จุดสำคัญในการทำกำไรของหลายธุรกิจ หลายครั้งอยู่ที่ “เงินลงทุน” เป็น SME เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก มีไอเดียดี ๆ ต่อยอดมากมาย แต่บางครั้งเวลาไปขอสินเชื่อ หรือกู้เงินที ก็ต้องใช้ทั้งเวลาและกำลังระดับนึง ถึงจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ดังนั้นไม่ว่าสเกลธุรกิจจะอยู่ในระดับไหนควรเรียนรู้ในการเดินบัญชี และหาแหล่งเงินทุนไว้ทุกช่วงเวลา หาร่มตั้งแต่วันที่ฝนยังไม่ตก ได้ประโยชน์กว่าคนที่จะหาร่มตอนฝนตก โดยผลประโยชน์จากการเพิ่มทุน หรือมีเงินเพิ่มเข้ามา ที่ปรึกษาทางธุรกิจได้คำนวณให้ดูแบบน่าสนใจมาก เพราะ “ยิ่งเพิ่มเงินมาช่วยการลงทุนมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสสร้างสัดส่วนผลกำไรมากยิ่งขึ้นเท่านั้น” ทั้งสร้างโอกาสในด้านของเวลาและตัวเลขในบัญชี ทำได้ยังไงนั้นไปดูการจำลองตัวเลขจริงกัน
สมมุติว่า คุณหรือบริษัทของคุณ ต้องจ่ายเงิน 1,000,000 บาท เพื่อนำไปดำเนินการทางธุรกิจ เพื่อจัดซื้อทรัพย์สินชิ้นหนึ่ง เช่น พวกเครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ หรือนำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียน เพิ่มสภาพคล่องต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ต้องใช้เงินประมาณ “หนึ่งล้านบาท” เพื่อให้ดำเนินธุรกิจแบบเติบโตต่อไปได้ เราจะมาคิดสัดส่วนการทำกำไรกัน ว่าระหว่าง “นำเงินจากแหล่งอื่นมาช่วย” กับ “ลงเงินเองทั้งหมด” จะได้สัดส่วนกำไรเป็นยังไงบ้าง?
“เพิ่มทุนจากที่อื่นมาช่วย” กับ “ลงเงินเองทั้งหมด” จะได้สัดส่วนกำไรเป็นยังไงบ้าง?
แบ่งเป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 : ใช้เงินบริษัทหรือตัวคุณเอง 200,000 บาท และมีหุ้นส่วนหรือได้มาจากการเพิ่มทุนแหล่งอื่นอีก 800,000 บาท
กรณีที่ 2 : ใช้เงินบริษัทหรือตัวคุณเอง 1,000,000 บาท
โดยหลังจากได้เงินก้อนมาแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี ทรัพย์สินเดิมที่ได้ลงเงินไปเพิ่ม ได้ทำมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 1,550,000 บาท จากมูลค่าของตัวทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น และกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปีนั้น ๆ เมื่อนำมาคิดความคุ้มค่าจากเงินทุนของทั้ง 2 กรณีที่ผ่านมาจะได้ดังนี้
กรณีที่ 1 : นำเงินจากที่อื่นมาลงทุนเพิ่ม 800,000 บาท เงินตัวเอง 200,000
เมื่อนำเงินไปลงทุนแล้ว ผ่านไป 1 ปี มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็น 1,550,000 บาท เพื่อให้เห็นภาพจะคำนวณโดยสมมุติว่าขายทรัพย์สินนี้ออกไปทั้งหมด เมื่อนำมาคิดหาสัดส่วนการทำกำไร โดยหักต้นทุนจากแหล่งอื่น 800,000 บาท จะเหลือเงิน 750,000 บาท หักส่วนที่ลงทุนเองไป 200,000 บาท
หลังจากคำนวณจะได้เป็น กำไร 550,000 /เงินลงทุนตัวเอง 200,000 บาท
คิดเป็นสัดส่วนกำไร = 275% ต่อปี
