ให้เงินเดือนลูกน้องสูงกว่า “ค่าแรงขั้นต่ำ” นึกว่าบริษัทจะเสีย แต่สุดท้ายได้กำไรเพิ่มขึ้น

ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นมาแค่ 6 บาท ซื้อมาม่าได้ 1 ห่อ ” ไม่เป็นไร “
เพราะ บริษัทที่ให้เงินเดือนลูกน้องมากกว่า “ค่าแรงขั้นต่ำ”
โดยส่วนใหญ่แล้วพบว่า ได้กำไรเพิ่มขึ้น! หลังจากขึ้นเงินเดือน


ปกติคนทำงานก็อยากได้เงิน ส่วนคนจ่ายเงินก็อยากได้งานที่คุ้มค่า เวลาที่อยากได้งานเพิ่มเลือกใช้วิธีให้ OT

แต่วิธีนี้บางครั้งพบว่าพนักงานประวิงเวลารอทำ OT เพื่อเอาตังค์ แต่มาเช็คงานพบว่าไม่ค่อยเดินหน้า …สรุปเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา

แต่พอปรับเปลี่ยนนิดหน่อย ให้เงินเดือนสูงกว่า “ค่าแรงขั้นต่ำ” จริง ๆ ก็จ่ายเพิ่มเหมือนกัน แต่วิธีหลังกลับมีแต่กำไร

เพราะความรู้สึกของคนทำงาน คืองานที่ไหนก็ต้องขยันเหมือนกัน ถ้าได้เงินเดือนสูงกว่าก็ย่อมอยากทำมากกว่า

ทำงานตามเวลาปกติได้เงินเพิ่ม ดีกว่าทำ OT เพราะถึงแม้ได้เงินเพิ่มแต่ก็แปลว่าต้องใช้เวลาทำงานเพิ่มขึ้น

กลายเป็นว่า “ลูกน้องรู้สึกดีกว่า” เวลาที่ได้เงินเดือนเยอะจะมีความอดทนมากกว่า ตั้งใจทำงาน บริการลูกค้าใส่ใจมากกว่า บางทีใช้งานไปทำงานนอกก็ยังง่ายกว่า

งานที่เงินเดือนดี “คนทำงานจะไม่ค่อยอยากออก” ถ้ามีอะไรให้ปรับตัวก็ยินดีที่จะปรับ ถ้ามันง่ายกว่าการไปหางานใหม่

ถ้าเลี้ยงดูลูกน้องดีก็จะไม่ค่อยขาดคนด้วย เหตุผลดังกล่าว แต่ถึงแม้จะถ้าขาดคนก็หาลูกน้องใหม่ได้ง่ายเพราะมีแต่คนรออยากสมัคร

คนงานไม่ขาดก็ส่งผลต่อรายได้รวมของกิจการ เมื่อคนไม่ขาดก็บริการลูกค้าได้ทั่วถึง คนไม่ขาดก็ทำให้ไม่เคยต้องปิดร้าน

สรุปคือประสิทธิภาพการทำงานลูกน้องดีขึ้น งานออกมาดี ก็ได้กำไร

การทำงานไม่ได้มีแค่เงินที่สำคัญ แต่ “ความรู้สึก” ก็สำคัญ ไม่ต่างจากที่เราหากลเม็ดเด็ดเอาใจลูกค้ายังไงอย่างนั้น…



#ค่าแรงขั้นต่ำ
#ไปให้ถึง100ล้าน