ทุกวันนี้ทุกคนคงคุ้นเคยกับรถมอเตอร์ไซค์บริการเดลิเวอร์รี่กันถ้วนหน้า
-ถ้าไม่เคยใช้บริการเองอย่างน้อยๆก็ต้องเคยเห็นขับผ่าน หรือไม่ก็เห็นมานั่งรอหน้าร้านอาหารที่เรากำลังไปทาน
กระแสเหล่านี้ไม่ใช่แค่ในเมืองไทยที่บูม แต่ในต่างประเทศอย่างไต้หวันก็บูมหนักมากไม่แพ้กัน
จากข้อมูลที่ใต้หวันแอพส่งอาหาร 2 รายใหญ่ที่ชื่อ Foodpanda กับ UBER Eats มีผู้ขับรถกว่า 60,000 คน
แต่สิ่งที่น่าสนใจคือวัยรุ่นเพิ่งจบใหม่หรือทำงานได้ไม่กี่ปี คืออายุ 20 กว่าๆ ก็ยังเลือกทำงานนี้มากกว่าไปทำงานออฟฟิศ
เหตุผลเป็นเพราะได้รายได้สูงกว่าถึง 2 เท่าตัว! อย่างเช่นตัวอย่างรายได้ของคนจบปริญญาตรีของ “ชาวไต้หวัน” จะอยู่ที่ 40,000 บาท
จากการสอบถามหนุ่มชาวไต้หวันคนหนึ่งอายุ 26 ปี ที่ขับรถส่งอาหารเดลิเวอรี่ เขาบอกว่ารายได้โดยเฉลี่ยสูงถึง 70,000 บาทเลยทีเดียว
คนไทยเราเองก็หันมาขับรถเดลิเวอรี่กันเยอะ แบรนด์ขึ้นชื่อก็เห็นจะเป็น Grab, Line Man และยังมีแบรนด์ใหม่ GET ที่เพิ่งเกิดแต่ดังเปรี้ยงปร้าง
จุดเริ่มต้นบางคนก็แค่ขับเป็นงานเสริม ขับหลังเลิกงานบ้าง เสาร์-อาทิตย์บ้าง แต่บางคนก็ขับเป็นอาชีพหลัก
ซึ่งบางคนได้รายได้ 20,000-30,000 หมื่นต่อเดือนเลยทีเดียว
ก็เพราะบริษัทให้เลือกก็เยอะ คนใช้บริการก็มาก และอย่าลืมว่าไม่ได้มีแค่รับส่งอาหารอย่างเดียว ส่งคน ส่งของก็ได้
สำหรับใครที่ต้องการขับเดลิเวอรี่บ้างก็เป็นโอกาสดีไม่น้อย แต่ควรจะพิจารณาค่าตอบแทนสักนิดว่าจะได้มากกว่าเงินเดือนที่เราได้รับอยู่ในตอนนี้หรือไม่
ยกตัวอย่างค่าตอบแทนของ Grab รายได้จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ค่าบริการส่งอาหารต่อครั้ง, ค่าส่งที่เก็บเป็นเงินสดต่อครั้ง, ค่าส่งเพิ่มตามระยะทาง
โดยรายได้จะคิดเป็นคอมมิชชั่นเป็นเปอร์เซ็นต์ % (แต่อย่าลืมว่าค่าบริการต่าง ๆ ยังต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%)
แต่ถึงแม้รายได้ของอาชีพขับรถส่งเดลิเวอรี่ จะดีแค่ไหน แต่ยังไงก็ต้องอย่าประมาท ต้องมองอนาคตระยะยาวด้วย
เพราะเมื่อรายได้มันดี คนก็จะแห่ไปขับกันมากขึ้น คำถามคือแล้วรายได้จะยังมั่นคงอยู่ไหม จะเป็นไฟไหม้ฟางหรือเปล่า
ฉะนั้นไม่ว่ารายได้จากการขับรถเดลิเวอรรี่มากเท่าไหร่ ก็ยังคงต้องวางแผนทางการเงินให้เหมาะสม จะได้ไม่สะดุด
และสุดท้าย ก่อนทำอาชีพอะไรอย่าลืมมองอนาคต ถ้าทำแล้วไม่เติบโต อยู่กับที่ อาจจะต้องมองเป็นงานรองแทน หรือทำแค่ช่วงหนึ่งเพื่อเก็บสะสมทุน และไปทำอย่างอื่นที่มีการเติบโตได้ในอนาคต…
#ไปให้ถึง100ล้าน
#ขับรถส่งอาหาร