จากผลสำรวจเหตุผลที่ทำให้ Startup ล้มเหลว มีสูงถึง 42% คือไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งเหตุผลนั้นไม่ได้มาจากสินค้าหรือบริการที่ไม่มีคุณภาพ แต่มาจาก Startup รุ่นใหม่ เล่าเรื่องไม่เป็น ทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าไม่ถึงธุรกิจ….
ในยุคนี้มี Startup ที่เกิดขึ้นและทยอยปิดตัวกันไปเป็นจำนวนมาก สาเหตุนั้นมาจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเงินลงทุน ความสามารถในการบริหารงาน การวางแผนการตลาด หรืออื่นๆ แต่หนึ่งสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ Startup หลายรายนั้นพลาดไปก็คือไม่สามารถเล่าเรื่องธุรกิจของตัวเองส่งต่อไปยังกลุ่มลูกค้าได้นั่นเอง
หลายครั้งที่สินค้าหรือบริการของธุรกิจนั้นดี แต่ไม่สามารถบอกคนอื่นได้ว่าดียังไง และเมื่อผู้บริโภคไม่เข้าใจ ก็จะไม่รู้สึกต้องการหรือคิดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะสามารถเข้ามาอำนวยความสะดวกพวกเขาได้
วันนี้เราจะพามาดูกรณีศึกษาของ Beaverman หนึ่งใน Startup รุ่นใหม่ที่เจอปัญหาในการที่ไม่สามารถเล่าได้ว่าบริการของตัวเองให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ สู่การมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายในระยะเวลา 1 ปี เพียงเพราะหาตัวตนของแบรนด์เจอ และนำเสนอให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้มากขึ้น
คุณภูษณิศา กรภัทรพิชิต หรือคุณมายมิ้นท์ CMO หรือ Chief Marketing Officer ของ Beaverman บริษัท Startup ในเครือของ ซีคอน เป็น Startup ที่เปรียบเสมือน Marketplace ด้านก่อสร้าง ต่างกับรายอื่นตรงที่ไม่ใช่การขายอุปกรณ์เครื่องมือก่อสร้าง แต่เป็นแพลตฟอร์มตัวกลางที่ช่วยค้นหาผู้รับเหมา เพื่อรับงานออกแบบ, งานก่อสร้าง, งานรีโนเวท, งานต่อเติม และงานตกแต่ง โดยมีจุดเด่นคือระบบการประกวดราคา ที่จะทำให้ลูกค้าได้รับราคาที่ยุติธรรม พร้อมระบบตรวจสอบจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่เป็นตัวกลางระหว่างลูกค้าและผู้รับเหมา ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมั่นใจได้ว่าจะได้รับงานรวมถึงรับค่าตอบแทนตามที่คาดหวังเอาไว้ โดยปัจจุบันมีผู้รับเหมาในมือแล้วมากกว่า 600 ราย
วิธีการทำงานของ Beaverman คือลูกค้าจะเข้ามาติดต่อพร้อมกรอกรายละเอียดตามที่ตัวเองต้องการ (ออกแบบ, ก่อสร้าง, รีโนเวท, ต่อเติม, ตกแต่ง) ซึ่งทาง Beaverman จะส่งให้วิศวกรประเมินราคาและจะทำการประกาศหาผู้รับเหมาลงบนแพลตฟอร์มพร้อมแจ้งรายละเอียดที่ต้องทำ จากนั้นคัดเลือกผู้รับเหมาที่สนใจทำงานและมีความสามารถต้องกับงานให้เหลือเพียงประมาณ 3-5 ราย และจะทำการส่งวิศวกรเข้าพื้นที่พร้อมกับผู้รับเหมาที่สนใจทั้ง 5 ราย ประเมินงานว่ารายละเอียดงานที่ลูกค้าต้องการต้องใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์เท่าไหร่บ้าง ในการเข้าสำรวจเพื่อศึกษาหน้างานจริงช่วยเพิ่มความแม่นยำและชัดเจนในการเสนอราคา หลังจากนั้นก็ทำการประกวดราคาตามมาตรฐานที่ Beaverman ตั้งเอาไว้ เพื่อให้ลูกค้าได้รับงานที่ตรงตามมาตรฐานในราคาที่ดีที่สุด
Beaverman เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทั้งของผู้รับเหมาและลูกค้า โดยลูกค้ามักจะเจอกับผู้รับเหมาทิ้งงาน ไม่ซื่อตรงแอบลดคุณภาพหรือปริมาณของวัสดุจากที่เคยตกลงกันไว้ ในด้านของผู้รับเหมาเองก็ต้องเจอกับลูกค้าบางรายที่เมื่อจบงานแล้วไม่ยอมชำระเงิน แต่จะขอของแถมหรือขอให้ทำงานเพิ่มเติมจากที่เคยตกลงไว้
ดังนั้นการมี Beaverman เข้ามาเป็นตัวกลางจะช่วยแก้ปัญหาทั้ง 2 ฝ่ายได้อย่างดี เพราะทางลูกค้าก็จะได้รับงานที่ตรงตามที่คาดหวังเอาไว้เพราะมีทีมวิศวกรของ Beaverman คอยช่วยตรวจสอบตั้งแต่ประเมินงานยันส่งจบงาน ในด้านของผู้รับเหมาเมื่อจบงานและได้รับการตรวจสอบจาก Beaverman และลูกค้าแล้ว ก็จะได้รับเงินค่าจ้างที่โอนตรงจาก Beaverman ทันทีภายใน 24 ชม.