(หมายเหตุ : ในการคำนวณเพื่อให้เห็นภาพใหญ่สัดส่วนทางตัวเลขของการเติบโตทางธุรกิจ ในสถานการณ์จริงอาจจะมีในเรื่องของดอกเบี้ยของเงินต้นที่นำมา หรือมีการแบ่งกำไรตามสัดส่วนจากการเพิ่มทุน ฯลฯ ซึ่งจะต้องนำมาพิจารณารายละเอียดดูอีกครั้งครับ)
กรณีที่ 2 : ถ้าลงทุนเองทั้งหมด 1,000,000 บาท
คิดเป็นกำไร 550,000 บาท/เงินลงทุนเอง 1,000,000 บาท
สัดส่วนกำไร = 55% ต่อปี
จะเห็นได้ว่า การเพิ่มทุนนำเงินจากแหล่งอื่นมาช่วยทำให้ได้สัดส่วนกำไรมากถึง 275% ต่อปี แต่หากใช้เงินตัวเองจะได้สัดส่วนกำไรเพียง 55% ต่อปีเท่านั้น
โดยความแตกต่างทั้ง 2 กรณีนี้ ขออธิบายในแง่ของการตัดสินใจและเซนส์ธุรกิจประกอบ ว่าจากผลสำรวจของเจ้าของธุรกิจที่ใช้เงินตัวเอง จะมีความยึดติดสูงกลัวความเสียดายในจำนวนเงินนั้น ๆ จึงมีโอกาสพลาดสิ่งที่ควรทำไป เช่น การมองข้ามการทำตลาดให้ดีไปพร้อมกับพัฒนาสินค้า แต่ในทางกลับกัน หากเราใช้เงินจากหุ้นส่วน การเพิ่มทุนหรือจากแหล่งอื่น ๆ เพิ่มเข้าไปในการลงทุนทางธุรกิจ จะทำให้มองเห็นถึงเหตุผลและวิเคราะห์โอกาสได้ตรงตามหลักเหตุผลได้มากกว่า พูดง่าย ๆ คือ “เรากลัวที่จะสูญเสีย มากกว่าที่พยายามหาให้ได้มาครับ”
ในแง่ของตัวเลข สรุปได้ว่าสัดส่วนกำไรจากการใช้เงินจากที่อื่นมาช่วย มีมากกว่าการใช้เงินตัวเองนี้เป็นความจริง แต่จะอยู่ภายใต้กรอบของการ “เพิ่มมูลค่าของทรัพย์สิน” เท่านั้น หากลงทุนแล้วไม่สำเร็จ ก็มีโอกาสที่จะเป็นความเสี่ยง ต้องแบกรับภาระที่เกิดขึ้นเช่นกัน ทั้งหมดจึงต้องเริ่มจากการมองภาพรวมใหญ่ แล้วลงรายละเอียดให้ลึกมากพอ มีการป้องกันความเสี่ยงเพิ่ม ถ้าหากนำไปใช้จริงควรศึกษาดอกเบี้ย และอัตราการทำกำไรของกิจการ แบบหน่วยไตรมาสหรือหน่วยเดือนเทียบอีกครั้ง โดยหากใช้การกู้เงินช่วย ก็ต้องเลือกสินเชื่อให้ถูกประเภท และจำเป็นที่จะต้องมองหาตัวช่วยในด้านของทรัพย์สินเอาเข้าไปค้ำประกัน หรือมีการเจรจากู้เป็นแบบเงินหมุนเวียน (O/D) โดยมีใบสั่งซื้อ, สัญญาการจ้างงานจากลูกค้า ตั๋วสัญญาใช้เงิน (PN), หนังสือค้ำประกันเพื่อใช้ประมูลงาน (LG) ฯลฯ เป็นตัวค้ำประกันว่า มีโอกาสชำระสินเชื่อแน่นอน ในขั้นตอนตรงนี้ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม แล้วแต่นโยบายของแต่ละธนาคารอีกครั้งครับ
โดยประเด็นที่อยากย้ำคือ…หากมีโอกาสและเครดิตในการกู้เงิน หรือการเพิ่มทุน ควรใช้โอกาสนั้น เพื่อมีเงินหมุนทั้งปัจจุบัน และเปิดรับรอโอกาสทางข้างหน้าได้แบบไม่ติดขัด และในหลาย ๆ ครั้งเมื่อเรามีทรัพยากรที่มากพอ มุมมองก็จะเปิดออกเราจะคิดหาทางใหม่ ๆ โอกาสใหม่ ๆ ได้ง่ายกว่า จากตัวเลขที่นำมาให้ดูนี้ เพื่อใช้เทียบเบื้องต้นในการตัดสินใจแบบถูกต้อง มองให้เห็นถึงภาพใหญ่ก่อนครับ นอกจากนั้นยังมีอีกประเด็นที่สำคัญที่ 2 ประเด็นที่ใช้ประกอบการพิจารณาคือ การทำธุรกิจ “เวลา” และ “โอกาส” คือต้นทุนที่ต้องเอามาคำนวณเช่นกัน
ทำธุรกิจ “เวลา” และ “โอกาส” คือต้นทุนที่ต้องเอามาคำนวณเช่นกัน
เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่หลายท่าน มักเชี่ยวชาญทรัพยากรเรื่อง “เงิน” เป็นหลักโดยปกติ แต่มีเพียงส่วนน้อยที่จะเชี่ยวชาญการบริหารเวลาและโอกาส จุดนี้เป็นจุดที่แตกต่างทำให้หลายธุรกิจเติบโตได้ต่างกันมาก หลายกิจการจะรอให้โอกาสมาถึงก่อนและค่อยเติบโต ซึ่งนั่นสามารถทำได้ แต่มีโอกาสเสี่ยงมากที่โอกาสนั้นจะหลุดไป และทำให้เสียเครดิตชื่อเสียงด้วยในบางครั้ง
