ท่ามกลางโอกาสในการขายสินค้าออนไลน์ก็ยังมีอุปสรรคแฝงอยู่เต็มไปหมด อย่างเช่นสินค้าที่ขายเหมือนกันทุกร้านจนไม่รู้ว่าจะหาจุดเด่นอะไรมาขาย ไหนจะปัญหาจัดการสต๊อก และเรื่องเงินทุน ด้วยการแข่งขันที่สูงในยุคนี้ นายพร้อมพงษ์ พัฒนธีระเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์และ Portfolio ธุรกิจ เอสเอ็มอี ทีเอ็มบี ได้เปิดเผยว่า คนขายของออนไลน์ยังคงมีปัญหาซ้ำๆ 3 เรื่อง คือ จะสร้างรายได้ในปีต่อๆ ไปอย่างไรให้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน จะบริหารค่าใช้จ่ายอย่างไรให้คุ้มที่สุด และจะเอาเงินมาจากไหนเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจให้เติบโตในอนาคต TMB จึงได้ร่วมกับบริษัทวิจัยชั้นนำของประเทศทำการสำรวจผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทยจำนวน 200 คน ที่ขายของ Online ในปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า ร้านค้า Online โดยคละกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งผู้ประกอบการขายของ online ผ่านแพลทฟอร์ม E-Commerce และ ผ่าน Social Commerce (LINE, Instragram และ Facebook) โดยผู้ประกอบการดังกล่าวจะมีหน้าร้านหรือไม่ก็ได้ เพื่อค้นหาปัญหาในทุกมุม ผลการศึกษานี้ได้แบ่งประเด็นหลักออกมาเป็น 5 เรื่องจริงที่ร้านค้าออนไลน์มักเจอ พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1. สินค้าไม่มีจุดแตกต่าง จะขายอย่างไรดี สมมติว่าใครที่กำลังต้องการกล่องรองเท้าแล้วเข้าไปหาสินค้าใน Lazada หรือ Shopee คงจะพบว่ามีสินค้าที่หน้าตาเหมือนกันทั้ง สี ขนาด ราคา ระยะเวลาการจัดส่ง แม้แต่รูปภาพที่ใช้ในการโพสต์ยังเป็นรูปเดียวกันทุกร้าน จึงทำให้ผลการสำรวจพบว่า 60% ร้านค้า Online พบปัญหาขายของที่ไม่มีจุดต่าง ซึ่งเหตุผลก็เป็นสินค้าที่มาจาก Supplier เจ้าใหญ่เจ้าเดียวกัน เพราะเอาเข้าจริงแล้วก็มีอยู่เพียงไม่กี่เจ้า ทำให้หาจุดต่างได้ยากเหลือเกิน หรืออีกกรณีหนึ่งคือ ไม่มีกำลังทุนพอที่จะสั่งผลิตสินค้าในแบบที่ตนเองต้องการจริงๆ ได้ เพราะตัวเล็กเกินไป เชื่อได้เลยว่าร้อยทั้งร้อยต่างก็ใช้กลยุทธ์ ลด แลก แจก แถม ดึงลูกค้าให้เป็นลูกค้าประจำ ...
ทำธุรกิจปวดหัวภายนอกยังดีกว่าปวดหัวภายใน แต่หากเป็นรุ่นลูกที่สืบต่อธุรกิจจากพ่อแล้ว ยังไงก็หนีไม่พ้นต้องเจอ “ปัญหาปวดหัวภายใน” ทั้งเรื่องการบริหารที่มีลูกน้องเป็นคนเก่าคนแก่สั่งงานได้ยาก, ลูกน้องที่ติดพ่อไม่เชื่อฟังคนลูก และอีกหลายอย่างที่ทายาทรุ่นลูกต้องเจอ โดยจากข้อมูลจากงานวิจัยจาก TMB SME Insight ได้เปิดเผยว่า “ปัจจุบันประเทศไทยมีธุรกิจ SME กว่า 3 ล้านราย” ซึ่งเป็นทายาท SME จำนวนกว่า 50% หมายความว่า มากกว่าครึ่งนึงนั้นธุรกิจถูกส่งต่อให้รุ่นลูกบริหารต่อ ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตกว่า 20% ในเขตกรุงเทพฯ ทำให้ GDP พุ่งขึ้นสูงถึง 55% หรือตีเป็นเงิน 2.7 ล้านบาท รุ่นลูกที่มีปัญหาในการบริหารงาน มีหลายประเด็น