ปลดล็อค ‘E-Commerce’ ข้ามพรมแดน รับวิถี “New Normal” หลังจากทั่วโลกได้รับผลกระทบจาก วิกฤตโควิด-19 ตอนนี้วิถีชีวิตของผู้คนกำลังปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตแบบปกติใหม่ รวมทั้งเศรษฐกิจไทยในหลายๆ ภาคธุรกิจ ขณะที่สถานการณ์ต่างๆ กำลังคลี่คลาย อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง จะมาเผยข้อมูลในธุรกิจอีคอมเมิร์ซและแนวทางสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่โลกยุค New Normal ด้วยหลักการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับลูกค้า อเมซอนรู้สึกถึงความรับผิดชอบในฐานะบริษัทข้ามชาติที่ต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในวิกฤตครั้งนี้ โดยอาศัยความแข็งแกร่งของเครือข่ายระดับโลกและทรัพยากรในมือเพื่อช่วยเหลือภาคส่วนต่างๆ ในการต่อสู้กับวิกฤตระดับโลกควบคู่ไปกับการสนับสนุนในด้านปัจจัยที่จำเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า วิกฤตระดับโลกครั้งนี้ทำให้เราต้องกลับมาทบทวนถึงความสำคัญของโลกาภิวัฒน์ผ่านมุมมองสู่อนาคตระยะยาว ในช่วงวิกฤตโรคระบาด การช้อปปิ้งออนไลน์ คือช่องทางที่ปลอดภัยกว่าการซื้อสินค้าจำเป็นต่างๆ ในชีวิตประจำวันทำให้ถูกมองว่าอีคอมเมิร์ชข้ามพรมแดนยังมีโอกาสโตอย่างต่อเนื่อง อีคอมเมิร์ชเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สำหรับการสร้างการเติบโตภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ สำหรับในไทย หน่วยงานราชการต่างๆ ออกมาตการ ทั้งการเงินและภาษีช่วยเหลือ SME ที่ได้รับผลกระทบ และจำนวนผู้ค้ากลุ่ม SME ที่มีมากมาย ปัจจุบัน ประเมินว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ชข้ามพรมแกนของยังเติบโตสูงในปีนี้และต่อเนื่องไปอีกหลายปี แหล่งอ้างอิง ...
ท่ามกลางโอกาสในการขายสินค้าออนไลน์ก็ยังมีอุปสรรคแฝงอยู่เต็มไปหมด อย่างเช่นสินค้าที่ขายเหมือนกันทุกร้านจนไม่รู้ว่าจะหาจุดเด่นอะไรมาขาย ไหนจะปัญหาจัดการสต๊อก และเรื่องเงินทุน ด้วยการแข่งขันที่สูงในยุคนี้ นายพร้อมพงษ์ พัฒนธีระเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์และ Portfolio ธุรกิจ เอสเอ็มอี ทีเอ็มบี ได้เปิดเผยว่า คนขายของออนไลน์ยังคงมีปัญหาซ้ำๆ 3 เรื่อง คือ จะสร้างรายได้ในปีต่อๆ ไปอย่างไรให้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน จะบริหารค่าใช้จ่ายอย่างไรให้คุ้มที่สุด และจะเอาเงินมาจากไหนเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจให้เติบโตในอนาคต TMB จึงได้ร่วมกับบริษัทวิจัยชั้นนำของประเทศทำการสำรวจผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทยจำนวน 200 คน ที่ขายของ Online ในปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า ร้านค้า Online โดยคละกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งผู้ประกอบการขายของ online ผ่านแพลทฟอร์ม E-Commerce และ ผ่าน Social Commerce (LINE, Instragram และ Facebook) โดยผู้ประกอบการดังกล่าวจะมีหน้าร้านหรือไม่ก็ได้ เพื่อค้นหาปัญหาในทุกมุม ผลการศึกษานี้ได้แบ่งประเด็นหลักออกมาเป็น 5 เรื่องจริงที่ร้านค้าออนไลน์มักเจอ พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1. สินค้าไม่มีจุดแตกต่าง จะขายอย่างไรดี สมมติว่าใครที่กำลังต้องการกล่องรองเท้าแล้วเข้าไปหาสินค้าใน Lazada หรือ Shopee คงจะพบว่ามีสินค้าที่หน้าตาเหมือนกันทั้ง สี ขนาด ราคา ระยะเวลาการจัดส่ง แม้แต่รูปภาพที่ใช้ในการโพสต์ยังเป็นรูปเดียวกันทุกร้าน จึงทำให้ผลการสำรวจพบว่า 60% ร้านค้า Online พบปัญหาขายของที่ไม่มีจุดต่าง ซึ่งเหตุผลก็เป็นสินค้าที่มาจาก Supplier เจ้าใหญ่เจ้าเดียวกัน เพราะเอาเข้าจริงแล้วก็มีอยู่เพียงไม่กี่เจ้า ทำให้หาจุดต่างได้ยากเหลือเกิน หรืออีกกรณีหนึ่งคือ ไม่มีกำลังทุนพอที่จะสั่งผลิตสินค้าในแบบที่ตนเองต้องการจริงๆ ได้ เพราะตัวเล็กเกินไป เชื่อได้เลยว่าร้อยทั้งร้อยต่างก็ใช้กลยุทธ์ ลด แลก แจก แถม ดึงลูกค้าให้เป็นลูกค้าประจำ ...