คุณมายมิ้นท์ได้เล่าว่าในช่วงแรกที่เปิดตัวแม้จะมีกลุ่มลูกค้าที่มาจากบริษัทแม่มาก่อนแล้ว แต่ก็ยังไม่มากเท่าที่ควร ปัญหาหลักๆ เลยคือความเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาในตลาดทำให้ตัวตนหรือจุดยืนของแบรนด์ยังไม่ชัดเพราะไม่มีต้นแบบธุรกิจอื่นให้ศึกษา ส่งผลให้ผู้บริโภคหลายคนยังเกิดความลังเลและไม่มั่นใจ ทั้งนี้เป็นเพราะตัวบริษัทเองก็ไม่สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ดีมากพอ เพราะไม่เคยทำแบรนด์ดิ้งมาก่อน แต่พอได้แก้ปัญหาตรงนี้ทำให้ลูกค้าจากเดิมที่มีประมาณ 800 รายเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 2,000 รายในเวลาเพียงแค่ 1 ปี!!
นั่นเป็นเพราะคุณมายมิ้นท์ได้ตัดสินใจเข้าอบรมในคอร์ส “NIA-SCB Innovation-Based Enterprise (IBE)” ของ SCB SME ทำให้ได้มีการเริ่มทำแบรนด์ดิ้งอย่างจริงจัง โดยมีวิทยากรผู้มีความรู้และประสบการณ์คอยช่วยวิจารณ์ แนะนำและให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอน ทำให้ได้ปรับภาพลักษณ์เว็บไซต์ใหม่จากเดิมที่ดูอยากให้ทันสมัยและใช้งานง่ายมากขึ้น พร้อมทั้งการค้นหาตัวตนและจุดยืนของแบรนด์จากเดิมที่สนใจแต่ให้บริการก็ได้วางแบรนด์ให้เป็นเพื่อนร่วมทางที่จะอยู่เคียงคู่ลูกค้า ทำให้แบรนด์มีความเป็นมิตรและรู้สึกเข้าถึงได้ง่ายมากกว่าเดิม ทั้งนี้ภายในคอร์สก็จะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคนที่อยู่ในวงการธุรกิจด้วยกันเอง นอกจากวิทยากรก็ยังสามารถขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางธุรกิจของ SCB ได้โดยตรง
อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของคอร์สเรียนนี้ที่คุณมายมิ้นท์ชอบมากที่สุดคือการ Pitching ที่จะให้ผู้ประกอบการทุกท่านที่เข้าร่วมอบรมได้นำเสนอโครงการของตัวเองเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจาก NIA เพื่อนำไปต่อยอด อีกทั้งยังได้ฟังมุมมองและลองตอบคำถามจากหลายๆ แง่มุมของคนในวงการธุรกิจด้วยกันเอง และแน่นอนว่าหลังจากการเข้าอบรมคอร์สนี้ทำให้ Beaverman นั้นได้รับโอกาสให้ได้รับทุนดังกล่าวและนำมาต่อยอดธุรกิจรวมถึงการสร้างฐานลูกค้าจากการอบรมคอร์สได้มากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
สำหรับคอร์ส SCB IBE นั้นจัดขึ้นมาแล้วอย่างต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 3 เพื่อที่อยากจะยกระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของผู้ประกอบการ SME ไทย เพื่อให้สามารถสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่สนใจอยากเข้าอบรมในคอร์สนี้หรืออยากอัปเดตเคล็ดลับการบริหารธุรกิจต่างๆ ก็สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ SCB SME : https://www.scb.co.th/th/sme-banking/articles.html
#Business #Beaverman #SCBSME
#100WEALTH #ไปให้ถึง100ล้าน #SERVgroup