ทุกคนล้วนมีโหยหาความสุข แต่ความสุขนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณมีเงิน แต่ถึงแม้มันจะเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องการ แต่เมื่อได้ครอบครองแล้ว ผู้คนเหล่านั้นก็ไม่ค่อยทะนุถนอมให้สมกับคุณค่าในตัวของมันสักเท่าไหร่ ซึ่งผลสุดท้ายแล้ว การกระทำเหล่านั้นจะฉุดรั้งตัวคุณไว้จากคำว่า “อิสรภาพทางการเงิน”
Kamaron McNair นักเขียนสายการเงินอธิบายว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินหลายคนพบนิสัยและทัศนคติเรื่องเงินมากมายที่คนส่วนใหญ่มีเหมือนกัน และมันทำให้คนเหล่านั้นมีความมั่นคงทางการเงินที่ลดลงและอยู่ห่างจากคำว่าร่ำรวยมากขึ้น
ซึ่งพฤติกรรมเหล่านั้นที่ประกอบไปด้วย…
1. มีเงินเท่าไหร่ก็ใช้ให้หมด ไม่สนว่าเป็นเงินใคร
ชีวิตเกิดมาทั้งที รีบใช้เงินก่อนจะไม่ได้ใช้
ถ้าถามว่าคุณรู้ตัวไหมว่าแต่ละเดือน คุณหมดเงินไปกับความสุขของตัวเองเท่าไหร่? การใช้เงินเพื่อเติมเต็มความสุขให้ตัวเองไม่ใช่เรื่องผิด แต่ถ้ามันเกินกว่าที่ตัวคุณเองจะรับไหว นั่นคือสัญญาณเตือนแรกแห่งความหายนะทางการเงิน
นักวางแผนทางการเงินและผู้จัดการความมั่งคั่งทุกคนให้ความเห็นตรงกันว่า คนส่วนใหญ่มักจะห่วงภาพลักษณ์ของตัวเองมากกว่าสิ่งอื่นใด พวกเขามักจะหมดเงินไปกับของแบรนด์เนมเพราะคิดว่าตัวเองยังมีเวลาในการหาเงินอีกนาน แต่นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเป็นหนี้ในอนาคต
ความคิดเหล่านั้นทำให้พวกเขาต้องกดดันตัวเองในการหาเงินเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เพื่อการเก็บออมและวางแผนในวัยเกษียณ แต่เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองให้เกิดการยอมรับในสังคม ซึ่งนั่นทำให้วิถีการใช้ชีวิตในอนาคตต่อไป ต้องเจอกับปัญหาทางการเงินที่เข้ามา
2. ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจซื้อด้วยความ “อยากได้”
แทนที่จะใช้เหตุผลในการซื้อด้วยความ “จำเป็น”
คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกผิดหลังจากที่ซื้อสินค้าอะไรไปสักอย่างแล้ว เพราะก่อนตัดสินใจซื้อพวกเขามักจะโดนอารมณ์ครอบงำจิตใจ ทำให้มีความคิดที่ “อยากจะได้มัน” แม้สินค้านั้นจะไม่มีความจำเป็นเลยก็ตาม แต่หลังซื้อมาแล้ว ตรรกะด้านเหตุผลจะค่อย ๆ แทรกซึมอารมณ์มาเรื่อย ๆ และทำให้คุณคิดขึ้นได้ว่า “ไม่น่าซื้อมาเลย”
แต่ถึงอย่างนั้นมนุษย์ก็ยังไม่เรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง เมื่อเจอของที่อยากได้ ก็จะตัดสินใจโดยใช้อารมณ์อีก จนกระทั่งมันกลายมาเป็นปัญหาเช่น หนี้บัตรเครดิตหรือพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ไม่ดี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญก็ได้แนะนำว่า สิ่งที่จะหลุดพ้นจากวงจรนี้คือ การจัดเงินและทำบัญชีรายรับ – จ่ายของตัวเองให้เป็นระเบียบ แยกเงินให้ชัดเจนว่าอะไรคือเงินใช้ อะไรคือเงินเก็บ
3. ได้เงินมาเท่าไหร่ก็ใช้ไปก่อน
เพราะคิดว่า “ถ้ามันเหลือ” ก็ค่อยเก็บก็ได้
ความผิดพลาดที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้คือการมีบัญชีธนาคารแค่บัญชีเดียว เมื่อเป็นอย่างนั้นเวลาจะซื้ออะไรคุณก็ใช้จ่ายมันแบบควบคุมไม่ได้ แทนที่จะเป็นแบบนั้น ก็ให้เปิดบัญชีแยกระหว่างเงินใช้ และเงินเก็บไปเลย ไม่ใช่แค่การใช้จ่ายประจำวันของคุณเท่านั้น เมื่อคุณอายุมากขึ้น คุณอาจต้องเริ่มต้นทำบัญชีเพื่อการเกษียณของตัวเองด้วย
4. คนเรายังมีชีวิตอีกนาน ไม่เก็บวันนี้ก็เก็บพรุ่งนี้ก็ได้
ยังไงก็ยังต้องทำงาน เก็บเงินไปอีกสักพัก
คนจะรวยได้ไม่ใช่รวยเพราะความคิด แต่เป็นเพราะการลงมือทำ เป็นเรื่องง่ายที่จะบอกว่าคุณจะจัดทำงบประมาณในวันพรุ่งนี้หรือคุณจะเริ่มออมเงินเพื่อการเกษียณเมื่อคุณทำเงินได้มากขึ้น แต่ยิ่งคุณเลิกใช้สิ่งเหล่านี้มากเท่าไหร่ สถานการณ์ของคุณก็จะยิ่งแย่ลงเท่านั้น
5. ไม่ใช่ทุกคนที่ได้เงินเดือนเยอะขึ้น จะเก็บเงินได้เยอะขึ้น
ปัญหาของผู้คนคือการเพ้อฝัน คุณไม่จำเป็นต้องคิดทั้งชีวิตในวันพรุ่งนี้ เพราะเป้าหมายที่แท้จริงสามารถเริ่มทำได้เลย อาจเริ่มจากเป้าเล็ก ๆ ที่ใช้เวลาไม่นาน และขยับออกไปเรื่อย ๆ แทน
อิสรภาพทางการเงินเริ่มต้นจากการคิดและลงมือทำ ไม่ใช่แค่คิดอย่างเดียว หากคุณยังทำตัวแบบเดิม ใช้ชีวิตแบบเดิมซึ่งไร้แผนการ ผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นเหมือนเดิม คุณจะถอยห่างจากความร่ำรวยมากยิ่งขึ้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่คุณทำไม่รู้ตัว ลองสังเกตตัวเองและค่อย ๆ ปรับมัน แล้วจะเจอวิธีการที่เหมาะกับตัวเองเอง
เขียนและเรียบเรียงโดย 100WEALTH
(Reference in comment)
———
“ก้าวต่อไปของคนทำธุรกิจ”
The Next Chapter of Business
100WEALTH l ไปให้ถึง100ล้าน
#Money
#100WEALTH
#ไปให้ถึง100ล้าน
#SERVgroup