เป็นเจ้าของกิจการหรือทำธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ “เงินสด” คือสิ่งจำเป็นที่ต้องสำรองไว้ให้พร้อม เรื่องกู้เงินเป็นหนึ่งในทักษะที่ เจ้าของธุรกิจหลายคนเข้าใจว่าต้องกู้ในช่วงที่ธุรกิจกำลังแย่อย่างเดียว นั้นไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะจากประสบการณ์จริงไม่ว่าธุรกิจกำลังถดถอยหรือกำลังขยายย่อมต้องใช้เงินสดทั้งนั้น ยกตัวอย่างเช่นเมื่อมีออเดอร์ใหญ่เข้ามาแต่ลูกค้าขอจ่ายเป็นเครดิต 30 วัน ถ้าบริษัทไม่อยากพลาดโอกาสในการขายก็ต้องสำรองเงินเพื่อสั่งซื้อวัตถุดิบในการผลิต จากนั้นค่อยรอเก็บเงินก้อนใหญ่ทีหลังหากบริษัทไม่มีเงินสดที่มากพอ ก็ต้องสะดุดแน่นอน ดังนั้นไม่ว่าธุรกิจกำลังแย่หรือกำลังไปได้ดี ยังไงก็ต้องหาหนทางในการหาเงินสดให้ได้ตามเวลาทุกครั้งเมื่อถึงคราวจำเป็นต้องใช้ วิธีการหาเงินสดส่วนแรกนั้นต้องดูไปที่ทรัพย์สินก่อน เพราะถ้ามีทรัพย์สินไปค้ำหรือไปวางไว้ก่อนจะมีโอกาสได้เงินสดง่ายกว่า คำว่า “ทรัพย์สิน” ไม่ใช่แค่สิ่งปลูกสร้าง อสังหาริมทรัพย์ทั้งเครื่องจักรหรือรถยนต์ก็ใช้เป็นทรัพย์สินในการกู้เงินได้ เมื่อพูดถึงการหากู้เงินสดหรือสินเชื่อ หลายคนมักจะมองไปที่การใช้ “อสังหาริมทรัพย์” เป็นตัวค้ำประกันอย่างเดียว ยิ่งคนทำธุรกิจส่วนใหญ่แล้วทรัพย์สินนั้นอาจจะไม่ใช่ในชื่อของตัวเองทั้งหมดหรืออสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นยังคงผ่อนหรือติดไฟแนนซ์อยู่ ดังนั้นจึงถูกมองว่า “โอกาสในการกู้ผ่านยาก” และการจะได้เงินมานั้นน้อยมากเพราะไม่มีทรัพย์สินไปค้ำจึงหันทางอื่นไปพึ่งการกู้เงินในนามบุคคล เช่น กู้เงินนอกระบบหรือไม่ก็กดเงินสดจากบัตรเครดิตเพราะมักจะคิดว่าเดี๋ยวก็ได้เงินจากลูกค้ามาแล้วเอาเงินตรงนั้นมาโปะยังไงก็ทัน แต่ในความเป็นจริงไม่ได้ง่ายขนาดนั้น บ่อยครั้งเราจะพบว่ามีอุปสรรคในการเก็บเงินมากมายจากลูกค้าที่คิดว่าจะเก็บเงินได้ก็ต้องถูกเลื่อนดีลออกไป หรือบางครั้งก็พบว่ามีค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นกว่าแทรกเข้ามา ทำให้เจ้าของธุรกิจต้องหมุนเงินเป็นว่าเล่นซึ่งนั่นย่อมมากับภาระดอกเบี้ยที่หนักอึ้ง จริงๆ แล้วในการขอสินเชื่อนั้นคำว่า “ทรัพย์สิน” ไม่ได้มีแค่อสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว ทั้งเครื่องจักรและรถยนต์ก็สามารถแปลงเป็นทรัพย์สินได้เช่นกัน โดยข้อดีของทรัพย์สินประเภทพวกนี้เหมาะกับคนทำธุรกิจมากกว่าอาชีพอื่นๆ ด้วย เพราะนอกจากจะใช้ประโยชน์ “จากการใช้งานของมันแล้ว” ยังได้ใช้ประโยชน์ “ในทางมูลค่า” ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย อย่างเช่นรถกระบะ นอกจากใช้ในการขนของให้ธุรกิจในทุกๆ วันแล้วก็ยังสามารถใช้เอาไปค้ำประกันเพื่อขอสินเชื่อนำเงินสดออกมาต่อยอดการทำธุรกิจได้ด้วย และสินเชื่อส่วนใหญ่นั้นไม่ได้จำกัดแค่รถที่ผ่อนหมดแล้วเท่านั้น รถที่ติดไฟแนนซ์อยู่ก็สามารถนำไปขอสินเชื่อได้เช่นกัน ใช้ทรัพย์สิน “รถยนต์” ค้ำประกันการกู้เงินเทียบแล้วดอกเบี้ยถูกกว่าการกู้ในสินเชื่อบุคคลถึงหลายเท่า ไม่ว่ากู้เงินจากทางไหนก็ต้องเสียดอกเบี้ยทั้งนั้น ฉะนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดคือหาทางกู้ที่จ่ายดอกเบี้ยต่ำที่สุดหนึ่งในตัวเลือกทางทรัพย์สินที่น่าสนใจคือการใช้ “รถยนต์” มาใช้ค้ำประกันในการกู้ เพราะถ้าให้เปรียบเทียบจากวิธีเบสิคอย่างการกดเงินสดจะเสียดอกเบี้ยสูงสุดถึง 28% แต่การกู้โดยใช้รถยนต์ไปค้ำนั้นดอกเบี้ยจะเหลือเพียง 5.74-12.5 % เท่านั้นและยังสามารถนำรถนั้นมาใช้ในธุรกิจได้ดังเดิมเพื่อให้ธุรกิจยังไปได้ รถก็ยังอยู่เงินสดก็ได้เพิ่มแถมยังดอกเบี้ยถูกกว่าวิธีอื่น เรียกว่าเป็นวิธีการสร้างหนี้ที่มีคุณภาพยกตัวอย่างเช่นสินเชื่อรถแลกเงินของธนาคารธนชาต เติบโตได้ด้วย “หนี้ดี” เลือกรูปแบบตามความเหมาะสมของตัวเอง สินเชื่อรถแลกเงินเป็นหนึ่งในทางเลือกที่นับว่าเป็น “หนี้ดี” ก็ได้เพราะค่ารถยนต์เสื่อมลงทุกวัน การนำมูลค่าของรถมาขอสินเชื่อเพื่อนำไปลงทุนหรือต่อยอดทางไอเดียเป็นการเปิดโอกาสที่ทำให้ได้รับผลตอบแทนกลับมามากกว่า ดีกว่าทิ้งมูลค่าไว้เฉยๆ โดยการขอสินเชื่อรถแลกเงินนั้นสิ่งที่ต้องเลือกต่อมาคือต้องเลือกให้เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อจะได้ไม่เป็นภาระหรือกลายเป็นหนี้เสีย ความเหมาะสมแบ่งได้ดังนี้ รถแลกเงิน : เหมาะกับพนักงานเงินเดือนหรือผู้ที่มีทั้งงานประจำและงานเสริมคือมีรายได้เข้ามาแน่นอนและมีภาระที่แน่นอนทำให้จัดสรรได้และรู้เวลาในการจ่ายหนี้แบบชัดเจนด้วยข้อดีของการใช้รถแลกเงินคือดอกเบี้ยต่ำ ...
เป็นเจ้าเล็กมันเหนื่อย ทำธุรกิจในช่วงเริ่มต้น นอกจากจะต้องทำเองเกือบทั้งหมดแล้ว ยังต้องคอยบริหารเงินสด เงินทุน ให้พอในการใช้จ่ายด้วย วิธีทำร้านเล็กให้ชนะ ต้องใช้ความเล็กให้เป็นประโยชน์ คือ “เล็กและเร็ว” พร้อมทุกการเปลี่ยนแปลง เจอไอเดียใหม่ๆ เจอวิธีการขาย หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงและลองทำทันที เช่น เปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว เมื่อก่อนก็เปิดหน้าร้านธรรมดา แต่พอมาถึงตอนนี้ ต้องเอาร้านเข้า ฟู้ดเดลิเวอรี่เจ้าต่างๆ ด้วย เพื่อขยายขอบเขตการขาย ไม่ใช่พึ่งแค่หน้าร้าน ลูกค้าสามารถกดสั่งซื้อได้จากทุกที่เป็นต้น หากเป็นเจ้าใหญ่ กว่าจะขยับตัวทำอะไรจะยากกว่า พร้อมขยาย พร้อมขยับ แต่ต้นทุนไม่เอื้ออำนวย ต้องทำยังไง เชื่อว่าเจ้าของร้าน และเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หลายคน มีไอเดียและพร้อมที่จะขยับทำสิ่งต่างๆ ที่ดีต่อธุรกิจ แต่ปัญหาที่เจอบ่อยคือ “เงินสดไม่พอ เงินทุนไม่เหลือ” จะขยายก็ลำบาก วิธีแก้ปัญหานี้คือต้องวางแผน เริ่มต้นตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่ม คือเตรียมตัวทำหลักฐานทางการเงิน ตั้งแต่วันที่ฝนยังไม่ตก ทำให้เป็นนิสัย วิธีการเตรียมตัวมีดังนี้ จัดเงินเดินบัญชีให้เงินเข้าสม่ำเสมอ ตามวันที่ตั้งไว้ในทุกเดือน ทำบัญชีด้วยการรวมเงินเป็นก้อนแล้วฝากเข้าในช่วงเดิมเหมือนกันทุกเดือน เช่น รวมเงินที่ขายของได้ ฝากธนาคารในช่วงต้นเดือน ตั้งแต่วันที่ 1-5 ของทุกเดือน และ อย่าถอนจนหมดบัญชี อย่างน้อยที่สุดคือ ต้องให้มีเหลือติดบัญชีให้พอกับ ยอดที่ผ่อนสินเชื่อรายเดือนได้ เช่น จะกู้เงินธนาคารมาและยอดผ่อนต่อเดือนคือ 15,000 บาท ก็ให้เงินในบัญชีนี้เหลือค้างเอาไว้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท เพื่อให้ธนาคารมองเห็นว่า เราสามารถผ่อนชำระกับธนาคารได้ หากเป็น SME หรือร้านค้าเปิดใหม่ ที่เดินบัญชีแบบนี้ ...