ประสบการณ์ต่อไปนี้เป็นประสบการณ์จากการผ่านชีวิตมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น เงินเดือนหมื่นเดียวจนทะลุไปแสนต้นๆ และยังไม่จบแค่นั้นได้มีโอกาสเปิดกิจการของตัวเอง และได้ทำงานประกอบอาชีพอิสระ มานั่งคิดๆแล้วอาจจะแชร์ประสบการณ์ทั้งหมดให้คนเดินตามได้รับรู้ กระทู้นี้เราได้หยิบขึ้นมาจากในพันทิป จากคุณ ปอบหยุด ที่เขียนเอาไว้ดีมากๆ เริ่มต้นกันที่ 1. การเป็นมนุษย์เงินเดือน มีต้นทุนที่เราลืมนึกไปซ่อนอยู่ด้วย ถ้ามองตามจริง เราทำงานสัปดาห์ละ 5-6 วัน วันละ 8-9 ชั่วโมงก็จริงแต่ต้นทุนที่แฝงอยู่อีกอย่าง ซึ่งบริษัทไม่สนใจ และหลายๆ คนเองก็ไม่สนใจ หรือลืมนึกถึงไป ก็คือ การเดินทางไปกลับจากที่พักและบริษัท ในความเป็นจริง สิ่งที่เราทุกคนมีเท่าๆ กันก็คือ “เวลา” ครับถ้าเราใช้เวลาไปกับการเดินทางมากกว่าคนอื่น ก็เท่ากับเราขาดทุนชีวิตมากกว่าคนอื่นแล้วเช่นกัน ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ ในการพิจารณาเลือกงานก็คือ “เวลาที่แท้จริง” ที่เราเสียไปให้กับการทำงานนั้นๆ 2. มองตัวเองเป็นสินค้าหรือบริการ เวลาเราทำงาน โดยเฉพาะเวลาทำงานกับบริษัท เราไม่ควรใช้ความรู้สึกไม่ควรกะเอาเองว่าเงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะดี หรือคิดเอาเองว่าเราควรได้เงินเดือนเท่าไหร่แต่เราจำเป็นต้องรู้ “มูลค่าที่แท้จริง” ของตัวเรา เราต้องรู้ให้ได้ว่า งานที่เราทำ คุณภาพระดับนี้ ความเร็วระดับนี้ถ้าบริษัทไปจ้างคนอื่น จะต้องเสียเงินเท่าไหร่ หรือถ้าเราไปทำให้บริษัทอื่นเขาจะเต็มใจจ่ายที่เท่าไหร่ ข้อนี้น้องๆ จบใหม่จะมีโอกาสรู้ได้ยากมากๆ เพราะอาจจะตั้งเป้าไว้แค่“งานอะไรก็ได้ ให้มันมีทำๆ ไปก่อน เก็บประสบการณ์” แถมเอาเข้าจริง บางคนทำงานมาหลายปีก็ยังตอบไม่ได้ส่วนนึงเพราะไม่ได้ใส่ใจจะคิด หรือหาคำตอบ ก็เลยไม่ก้าวหน้าหรือไปไม่ถึงไหน ...
ผ่านไป 3 ปี มนุษย์เงินเดือนคนนึงที่ใกล้จบปริญญาเอก ได้มาสรุปการเงินส่วนบุคคลว่ามีอะไรบ้าง แจกแจงไว้แบบละเอียดมากๆ มาดูกันที่ ทรัพย์สิน 1. ตอนนี้อายุ 35 ปี เป็นโสด ยังไม่มีครอบครัว 2. เงินเดือนประมาณ 35,000 บาท (ตามปกติการลาเรียน เงินเดือนไม่ขึ้น แต่พอดีได้รับการปรับฐานเงินเดือน ให้คนที่รับเข้าใหม่ คนหน้าเก่าอย่างผมเลยได้อานิสงค์มาด้วย เพิ่มจาก 31,000 บาท เมื่อ 3 ปี ที่แล้ว มาเป็น 35,000 บาท ผมเริ่มทำงาน เดือน ตค. 2551 เงินเดือนเริ่มต้น 14,300 บาท ไม่มีบ้าน ไม่มีรถ ที่บ้านไม่ได้ให้มรดกอะไรมาครับ) 3. เงินลงทุนในหุ้น และกองทุนรวม ต่างๆ ประมาณ 650,000 บาท (สามปีที่แล้ว 450,000 บาท)– หุ้น 470,000 บาท– กองทุนหุ้น 100,000 บาท– กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 30,000 ...