ทฤษฎีแรงดึงดูด เริ่มต้นจาก เชื่อมั่นในตัวเองให้ได้ก่อน เพราะ “เป้าหมายชีวิตที่ชัด” เริ่มจาก “ความเชื่อของเรา” แล้วก้าวไปหาสิ่งที่มาซัพพอร์ตความเชื่อนั้น อธิบายด้วยหลักจิตวิทยา Pygmalion Effect

ทฤษฎีแรงดึงดูด เริ่มต้นจาก เชื่อมั่นในตัวเองให้ได้ก่อน เพราะ “เป้าหมายชีวิตที่ชัด” เริ่มจาก “ความเชื่อของเรา” แล้วก้าวไปหาสิ่งที่มาซัพพอร์ตความเชื่อนั้น อธิบายด้วยหลักจิตวิทยา Pygmalion Effect
.
.
ในความเป็นมนุษย์ทุกคนมีความ “มุ่งหวัง” ปรารถนาให้สิ่งที่คิด สิ่งที่ต้องการ เกิดขึ้นจริง
.
แต่เคยคิดไหมว่าแรงปรารถนาอันแรงกล้านั้น จะเปลี่ยนจาก “มุ่งหวัง” เป็น “มุ่งมั่น” ขึ้นมาแทน
.
ลองนึกภาพว่า ทำไมคนถึงเชื่อว่าทีมฟุตบอลที่ตนเชียร์จะได้แชมป์ ทั้ง ๆ เปอร์เซ็นต์การชนะน้อย เพราะต้องเจอคู่แข่งหลายทีม
.
เพราะนอกจากความสนุกแล้ว ภายในลึก ๆ ของคนที่เชียร์ทีมที่ตนรัก พวกเขามี ‘ความคาดหวัง’ ว่าทีมที่ตนเชียร์ต้องได้รับชัยชนะสูงสุด และบางคนอาจยังมี ‘ความเชื่อ’ เหนือธรรมชาติร่วมด้วยก็เป็นได้
.
อย่างไรก็ตาม ‘ความคาดหวัง’ และ ‘ความเชื่อ’ กับการเชียร์ฟุตบอล ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากประสบการณ์ที่เห็นความสามารถของทีมฟุตบอล และการคว้าเเชมป์ได้หลายสมัยนั่นเอง
.
ดังนั้นเราจะพิสูจน์ความเชื่อของตัวเองให้เป็นจริงได้ ก็ต้องปักใจเชื่อสิ่งนั้นเพื่อรอวันที่มันจะกลายเป็นจริง ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Pygmalion (พิกมาเลียน)
.
Pygmalion Effect คืออะไร?
.
‘Pygmalion Effect’ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจาก ‘ความคาดหวัง’ ที่สูงมากของคน จนนำไปสู่ ‘ความเชื่อ’ ที่ชี้นำพฤติกรรมของเรา ให้ลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสำเร็จตามความคาดหวังเหล่านั้น
.
พิกมาเลียน มีที่มาจากชื่อของประติมากรหนุ่มคนหนึ่งแห่งไซปรัส ที่ตกหลุมรักกับรูปปั้นงาช้างที่ตัวเองสร้างขึ้นมาเป็นผู้หญิงในอุดมคติของเขา
.
พิกมาเลียนจึงอ้อนวอนต่อเทพวีนัส (เทพแห่งความรัก) เพื่อขอให้รูปปั้นหญิงในอุดมคติของตนมีชีวิตขึ้นมาจริง ๆ และคาดหวังว่ารูปปั้นนั้นจะสมบูรณ์แบบในทุก ๆ ด้านเพื่อที่จะแต่งงานและใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน
.
จนในที่สุดพรที่เขาขอก็ได้สมหวังดังใจปรารถนา พิกมาเลียน จึงเปรียบเสมือนปรากฏการณ์ของความเชื่อและความหวังที่กลายเป็นจริงขึ้นมา
.