แต่ประเด็นที่เป็น ปัญหาดราม่ายอดฮิตสำคัญๆ ที่เจอมีหลักๆ อยู่ 9 ข้อ คือ 1. มือใหม่หัดบริหาร “เพราะไม่เคย…เลยทำไม่เป็น” เมื่อทายาทธุรกิจ เข้ามารับช่วงธุรกิจต่อจากครอบครัว โดยที่ไม่เคยฝึกงานและไม่เคยลองทำงานที่ไหนมาก่อน เมื่อจบการศึกษาก็เข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารของบริษัททันที เมื่อรากฐานไม่แน่น ขาด “ประสบการณ์งาน” และ ขาด “ประสบการณ์การบริหารคน” ก็ทำให้บริหารธุรกิจไม่ได้ หรือไม่ราบรื่น จึงต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ (จากการสำรวจพบว่าในจำนวนนี้มีมากถึง 36%) 2. ได้มาแต่ตำแหน่ง “เพราะไม่รู้… เลยไปไม่ถูก” ทายาทธุรกิจหลายๆ คน ไม่เคยได้รับการสอนงาน หรือการเตรียมความพร้อมทางธุรกิจจากรุ่นพ่อแม่ เมื่อไม่มีความรู้ ความเข้าใจ จึงไม่เห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมและไม่สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ เปรียบเหมือนคนที่ได้มาแต่ตำแหน่งบน แต่ไม่รู้ว่ารากฐานเกิดขึ้นมาได้ยังไง (จากการสำรวจพบว่าในจำนวนนี้มีมากถึง 34%) 3. ทำงานเหมือนโดนบังคับให้มาทำ เพราะไม่ได้มีใจรัก… เลยทำไปเฉยๆ ให้จบวัน ทำไปงั้นๆ ให้พ้นมือ จากการสำรวจพบว่า 43% ของทายาทธุรกิจ อยากมีธุรกิจตามความชื่นชอบและแนวคิดของตัวเอง แต่ทว่าต้องจำใจสานต่อธุรกิจของครอบครัว เมื่อไม่มีใจรัก ก็บริหารธุรกิจอย่างไม่เต็มความสามารถ เมื่อประสบปัญหาการแข่งขันหรือการเปลี่ยนแปลง ก็มีแนวโน้มที่จะไม่สามารถสานต่อหรือต่อยอดธุรกิจให้เจริญเติบโตไปกว่าเดิมได้ 4. ...
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี ธุรกิจบริษัทขนาดเล็กแบบ SME นั้นมีความยากลำบากหลายอย่าง ทั้งเงินทุนที่มีจำกัด และไหนจะปัญหาเรื่องคน กว่าจะหาพนักงานเข้ามาช่วยงานกันได้ก็ยากลำบากมาก ส่วนใหญ่พอได้มาก็มาอยู่ด้วยกันไม่นาน เพราะสวัสดิการของบริษัทเล็ก อาจจะดีไม่เท่าบริษัทใหญ่ และเท่านั้นยังไม่จบ ยังมีปัญหาเรื่องเอกสารบัญชีต่างๆ อีกเยอะแยะมากมายไม่ว่าจะขยับทำอะไร ก็ต้องเจอเอกสารกองใหญ่ หลายๆ ครั้งที่ SME ต้องมานั่งทำเองจนเสียเวลาในการหาโอกาสใหม่ๆ ไปเยอะมาก เมื่อย้อนดูจากสถิติแล้วพบว่า “เงินทุน พนักงาน และโอกาส” ปัญหาหลักๆ ของ SME ไทย นางสาวชมภูนุช ปฐมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้า ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี ได้เปิดเผยผลจากการสำรวจพบว่า ปัญหาของ SME ไทยนั้นมีปัญหาอยู่ 3 อันหลักๆ คือ 1.ปัญหาธุรกรรมยุ่งเหยิง เสียเวลามานั่งทำบัญชี : เพราะใน1วัน SME ต้องเจอรายการทั้งรับเงิน จ่ายเงินมากมาย และมาจากหลายช่องทาง ต้องมานั่งไล่ยอดดูอีกว่าจากเจ้าไหน ยอดตรงหรือเปล่า ทำให้เสียเวลามากมาย จากสถิติได้รวมเวลาที่ SME ต้องมานั่งเช็คยอดเงินในบัญชี เมื่อรวมเวลาทั้งหมดพบว่า ใน 1 ปี ใช้เวลาไปมากถึง 26 วัน! ถ้าลดเวลานี้ได้เอาไปใช้หาวิธีเพิ่มโอกาสทางธุรกิจดีกว่า 2.ปัญหาการบริหารบุคคล คนขาด ไม่มีพนักงานมาช่วย ...