ในยุคที่มีรายได้เพียงทางเดียวอาจไม่พอ เงินไหลเข้ากระเป๋าหลายทางก็ย่อมดีกว่าทางเดียวเสมอ “บล็อกเกอร์” คงเป็นหนึ่งในอาชีพที่ใคร ๆ ก็สามารถที่จะเป็นได้ อย่างไรก็ตามในทุก ๆ งาน ไม่ว่างานไหน จำเป็นต้องทุ่มเทและตั้งใจกับงานนั้น ๆ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ หากเราเป็นคนที่ชื่นชอบในผลิตภัณฑ์ความงามแถมยังรักสวยรักงามอีกนั้น ก็เหมาะสมที่จะเป็นบล็อกเกอร์สายบิวตี้ที่สำเร็จได้อย่างแน่นอน บทความนี้จะพาไปสู่แนวคิดและวิธีการช่วยวางแผนให้เป็นบล็อกเกอร์ในช่วงเริ่มต้นด้วย 3 วิธีกับการเป็นบิวตี้บล็อกเกอร์
1. วางแผนการนำเสนอในแบบที่คุณเป็น
– ตัดสินใจว่าคุณจะทำงานให้กับใคร อาจจะเริ่มต้นการเป็นบล็อกเกอร์ความงามจากตัวเอง หรือ อาจเริ่มต้นจากการทำงานกับบริษัทตัวแทนต่าง ๆ เราสามารถเลือกทำได้ทั้งสองอย่างเลยก็ได้
- เช่นหากเลือกที่จะเริ่มทำงานกับบริษัทตัวแทนอื่น ๆ เราสามารถทำควบคู่ไปกับงานประจำของเราเองได้
– วางแผนด้วยต้นทุนสนับสนุนที่มี อย่าคาดหวังว่าความโด่งดังจะมาได้เพียงข้ามคืน หากพึ่งเริ่มต้นในสายงานนี้ คุณควรมีช่องทางอื่นเสริมเพื่อคอยสนับสนุนการเงินก่อน อย่างน้อยในช่วงแรก ต้องวางแผนในการชำระค่าใช้จ่ายจนกว่าบล็อกของเรานั้นจะสามารถสร้างรายได้เพียงพอที่จะเป็นอาชีพได้อย่างเต็มเวลา
- เช่นมีงานประจำอยู่แล้วและการทำบล็อกของเราจะมีการกำหนดขอบเขตช่วงเวลาหลังเลิกงาน เช่นตอนเย็นหรือช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์สำหรับการทำบล็อกความงาม
– ค้นหากลุ่มเฉพาะของคุณ พยายามหาหัวข้อที่เกี่ยวกับตัวเอง ทำรายการที่สร้างสรรค์ ไม่จำเป็นต้องเป็นบล็อกเกอร์ความงามเพียงแห่งเดียวในเรื่องที่สนใจ แต่หัวข้อนั้นจะต้องแตกต่างและไม่เหมือนทั่วไป ดังนั้นปัญหาส่วนใหญ่เกิดเพราะไม่รู้ว่าหัวข้อที่เลือกเจาะจงมากน้อยแค่ไหนต่อกลุ่มคนที่สนใจ
- ยกตัวอย่างเช่น หากเราเป็นคนผมหยิก ผมหยักศก ก็สามารถมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ทำหัวเรื่องแนวมีเทคนิคยังไงในการดูแลบำรุง ไม่ให้ดูชี้ฟู
– รู้จักกับผู้ชมของคุณ เมื่อเริ่มค้นพบช่องทางที่เหมาะสมได้ จะสามารถกำหนดได้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร รู้ว่าพวกเขาต้องการอ่านเกี่ยวกับอะไร ลองนึกถึงสิ่งที่จะจูงใจคนที่ติดตามสิ!
- ตัวอย่างเช่น หากต้องการเขียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอย ผู้ติดตามเป้าหมายของก็จะเป็นผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 25 ปี ที่สนใจในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เพื่อตอบสนองผู้ชมนั้นอาจตัดสินใจใช้สไตล์การเล่าเขียนแนวที่เป็นการเชิญชวนผู้ใหญ่ที่รักความสวยความงามและผสมกับกลิ่นอายความคลาสซี่โดยรวมลงไปในงานเขียนก็น่าสนใจนะ
2. ประเมินสิ่งที่ต้องการว่าเรากำลังทำเพื่ออะไร
– เขียนและตรวจสอบผลงานของคุณเสมอ เมื่อเราต้องการเป็นที่รู้จัก ต้องทุ่มเทให้กับสิ่งนี้ ต้องฝึกฝนให้เป็นนักเขียนที่ดี ไม่มีใครชอบอ่านสิ่งที่มีข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์หรือพิมพ์ผิดเยอะมากมาย ดังนั้นอย่าลืมอ่านผลงานก่อนโพสต์ ที่สำคัญการเขียนหรือสะกดชื่อแบรนด์ให้ถูกต้อง โดยอาจใช้โปรแกรมบน PC หรือออนไลน์ที่จะสามารถตรวจสอบตัวสะกดและไวยากรณ์อีกครั้ง
– มีภาพและแสงที่เหมาะสม เมื่อเริ่มต้นอาจใช้โทรศัพท์ของเราในการถ่ายภาพ แต่หากในอนาคตมีแผนขยับขยายบล็อกเป็นวิดีโอ การมีกล้องวิดีโอสักตัวเป็นตัวช่วยที่น่าสนใจเลยก็ว่าได้
– โปรแกรมในการตัดต่อภาพ ควรมีโปรแกรมในการแก้ไขรูปภาพ ขนาดของภาพ ยกตัวอย่างเช่น Adobe Photoshop ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟฟิก ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย อีกทั้งยังสามารถ retouching ตกแต่งภาพและสร้างภาพ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมสูงมากในขณะนี้
