ย้อนกลับไปในการก่อสร้างในอดีต ของกลุ่มคนชนชั้นสูงระดับเชื้อพระวงค์หรือขุนนางในสมัยก่อนนิยม ต้องการที่อยู่อาศัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพื่อแสดงถึงความภาคภูมิใจ และภาพลักษณ์อันทรงคุณค่า จึงให้นักออกแบบและวิศวกรก่อสร้าง(ในสมัยนั้น ) ไปแสวงหา “วัสดุที่สวยงามและทรงคุณค่ามากที่สุด” มาก่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัย เพื่อแสดงถึงสถานะที่สูงส่งให้สมฐานะ นักออกแบบและวิศวกรส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ “หินอ่อน” ในการก่อสร้าง เพราะด้วยลวดลาย หลากหลายแบบตามชนิดของหิน ที่สามารถแสดงความองอาจและฐานะได้เป็นอย่างดี และในเรื่องโครงสร้างความคงทนสูง สถาปัตยกรรมต่างๆในอดีตจึงประกอบด้วยหินหลากหลายชนิด แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ถูกยกให้เป็น สุดยอดความงดงามทางธรรมชาติ และหายากมาก ต้องใช้ค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการแปรรูป และขนย้ายหินชนิดนี้เพื่อนำไปก่อสร้างจึงไม่ใช่ใครก็ได้ ที่ได้ครอบครอง หนึ่งในความงดงามระดับโลกโดยฝีมือธรรมชาติหินที่ว่านั้นคือ หินอ่อน “Palissandro Bluette” หนึ่งในหินตามธรรมชาติที่ถูกยกย่องว่าเป็นหินที่มีความงามที่สุดในโลก หายากพบได้แค่ที่เดียวในโลก และเป็นที่ยอมรับในวงการการออกแบบจากสถาปนิกระดับโลก นิยมในเฉพาะกลุ่มชั้นสูงเท่านั้น ตั้งแต่อดีตจนมาถึงยุคปัจจุบัน เพื่อแสดงความโอ่อ่า ทางฐานะ และทรงคุณค่า วิจิตรตระการตา ถึงแม้ในยุคนี้มีเทคโนโลยี “หินสังเคราะห์” ก็ยังไม่สามารถทำเลียนแบบได้เพราะความพิเศษของหินชนิดที่ว่านี้ เมื่อโดนแสงมากระทบ พื้นที่ผิวของหินจะมีการ สะท้อนแสงออกมาเป็นประกายระยิบระยับ คงความเป็น “ซิกเนเจอร์” ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง Palissandro Bluette หินชนิดนี้มาใช้ในงานสถาปัตยกรรมหลากหลายที่ยิ่งใหญ่ และมีความสำคัญระดับประเทศ เช่น พระราชวัง Caserta Campania, ห้องสมุดในราชสำนักพระราชวัง Reggia di Caserta ประเทศอิตาลี เป็นต้น ส่วนในเมืองไทยนั้นก็ได้มีการนำหินชนิดนี้มาตกแต่งเช่นกันอย่างที่บ้านหลวงสาทรราชายุตก์ อาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมของกรมศิลปากรหรือปัจจุบันถูกนำมารีโนเวทให้เป็น เดอะ เฮ้าส์ ออน สาทร ...