“ออมเงิน” เป็นเรื่องของการจัดการทาง “อารมณ์” ไม่ใช่การเลือกที่จะ “ไม่ซื้อ”

“อารมณ์” มีผลมหาศาลกับ “การเก็บเงิน” สังเกตว่ายิ่งถ้ามีอารมณ์เวลาต้องใช้เงินมากเท่าไหร่ การออมจะยิ่งแย่ลงมากเท่านั้น

เรามักคิดว่า “การออม” คือการจัดการวินัย เลยเลือกใช้แต่สิ่งของที่จำเป็น แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ มันเป็นเรื่องของอารมณ์ด้วย

สมมุติว่าต้องซื้อ เครื่องครัว เราจะกล้าซื้อของราคาถูกหน่อย ขอให้ใช้งานได้ก็พอแล้ว

แต่ถ้าเป็น เสื้อผ้าใส่ไปหาลูกค้า จะเริ่มคิดแล้วว่าต้องซื้อแพงๆดีๆหน่อย เพราะมันมีภาพลักษณ์มาเกี่ยว

หรือ หลังจากที่ช้อปปิ้งไปเยอะเราจะเริ่มโทษตัวเอง และตั้งปณิธานกับตัวเองใหม่ทุกรอบว่า “ต่อจากนี้จะไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือยอีกแล้ว”

แต่หลังจากพูด มันก็จะมีค่าใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่าประกัน ต่อพรบ. ป่วยต้องไปหาหมอ หรืออะไรที่ “ไม่จ่ายก็ไม่ได้”

ทุกครั้งเมื่อจะ ออมเงิน เราเลย คิดเยอะจนสับสน

เพราะไม่รู้ว่า ไอ้สิ่งที่เราต้องจ่ายนั้น เป็นเพราะ “อารมณ์อยากได้” หรือ“มันมีเหตุผลสำคัญ” กันแน่

จากเรื่องนี้ทำให้รู้ได้ว่า …ถ้าจะแก้เรื่องเงินออมของคนต้องแก้ไปที่ “อารมณ์” ไม่ใช่การมาห้ามว่า ควรซื้อหรือ ไม่ควรซื้ออะไร

ตัวอย่างวิธีแก้การออมเงินที่เห็นภาพง่ายๆ เช่น สมมุติว่ามีเงิน 300 บาท

วิธีแก้ที่ได้ผลคือ หักเงินตั้งต้นให้เหลือแค่ 250 บาทก่อนเลยทันที (เอาเงิน 50 บาทไปออมในทันที) แล้วค่อยใช้ที่เหลือนั้น

จากนั้น จะใช้เงิน 250 ไปกับอะไร จะซื้อของจำเป็นหรือฟุ่มเฟือยก็แล้วแต่เลย ไม่ต้องไปคิดเยอะหรือสับสนให้เสียเวลาเพราะ หักเงินออมไปแล้ว

เป็นวิธีที่เรียบง่าย ที่แค่พลิกมุมนิดเดียว ทำให้อารมณ์มั่นคงก่อน แล้วการเงินของเราก็จะมั่นคงขึ้นไปด้วย


#ไปให้ถึง100ล้าน