– ลงทุนเพื่อนำมาทดลอง บางครั้งการทำงานต้องมีการลงทุน อาจลงทุนซื้อของบางอย่างที่สนใจมาทดลองและถ่ายรูป การเริ่มต้นครั้งแรกเราอาจจะไม่มีสินค้าและข้อเสนอจากแบรนด์ฟรีให้แก่นักเขียน
- ยกตัวอย่างเช่น ลองเขียนลงไปในช่องทางออนไลน์สิว่า “ตอนนี้กำลังเริ่มทำบล็อก หากใครมีตัวอย่างสินค้าฟรีและต้องการรีวิวสามารถส่งของมาได้”
– วิธีการเล่าเรื่องก็สำคัญ เพื่อให้มีเสน่ห์เป็นเอกลักษณ์ จำเป็นต้องมีแนวการเล่าและมุมมองที่แตกต่าง โดดเด่นจากฝูงชนในแบบเดียวกันกับทักษะการเขียนและเล่าเรื่องในแบบของเรา
- เช่น บุคลิกของคุณในการทำบล็อก เป็นคนร่าเริง สดใส ตลกฮา ในทุกครั้งที่เข้ามาอ่านงานเขียนในบล็อกก็จะรับรู้ได้เลยว่านี้คือน้ำเสียงหรือทักษะการเล่าเรื่องที่เป็นเรานั่นเอง
– เรียนรู้เรื่องโฆษณา เมื่อมีโพสต์โฆษณาจากบริษัทอื่น ที่มาลงในบล็อกของเรานั้น สามารถเก็บเงินจากพวกเขาได้
- เช่น แบรนด์หรือโฆษณาแบบข้อความบนแถบด้านข้างหรือด้านบน เหล่านี้อาจจะจ่ายเงินให้คุณต่อคลิกของการแสดง (เมื่อโฆษณาปรากฏต่อผู้ใช้) หรือเพียงวางโฆษณาของพวกเขาไว้ที่ใดในบล็อกเราก็ได้
– โปรโมทตัวเองเสมอ เมื่อมีโอกาสจงไขว่คว้า ถ้าสามารถโปรโมทผ่านช่องทาง TV หรือแม็กกาซีนสาธารณะได้ ทำมันซะ! คิดสร้างสรรค์การใช้คำเกี่ยวกับบล็อกให้แตกต่าง หรือวางโฆษณาของเราในช่องโปรโมทอื่น ๆ เช่น Google Adwords Facebook Instargram เป็นต้น
People holding social media icons
3. สร้างการนำเสนอของตัวคุณ
– เลือกแพลตฟอร์ม ในการเริ่มต้นทำบล็อกสามารถใช้แพลตฟอร์มบล็อกฟรี เช่น WordPress หรือ Blogger อีกทางเลือกหนึ่งคือซื้อชื่อโดเมนและแพ็คเกจโฮลติ้งและตั้งค่าด้วยชื่อตัวเราเอง อาจต้องมีความรู้ทางเทคนิคเพิ่มเติม เช่นอัปโหลดไฟล์ไปยังไซต์ FTP สิ่งที่ควรพิจารณาเลยคือเรื่องของเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและเอื้อต่อการค้นหา
– ทำหน้าบล็อกให้ดูดีเสมอ เนื้อหาของการจัดเรียงควรเป็นระเบียบพร้อมเข้าถึงหน้าของเราได้อย่างง่ายดาย เช่นช่องทางติดต่อ หรือเกี่ยวกับคำอธิบายของตัวเรา สามารถสร้างโลโก้หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ คือการจัด UX/UI จะต้องน่าสนใจและมีฟังก์ชั่นง่ายต่อการใช้งาน
– มีเครือข่ายต่อบล็อกเกอร์อื่น ๆ อาจมีการทำหัวข้อที่น่าสนใจร่วมกันกับบล็อกเกอร์คนอื่น ๆ หรือมีการแชร์ทริกเคล็ดลับต่าง ๆ
- ยกตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมกลุ่มใน Facebook เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นหรือมีการโต้ตอบกับบล็อกเกอร์คนอื่น ๆ ไม่เพียงเป็นการโปรโมทบล็อกของเราเองแล้วบางทีอาจจะสร้างแรงบันดาลให้กับเราได้อีกด้วย
– สร้างช่องทางสื่อออนไลน์ให้ชัดเจน สร้างหน้าธุรกิจสำหรับบล็อกบนโซเซียลมีเดีย เช่น Facebook Twitter Instagram เป็นต้น มุ่งเน้นให้กับบล็อกหลักโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์มากเกินไป แต่โพสต์ขจะเพิ่มและเสริมความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ของเราไปยังผู้อ่านในบล็อกเอง
– โพสต์บ่อย ๆ ปริมาณกับคุณภาพ สองคำที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษหากคุณภาพของชิ้นงานดี แบบโดนใจในทุกชิ้นที่ปล่อยไปล่ะก็ ไม่จำเป็นต้องถี่หรือบ่อยมากก็ได้ การบอกว่าปริมาณการทำโพสต์บ่อยก็ไม่ใช่คำตอบเสมอไปนะคะ
จะเห็นว่ามันเป็นคำตอบเปิดกว้างและยืดหยุ่นในการคิดได้หลากหลาย อาจจะไม่ฟันธงได้ว่าจริง ๆ แล้วควรใช้กลยุทธ์หรือเทคนิคแบบไหนถึงจะดีที่สุด
แหล่งที่มา : How to Be a Beauty Blogger