018-6

https://www.businessinsider.com/twitter-jack-dorsey-productivity-app-apple-notes-2018-6