ด้วยในยุคนี้เรามีทั้ง LINE, FACEBOOK และเครื่องมือทางออนไลน์อีกหลายตัว ที่ช่วยให้ธุรกิจนั้นโตได้แบบก้าวกระโดด วิถีของธุรกิจในยุคนี้จึงควรคิดแบบผสมผสานวิถี Start Up เข้าไปด้วย คือ คิดแบบให้ไกล เร่งการเติบโตด้วยออนไลน์ และทำให้เร็วก่อนใคร สิ่งนี้จะช่วยให้เห็นโอกาสและการทำกำไรที่แตกต่างได้เหนือคู่แข่ง
สร้างโอกาสทางบัญชีให้ธนาคารช่วยจัดการเรื่องเงิน เอาเวลาไปต่อยอดไอเดียธุรกิจดีกว่า
ประสบการณ์คนทำธุรกิจหลายท่านจะรับรู้ได้อย่างดีว่า เรื่องความสำคัญที่สุดของธุรกิจคือ “เงินหมุนเวียน และ สภาพคล่อง” ยิ่งมีเงินทุนหมุนเวียนกิจการที่ดีมากเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับคุณได้มากขึ้นเท่านั้น เพราะคุณจะสามารถรับมือกับ การสั่งซื้อเร่งด่วนหรือออเดอร์สินค้าใหญ่จากลูกค้าได้ ทำให้ไม่พลาดโอกาส และยังสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคู่ค้าได้ และในหลาย ๆ กรณียังต้องมีเผื่อไว้เพื่อชำระหนี้กับเจ้าหนี้ได้ตรงเวลาอีกด้วย บริษัทจะได้มีเครดิตทางการค้าที่ดี ซึ่งในทั้งหมดนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการหมุนเวียนจัดการเงินในบัญชีที่ดี ดังนั้นเพื่อการเติบโตทางธุรกิจที่มากกว่าแบบเจ้าใหญ่ระยะยาว จึงควรให้ธนาคารมาช่วยจัดการในส่วนนี้ และเอาเวลาที่เหลือไปต่อยอดไอเดียธุรกิจ ทำยอดขายเพิ่มดีกว่า
ต่อยอดธุรกิจ พร้อมรับทุกโอกาสของการเติบโต สินเชื่อ SME SMART BIZ
สินเชื่อที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของ SME ให้มีอิสระในการจัดสรรแหล่งเงินทุน ให้ทุกไอเดียเป็นจริงได้ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ซื้อ/ก่อสร้างสถานประกอบการ อาคารพาณิชย์ โฮมออฟฟิศ หรือซื้อเครื่องจักรตามความต้องการของธุรกิจ จะได้ไม่พลาดทุกโอกาสที่เข้ามา คว้าโอกาสได้มากกว่า เพื่อชนะคู่แข่งได้ในระยะยาว
มีจุดเด่นคือ
- กู้เพียงครั้งเดียว แต่ได้วงเงินครบ ไม่ต้องเสียเวลากู้หลายครั้ง จากหลายธนาคาร (แบ่งสัดส่วน O/D หรือ Loan ได้ตามความต้องการของลูกค้า)
- ให้วงเงินสินเชื่อสูงสุด 35 ล้านบาท
- สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ต่อปีสูงสุด 5 – 200 ล้านบาท
- ขั้นตอนประเมินและอนุมัติเร็วกว่า (อนุมัติภายใน 10 วัน)
- ดอกเบี้ยวงเงินสินเชื่อระยะยาวอัตราพิเศษสำหรับลูกค้าที่เดินบัญชีเดียว
- วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
- รับอัตราดอกเบี้ย 4% ในปีแรก 5% ในปีที่ 2 และค่าธรรมเนียมสินเชื่อ 2%
- วงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท
- รับอัตราดอกเบี้ย 5% ใน 2 ปีแรก
- วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
สมัครได้ที่ tmbbank.com/tmbsmartbiz/content/Apr หรือสอบถามเพิ่มเติมติดต่อ Corporate Call Center 02-643-7000