เท่าไรถึงเรียกว่า “พอได้แล้ว” หลังจากนี้ใช้ชีวิตแบบมีความสุขอย่างเดียว จะมีได้ในแบบนี้ต้องดูตามนี้
1. จะพอได้ก็ต่อเมื่อมี “รายได้” มากกว่า “รายจ่าย”
– กฎเหล็กข้อแรกของการพอได้ ก็ต่อเมื่อ คุณมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
– คนที่มีเงินเดือน 100,000 แต่ดันต้องใช้เงินเดือนละ 150,000 นั้นยังไม่นับว่าจะพอได้ หรือมีเงินเดือน 30,000 แต่ภาระรวมๆ กันแล้วอีกหลายแสน ต่อให้สามารถจ่ายได้สบายๆ ทุกเดือน ก็ยังหยุดไม่ได้ เพราะยังมีภาระอยู่ หลักที่สำคัญ เขาจึงบอกว่า ควรจะซื้อแต่ของที่จำเป็น ของที่เป็นทรัพย์สิน เพราะมูลค่ามันเพิ่มเรื่อยๆ ต่อให้มันเป็นภาระ แต่ก็ยังทำกำไรจากมันได้
2. จะพอได้ก็ต่อเมื่อวาง “แผนเงินให้พอใช้ถึงอายุ 99 ปี”
– คนแก่ที่สบาย หรือ คนที่ประสบความสำเร็จจนรวยมากๆ ส่วนใหญ่ “วางแผน” ครับ ใช้เงินแต่พอดีแต่ฐานะ เก็บไว้สำหรับอนาคต ไม่ใช่เอาเงินในอนาคตมาใช้เป็นประจำ คุณอาจมีชีวิตที่ดีในตอนนี้ แต่ต้องใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างลำบากแล้วการหารายได้เป็นเรื่องยากขึ้นนะครับ สำหรับคนอายุเยอะๆ ดังนั้น การวางแผนให้ไปถึงอายุเฉลี่ยของคนเราคือ 99 ปีจึงเป็นหนทางที่ปลอดภัยกว่าครับ (ไม่คิด 75 ปีเพราะมันยังไม่ได้เผื่อครับ)
3. จะพอได้ก็ต่อเมื่อ “ไม่มีหนี้” ปิดทุกความเสี่ยง “มีประกัน” ครบแล้ว
– ไม่มีหนี้ หรือถ้าหากมีหนี้ก็จงมีทรัพย์สินที่พร้อมปิดหนี้ได้ทันที หากอะไรฉุกเฉินขึ้นมา การมีหนี้ไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ ที่เห็นหลายๆบริษัทมีหนี้อยู่เยอะก็จริง แต่มีทรัพย์สินหรือมูลค่าบริษัทมากกว่านั้น ในแบบบุคคลก็สามารถนำหลักการนี้มาใช้ได้ครับ ทำหนี้ให้น้อยที่สุด แต่ถ้าต้องมีก็เอาเป็นหนี้ดี ที่เอามาทำเพื่อต่อยอดสิ่งต่างๆ และอีกข้อนึง คือคุณต้องมีประกันด้วย เพื่อปิดความเสี่ยง ทั้งหมด
(โรคภัย สุขภาพ การเสียชีวิต ฯลฯ) จะช่วยให้คุณหยุดแบบสบายใจมาก หรือในระหว่างที่กำลังเดินทางทุกช่วงชีวิต จะอุ่นใจขึ้นครับ เมื่อมีประกัน
4. จะพอได้ก็ต่อเมื่อ คุณไม่ต้องเดินหาเงินเอง แต่เป็นเงินที่ต้องเดินมาหาคุณ
– หลายๆคนยังต้องทำงานเพื่อหาเงิน เมื่อไหร่ที่คุณหยุดทำงาน นั่นหมายความว่าคุณจะไม่มีเงิน ในข้อนี้คุณเลยต้องหาวิธีที่จะทำให้คุณมีเครื่องผลิตเงินแม้ในวันที่หยุดทำ เช่น การลงทุนในหุ้น กองทุน อสังหา หรือการเปิดธุรกิจ และถือทรัพย์สินที่ยังคงทำรายได้ให้คุณได้ ตัวอย่างง่ายๆ เช่นการทำ Youtube แล้วมีโฆษณามาตลอด อันนี้ก็นับว่าเป็นทรัพย์สินแบบนึงครับ สุดท้ายแล้วทำอะไรก็ได้ที่เงินจะเข้ามาหาคุณเอง แม้ในวันที่คุณหยุดทำครับ
5. จะพอได้ก็ต่อเมื่อ หยุดหาเงินได้แล้วยังมี “เวลา” เหลือ
– เมื่อคุณทำเงินได้แล้วอย่าลืมคิดถึงเรื่องเวลาด้วย ต้นทุนในการทำเงินของคนส่วนใหญ่แล้วนอกจากแรงและความรู้แล้วก็มี “เวลา” ที่สำคัญที่สุด ความรู้เรียนรู้กันได้ แรงทำบ่อยๆคุณก็ทำได้มากขึ้นเอง แต่เวลาไม่ว่าจะทำยังไงคุณก็มีเวลาในชีวิตเท่าเดิมเวลาของทุกคนมีจำกัด เงินช่วยซื้อเวลาได้ เช่นขึ้นทางด่วนหลบรถติด เอาคนเก่งมาช่วยทำงานให้งานเสร็จเร็วขึ้น ฯลฯ เวลาคือทรัพย์สินประเภทนึง ยิ่งประหยัดมาก ก็จะได้รับผลของเวลาได้เร็วขึ้นครับ
6. จะพอได้ก็ต่อเมื่อ เป้าหมายในชีวิตของคุณไม่ใช่เงินอีกต่อไป
สุดท้าย เมื่อคุณมีเงินมากพอ เป้าหมายของคุณจะเปลี่ยนไป คุณคงเคยเห็นคนรวยที่ไปเที่ยวรอบโลก ไปซื้องานศิลปะแพงๆ หรือแม้กระทั่งไปค้นหาความหมายของชีวิตที่วัด ฯลฯ เป้าหมายของคุณจะเปลี่ยนไป คุณจะไม่มานั่งกังวลเรื่องเงินอีกต่อไปครับ