“หาเงินได้เยอะขึ้น แต่ชีวิตไม่เคยดีขึ้น” เพราะกับดักพฤติกรรม ที่ไม่ได้อยู่ที่จำนวนเงินที่หาได้

“หาเงินได้เยอะขึ้น แต่ชีวิตไม่เคยดีขึ้น”
เพราะกับดักพฤติกรรม ที่ไม่ได้อยู่ที่จำนวนเงินที่หาได้
กับดัก 3 อย่างที่คนส่วนใหญ่มักเป็น ถ้าแก้ได้ก็จะเหนือกว่าคนอื่นมากถึง 50%
.
เมื่อไรที่หาเงินได้เยอะขึ้น ไม่ว่าจากทั้งการเลื่อนตำแหน่ง การได้โอกาสงานพิเศษ หรือมีรายได้ช่องทางใหม่ๆ มีหลายคนติดกับดักพฤติกรรม
ที่ไม่ว่าจะหาได้เท่าไรก็หมดอยู่ดี ต่อให้มีสิ่งของมากขึ้นก็จริง แต่เหมือนชีวิตไม่ขยับไปทางที่ดีขึ้น โดยหากแบ่ง จะได้ 3 เรื่องประเด็นตัวหลัก ๆ ที่คนส่วนใหญ่มักเป็น ดังนี้
.
(1) ใช้ชีวิตเกินตัว “ซื้อของที่ใช้ต่อยอดไม่ได้”
.
เงินเดือนน้อยนิดแต่ใช้ชีวิตเกินร้อย สร้างรายจ่ายแบบไม่รู้ตัส จนมองข้ามรายจ่ายเล็ก ๆ ที่บ่อยครั้งค่าใช้จ่ายยิบย่อย ก็เป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับคนทำงานที่มีรายได้เข้ามาหลายทาง หรือสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ใช้เงินแบบเดือนชนเดือน ยิ่งต้องกลับมาทบทวนบัญชีเข้าออกให้ถี่ถ้วน เพราะอาจสุ่มเสี่ยงที่สถานะความมั่งคั่งจะไม่เติบโตขึ้นและเงินจะรั่วออกโดยไม่รู้ตัว
.
เงินไม่ใช่ทุกอย่างจริง เเต่เงินเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิต เพราะฉะนั้น ปรับเปลี่ยนนิสัยการเงิน ตั้งสติทบทวนถึงประโยชน์และความจำเป็นก่อนควักกระเป๋าออกมาจ่ายทุกครั้ง เลือกลงทุนในสิ่งที่สามารถต่อยอดผลประโยชน์ได้อีกที ถือเป็นความคุ้มค่ากว่าการเลือกซื้อของฟุ่มเฟือยที่ยิ่งนับวันยิ่งลดมูลค่าลง
.
(2) กลัวการลงทุน จนทำให้เสียโอกาส
.
เมื่อไรที่เริ่มมีเงินเก็บบ้างแล้ว หากการกลัวที่จะลงทุนต่อ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะแรงจูงใจในการลงทุนมักพาดอยู่บนความคาดหวัง เมื่อคาดเดาว่าจะต้องขาดทุน ความกลัวก็จะผุดขึ้นมาจนไม่กล้าตัดสินใจทำอะไร การลงทุนมีความเสี่ยง เเต่ที่เสี่ยงกว่าคือการไม่ลงทุนอะไรเลย
.
วิธีแก้คือ หาเหตุผล ความรู้ และข้อมูลมาซัพพอร์ตให้มากที่สุด ในการตัดสินใจลงทุน เพิ่มทั้งความมั่นใจ และเผื่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น การไม่ลงทุนอาจจะไม่เสียอะไรในเชิงตัวเงิน แต่ในแง่ของระยะเวลาแล้วนั้น มันอาจจะเป็น “การย่นเวลาที่ดีได้” เหมือนเจอหนทางที่ดีพอ
.
(3) อาการ “สร้างหนี้เสีย มากกว่าหนี้ดี”
.
การเป็นหนี้สามารถจัดการให้เป็นระบบตามหลักคิด Marginal Propensity to Consume โดยแบ่งการใช้เงินออกเป็น 3 แบบด้วยกันคือ 1) นำไปจ่ายภาระหนี้ 2) นำไปใช้จ่าย และ 3) นำไปเก็บออม ไม่เช่นนั้น ปัญหาทางการเงินก็ไม่ได้เเก้แถมไม่มีเงินเก็บออมอย่างสม่ำเสมอ
.
ทั้งหมดนี้ หากแก้ได้ มีโอกาสที่จะดีขึ้นประมาณ 50% (จากข้อมูล)
สิ่งสำคัญคือ ทำอะไรก็ได้แต่อย่าฝืนทำอะไรที่เกินตัวเกินไปควรหาหลักวิธีที่เป็นเหตุเเละผลมาช่วยวิเคราะห์การตัดสินใจเสมอ
.
เมื่อมีข้อดีก็เก็บไว้ เมื่อมีพฤติกรรมต้องเเก้ไข ก็ขอให้แก้ไข อย่าปล่อยไว้โดยที่คิดว่ามันไม่ได้เป็นปัญหาอะไร สุดท้ายก็กลายเป็นดินพอกหางหมู กว่าจะรู้ตัวอีกที ก็อาจสายไปเสียเเล้ว…
.
.
.
.
เรียบเรียงโดย เพจ ไปให้ถึง100ล้าน
ผู้เขียน Flowers
.
#Money
#100wealth
#ไปให้ถึง100ล้าน
#SERVgroup
#Flowers