กำไรน้อย ขายให้ได้มาก เคล็ดลับธุรกิจของ Daiso ที่จุดสะกิดความเจ็บใจจากคำพูดของลูกค้าเพียงไม่กี่คน

กำไรน้อย ขายให้ได้มาก เคล็ดลับธุรกิจของ Daiso ที่จุดสะกิดความเจ็บใจจากคำพูดของลูกค้าเพียงไม่กี่คน
.
ธนบัตรสีเขียวมูลค่า 20 บาท นับเป็นจำนวนเงินที่คนส่วนใหญ่ตัดสินใจหยิบมาจับจ่ายได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
.
หากก้มลงไปมองกระเป๋าตังค์ของตัวเองแล้ว หลายคนอาจสังเกตได้ว่าแบงก์ที่อยู่เต็มกระเป๋าเราเยอะที่สุดออาจเป็นแบงก์ 20 ก็ได้ ซึ่งหลายคนอาจเลือกที่จะพกแบงก์ย่อยมากกว่าเพราะความสะดวกและง่ายต่อการใช้จ่าย
.
ในญี่ปุ่นเองก็มีร้านลักษณะนี้เช่นเดียวกัน แต่เป็นในราคา 100 เยน หรือประมาณ 30 บาท ซึ่งขายทุกอย่างในราคานี้ราคาเดียว
.
แต่เอาเข้าจริงแล้วพฤติกรรมการใช้เงินสดที่คนเรามักพกแต่แบงก์ย่อยอาจเกิดขึ้นได้ทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือประเทศที่แล็งเห็นถึงพฤติกรรมการใช้เงินที่เป็นกิจวัตรของผู้คนจึงเกิดมาเป็นร้านที่ตอบสนองต่อการกระทำเหล่านั้น
.
หากพูดถึงร้านขายขิงที่ราคาไม่แพง ใช้ธนบัตรไม่กี่ใบในการซื้อ และมีสาขากระจายทั่วโลก คงหนีไม่พ้นจะเป็นร้านที่มีป้ายสีชมพูเด่นสดใส นั่นก็คือ “DAISO” (ไดโซะ)
.
ฮิโรตาเกะ ยาโนะ ผู้ก่อตั้งไดโซะ ที่เป็นร้านขายของร้อยเยนอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น หลายคนอาจจะทราบมาแล้วว่าก่อนที่จะมาเป็นร้านไดโซะ ยาโนะและภรรยาได้เปิดร้านขายของเบ็ดเตล็ด ซึ่งก็ดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยดี
.
แต่เพิ่งมาทราบหลังจากอ่านบทความของ The Cloud เพิ่มเติมว่า คลังสินค้าของเขาโดนวางเพลิง.. และนั่นทำให้สินค้าส่วนใหญ่เกิดความเสียหาย สินค้าที่เหลือรอดจากการถูกไฟไหม้ก็มีอยู่เพียงน้อยนิดเท่านั้น ยาโนะจึงตัดสินใจนำสินค้าเหล่านั้นออกมาวางขายต่อไป
.
ในขณะที่กำลังจัดการสินค้าเพื่อจะนำออกมาขาย ก็มีลูกค้าแวะเวียนเข้ามาสอบถามถึงราคาจำนวนมาก ชิ้นนั้นที ชิ้นนี้ที จนเกิดเป็นความวุ่นวายเล็กน้อยขึ้น
.
เมื่ออยากกำจัดความวุ่นวายเหล่านั้นออกไป เขาจึงเลือกตอบตะโกนราคาของสินค้าให้ลูกค้าไปว่า “ทุกอย่างร้อยเยน!”
.
เพราะเห็นว่าราคาของสินค้านั้นถูกแสนถูก จึงมีลูกค้าหลั่งไหลเข้ามาเรื่อย ๆ และในที่สุดยาโนะก็ได้วางโมเดลธุรกิจใหม่ โดยตั้งราคาสินค้าให้เท่ากันหมดทุกชิ้น จนเกิดเป็นร้านไดโซะขึ้นมาซึ่งทำให้เขาประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
.
ด้วยกิจการกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี ยาโนะจึงทยอยขยายสาขาไปตามเมืองต่าง ๆ ในญี่ปุ่น
.
อยู่มาวันหนึ่ง ยาโนะดันบังเอิญไปได้ยินลูกค้าที่กำลังคุยกับเพื่อนที่กำลังเลือกซื้อของอยู่ว่า “ซื้อของถูกแบบนี้ เปลืองเงินเปล่า ๆ” นั่นทำให้เขารู้สึกเจ็บปวดใจเป็นอย่างหนัก
.
เพื่อที่จะกลบความเจ็บใจจากบาดแผลที่ถูกสะกิดจากลูกค้า เขาได้ตั้งปณิธานใหม่ขึ้นมาว่า แม้จะเป็นของราคาแค่ 100 เยน เขาก็จะผลิตสินค้าที่ดีและมีคุณภาพเพื่อตอบสนองความสุขกับลูกค้าให้จงได้
.
การขายสินค้าของไดโซะทุกอย่างมีราคาเพียงแค่ 100 เยน ซึ่งนับว่าเป็นมูลค่าที่ไม่ได้มากนัก แต่ในส่วนของการทำธุรกิจก็ต้องประคองไปให้รอด ทั้งยังต้องผลิตของให้ได้ดีที่สุด ยาโนะและฝ่ายจัดซื้อจึงต้องต่อรองกับผู้ผลิตในหน่วย ‘สตางค์’
.
ซึ่งเขาจะได้กำไรจากการขายสินค้าต่อชิ้นเพียงแค่ไม่กี่เยนเท่านั้น ตัวอย่างเช่น สินค้าหลายชิ้นมีต้นทุน 98 เยน เขานำมาขายในราคา 100 เยน เท่ากับว่า ได้กำไรจากสินค้าต่อชิ้นนั้นเพียงแค่ 2 เยน
.
สิ่งที่ยาโนะคิดคือการ ‘ขายให้ได้มากเข้าไว้ แม้กำไรจะน้อยก็ตาม’ เพราะสิ่งที่เขาต้องการคือ ส่งความสุขให้ลูกค้าด้วยสินค้าดีและราคาถูกจากไดโซะ ซึ่งเขาเล็งเห็นถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญที่สุด
.
จากนั้นจึงมีการขยายสาขาไปทั่วญี่ปุ่นและในหลายประเทศทั่วโลก เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย แม้ว่าจะมีร้านร้อยเยนเจ้าอื่นทำตามมากแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถสู้กับไดโซะที่มีสาขามากกว่าได้
.
ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอดต่อไป ไดโซะมีการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ออกมาขายอย่างต่อเนื่อง และพยายามจัดการลดต้นทุนอยู่เสมอ
.
ถึงแม้ว่าคำพูดของคนไม่กี่คนอาจสร้างบาดแผลที่ใหญ่ให้กับคนที่ได้ยินได้ แต่หากมองในออีกแง่ บาดแผลนั้นก็อาจเป็นเครื่องคอยย้ำเตือนและผลักดันให้เราเอาชนะเอาสบประมาทเหล่านั้นและพิสูจน์ให้เห็นว่า “ของถูกก็มีคุณภาพและสร้างกำไรได้”
.
.
เรียบเรียงโดย 100WEALTH
.
#Business
#100WEALTH
#ไปให้ถึง100ล้าน
#SERVgroup
.
อ้างอิง
– https://bit.ly/2RGOGxj