5 ข้อที่ควรรู้ ก่อนทำการซื้อ “สลากออมทรัพย์” การออมนั้นเป็นวิธีพื้นฐานที่จะสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งในระยะเวลายาว แต่ถ้าหากคุณเป็นคนที่มีปัญหาเรื่องเงินเดือนไม่ว่าจะเป็น การใช้เงินในแต่ละเดือนที่บางทีก็เดือนชนเดือน บ้างก็เป็นหนี้ข้ามเดือน วันนี้เรามีวิธีการลงทุนเก็บเงินในแบบฉบับของสลากออมทรัพย์ที่คุณควรรู้เพื่อเพิ่มช่องทางการบริหารเงินของคุณ 1. สลากออมทรัพย์เหมาะกับใคร เหมาะกับคนที่ต้องการออมเงิน โดยปกป้องเงินต้น ยอมรับผลตอบแทนที่น้อยกว่า แต่ไม่ต้องการสูญเสียเงินต้น และชื่นชอบการลุ้นรางวัล เพราะถึงแม้ว่าคุณจะไม่ถูกรางวัล แต่เงินต้นก็จะยังไม่สูญหายไป 2. สลากออมทรัพย์หาซื้อได้ที่ไหน ธนาคารของแต่ละธนาคารจะประกาศขายฉลากออกมาเป็นช่วงๆ ผู้ซื้อสามารถเดินไปปรึกษาที่ธนาคารได้เลยว่ามีสลากแบบไหนขายอยู่บ้าง โดยการซื้อนั้นสามารถซื้อได้หลายช่องทางเช่น ธนาคาร ตู้ ATM หรือช่องทางออนไลน์ 3.สลากออมทรัพย์ สามารถเว้นภาษีเงินได้ สำหรับผู้ที่ถูกรางวัลจะได้รับสิทธิ์ในการยกเว้นภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยและเงินรางวัล 4. สลากออมทรัพย์ใช้เป็นหลักประกันกู้ยืมได้ สลากออมทรัพย์สามารถที่จะนำไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินกับทางธนาคารได้ หากคุณมีปัญหาทางการเงิน 5. เงื่อนไขของสลากออมทรัพย์มีอะไรบ้าง ควรศึกษาเงื่อนไขก่อนการลงทุนออมเงิน ศึกษาระยะเวลา ศึกษาเงื่อนไขในการยกเลิกก่อนกำหนด อ้างอิง : https://aommoney.com/stories/กองบรรณาธิการ/5-ข้อที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้-ก่อนซื้อ-สลากออมทรัพย์/3052#kcyazrid66 ...
5 คำแนะนำทางการเงินเสริมความมั่นคงมั่งคั่ง ช่วงโควิด-19 ก่อนจะนอนก็คิดถึง เมื่อหลับตายังเก็บไปฝันถึงอีก วน ๆ เวียนๆ อยู่ในหัวตลอดเวลา เรื่องกวนใจที่คนส่วนใหญ่เจอก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง การเงินนี้ล่ะ ปัญหากวนใจ ยิ่งเวลาผ่านไป นานวันเข้า หากเราไม่มีการบริหารจัดการความมั่งคั่งเพื่อเพิ่มความมั่นคงเราอาจจบไม่สวยแน่ ๆ บางคนอายุมากแล้วยังไม่มีเงินเก็บ สัญญาณอันตรายเริ่มดังชัดขึ้น ลองดู 5 คำแนะนำทางการเงิน ว่ามีอะไรกันบ้าง คำแนะนำข้อที่ 1 : ก่อนจะวางแผนทางการเงินได้..ต้องสำรวจตัวเองก่อนเสมอ การวางแผนทางการเงิน เหมือนการวาดภาพชีวิตในอนาคตของเรา ดังนั้นควรสำรวจตัวเองก่อนว่าเรามีสินทรัพย์เท่าไหร่ มีหนี้สิน หรือภาระที่ต้องรับผิดชอบทั้งหมดเท่าไหร่ เมื่อสำรวจเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ควรจะได้ก็คือ “เงินเหลือเก็บ” ในแต่ละเดือน คำแนะนำข้อที่ 2 : หาเงินสดที่เหลือ..ว่าในแต่ละเดือน ขาดหรือเกินมาเท่าไหร่ ลองคำนวณหาเงินสดในแต่ละเดือน แล้วนำมาหักลบกับค่าใช้จ่าย เหลือเก็บเท่าไหร่จะได้นำมาคำนวณสู่คำแนะนำที่ 3 คำแนะนำที่ 3 : จดบันทึกค่าใช้จ่าย ถ้าไม่อยากเกิดอาการ “เงินช็อต” หรือหมุนเงินไม่ทันในสิ้นเดือนนั้น เราต้องวางแผนล่วงหน้าเพื่อเก็บเงินสะสม โดยเราต้องจดบันทึกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในปัจจุบัน และอนาคตของเราออกมา ไม่ว่าจะค่าประกันชีวิต ค่าบ้าน ค่าเดินทาง หรือค่าดำรงชีวิตในแต่ละวัน โดยในปัจจุบันมีแอปพลิเคชั่นที่ช่วยส่งเสริม ให้หันมาวางแผนทางการเงินกันมากขึ้น ...