บ้าน คอนโด ตลาดอสังฯ กับผลกระทบในครึ่งปีหลังที่อาจไม่เป็นดั่งใจหวัง
เป็นที่รู้กันดีว่าครึ่งหลังของปี 2563 ส่งผลกระทบเนื่องจากระบาดของโควิด-19 นั้นทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องรับมือกับธุรกิจที่กำลังล้มละลาย ไม่ต่างกับนักธุรกิจที่ทำงานด้านการตลาดอสังฯ บ้านหรือคอนโด ที่การทำธุรกิจอาจจะเป็นไปไม่ต้องตามเป้าหมาย
สิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ว่าการซื้อขายที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับลดลงตามปัจจัยแวดล้อม อัตราการจองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ช่วง 5 เดือนแรกเฉลี่ยหดตัวราว 75% (YoY) ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยลดลง 3.4% (YoY) ทำให้นักธุรกิจหลายท่านต้องกลับมาคิดแล้วว่าจะวางแผนการทำการตลาดต่อไปอย่างไร
ศูนย์วิจัยของธนาคารกสิกรไทยมองว่า การซื้อขายที่ดินน่าจะดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรกเพราะยังพอมีปัจจัยเรื่องมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์เพื่อช่วยผู้ประกอบการ แต่ถึงอย่างไรแนวโน้มด้านเศรษฐกิจก็ยังส่งกระทบทางภาคธุรกิจที่กำลังซื้อครัวเรือนเป็นวงกว้าง ทำให้การซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลอาจจะกลับมาดีขึ้นได้ยาก
ในปี 2563 คาดว่าการลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีจำนวนประมาณ 68,000-72,000 หน่วย ลดลง 42.8% ถึงลดลง 39.5% จากปีก่อน
เมื่อพูดถึงตลาดคอนโด EIC มีการทำ web scraping ข้อมูลคอนโดมิเนียมบนเว็บไซต์ Hipflat.co.th เพื่อนำมาวิเคราะห์แนวโน้มราคา กลับพบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาราคาคอนโดมิเนียมเฉลี่ยต่อตารางเมตรที่ประกาศขายในภาพรวมเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่องและในบางพื้นที่เริ่มปรับราคาลดลง
โดย EIC วิเคราะห์ว่าการที่ราคาคอนโดฯ ในไทยมีแนวโน้มชะลอตัวเพราะผลกระทบจากหลายปัจจัยทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว สงครามการค้าส่งผลให้แนวโน้มราคาคอนโดฯ ไม่สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็เพิ่มแรงกดดันให้กับตลาดคอนโดฯ
แต่ถึงอย่างนั้นบ้าน คอนโด ตลาดอสังฯ ก็ยังจะมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวช้าตามภาวะเศรษฐกิจผู้ประกอบการจึงต้องวางแผนและตั้งรับให้ดีกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตเพราะไม่แน่ว่าภาวะเศรษฐกิจอาจซบเซาลงเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 อีกระลอกหนึ่ง
อ้างอิง : ภาคอสังหา