จะเห็นว่าในระหว่างทางของความคาดหวัง จะมีสิ่งหนึ่งที่ชื่อว่า ‘ความเชื่อ’ เดินทางร่วมไปอยู่ด้วยเสมอ
.
นอกจากนั้นปรากฏการณ์นี้ ไม่ได้อธิบายเฉพาะตัวเองมีคาดหวังจากคนอื่นแล้วเท่านั้น ยังรวมไปถึงคนอื่นที่คาดหวังในตัวเราด้วย
.
.
อีกตัวอย่างหนึ่งในการทดลองของ Robert Rosenthal และ Lenore Jacobson ที่ยืนยัน Pygmalion Effect
.
พวกเขาคัดเลือกเด็ก 20 คนจากทั้งหมดมาทำการเรียนการสอนตลอดทั้งเทอม โดยการสอบระวัดระดับ IQ แล้วบอกกับนักเรียนที่เลือกมาว่า ‘เป็นเด็กที่มีคะแนนทดสอบ IQ สูง’
.
ทำให้เด็กตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่เพื่อให้คะแนนตัวเองดีสมกับไอคิวและครูก็ตั้งใจสอนให้ดีที่สุด ผลออกมาคือพวกเขาเรียนได้ดีมากตามที่เด็กคาดหวัง
.
แต่ในความเป็นจริง เด็ก 20 คนนั้น ไม่ได้เป็นเด็กที่ถูกเลือกเพราะคะแนนทดสอบสูงซะทีเดียว แต่เป็นเพียงการสุ่มมาเท่านั้น โดยไม่ได้วัดการทดสอบวัดระดับ IQ ตั้งแต่แรก
.
นั่นจึงตอกย้ำปรากฏการณ์นี้ว่า หากตัวของครูและเด็กเชื่อว่าเขาเป็นคนเก่งจริง ๆ เด็กก็จะมีแนวโน้มที่จะตั้งใจเรียนให้สมกับความเชื่อของตัวเองและของครู จึงเป็นที่มาของ Pygmalion Effect นั่นเอง
.
แล้วถ้าเรารู้ศักยาภาพของความเชื่อ แล้วนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ จะเกิดอะไรขึ้น?
.
ลองคิดถึงตอนทำงาน หากคุณได้รับมอบหมายงานที่จำกัด และเป็นงานที่ท้าทายจากหัวหน้า
.
หลังจากนั้น หัวหน้าได้พูดกับคุณว่า “ไม่ต้องเครียดนะ คุณเก่งพอที่จะรับมือกับงานนี้ได้ ผมเชื่อว่าคุณทำได้”
.
นี่คือความคาดหวังของหัวหน้าที่เชื่อมั่นและไว้วางใจคุณ ว่างานชิ้นนี้ต้องออกมาดีแน่นอน สิ่งนี้จะเสริมทับความเชื่อของคุณเพิ่มขึ้นไปอีก ว่าคุณทำได้
.
ในทุก ๆ เรื่องเมื่อมีใครสักคนเชื่อมั่นในความสามารถของคุณ คุณจะเชื่อมั่นในตนเองโดยอัตโนมัติ หากความเชื่อนั้นไม่แสดงออกในทางที่กดดันจนเกินไปจนกลายเป็นแรงลบ คุณจะมุ่งมั่น และทำทุกวิถีทาง เพื่อให้บรรลุตามความเชื่อนั้นได้จริง ๆ
.
ดังนั้น ‘ความคาดหวัง’และ ‘ความเชื่อ’ ล้วนมีแรงผลักดันมาจาก ‘แรงจูงใจ’ ‘แรงบันดาลใจ’ และ ‘ความท้าทาย’ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้คุณมุ่งมั่น ทุ่มเท จนมันสำเร็จนั่นเอง
.
.
เรียบเรียงโดย 100WEALTH
.
#SelfDevelopment
#100WEALTH
#ไปให้ถึง100ล้าน
#SERVgroup
.
อ้างอิง
https://bit.ly/31L2iJw
https://bit.ly/3upSocW
https://bit.ly/31MsoMq