ในยุคปัจจุบันที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ มีความสำคัญมากขึ้นสำหรับทั้งองค์กรและบุคคล คนที่คิดเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถมองเห็นภาพรวมของสถานการณ์ เข้าใจปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ และกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาหรือการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
“Rich Horwath เป็นผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Strategic Thinking Institute ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้นำ 2,586 คนจากอเมริกาเหนือ ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย พื่อทำความเข้าใจความท้าทายในโลกแห่งความเป็นจริงที่พวกเขาเผชิญในการพัฒนา สื่อสาร และดำเนินกลยุทธ์ของพวกเขา
โดยสิ่งที่เขาค้นพบจากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของผู้นำเหล่านั้นเพื่อสร้าง “ความคิดเชิงกลยุทธ์” ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกคือ…
1. ความเฉียบแหลมทางความคิด (Acumen)
ความสามารถในการเข้าใจสถานการณ์ สร้างแนวคิดใหม่เพื่อเปลี่ยนจากปัจจุบันไปสู่สถานะในอนาคตที่ต้องการ และแก้ไขความท้าทายเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ ความเฉียบแหลมประกอบด้วยองค์ประกอบหลักสามประการคือ
O การตระหนักรู้บริบท (Context awareness) : ช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมของสถานการณ์ ทั้งสถานการณ์ภายใน (วัฒนธรรม จุดประสงค์ กระบวนการ ฯลฯ) และสถานการณ์ภายนอก (แนวโน้มตลาด พฤติกรรมลูกค้า คู่แข่ง ฯลฯ) ช่วยให้คุณจัดสรรทรัพยากรไปสู่เป้าหมายได้อย่างเหมาะสม
O การค้นหาข้อค้นพบ (Insight) : คือ ความสามารถในการเรียนรู้ จากการตระหนักรู้บริบท สิ่งนี้ต้องการความ อยากรู้อยากเห็น และมุมมองการสำรวจ ลักษณะสำคัญของนักคิดเชิงกลยุทธ์คือการมีวินัยในการ บันทึก แบ่งประเภท แบ่งปัน และไตร่ตรอง ข้อค้นพบอย่างต่อเนื่อง
O นวัตกรรม (Innovation) : คือการนำเอา การตระหนักรู้บริบท และข้อค้นพบ ของคุณไปสร้าง คุณค่าใหม่ มักเกิดจากการคิดเพื่อ เอาชนะความท้าทาย หรือ แก้ไขปัญหา
2. การจัดสรร (Allocation)
ศิลปะแห่งการวางแผน นักคิดเชิงกลยุทธ์จะกำหนดเป้าหมาย จัดสรรทรัพยากร คำนึงถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนเมื่อตัดสินใจ และสร้างความได้เปรียบด้วยการมอบคุณค่าเหนือกว่า ซึ่งกุญแจแห่งการวางแผนที่สำเร็จต้องใช้สิ่งเหล่านี้
O ทักษะการโฟกัสทรัพยากร (Ability to focus resources) : ทรัพยากรมีจำกัด อย่ากระจายจนบางเกินไปจนส่งผลต่อเป้าหมาย! นักคิดเชิงกลยุทธ์ต้องกล้าตัดสินใจและจัดสรรทรัพยากรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์
O การตัดสินใจ (Decision making) : แทนที่จะมองหาเพียงทางเลือกเดียว นักคิดเชิงกลยุทธ์จะสร้างทางเลือกหลากหลาย วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ของแต่ละทางเลือกก่อนตัดสินใจ
O สร้างความได้เปรียบ (Competitive advantage) : แก่นของกลยุทธ์คือการสร้างผลประโยชน์ ความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง เกิดจากการจัดสรรทรัพยากรและกิจกรรม ส่งมอบคุณค่าที่เหนือกว่าให้ลูกค้า เมื่อได้เปรียบแล้ว พัฒนาต่อเนื่องเพื่อให้เหนือนำคู่แข่งเสมอ
3. การกระทำ (Action)
O การกระทำ (Action) : การออกแบบกลยุทธ์ธุรกิจเป็นเพียงก้าวแรก วิธีการลงมือทำต่างหากที่ชี้วัดความสำเร็จของคุณ สิ่งนี้ต้องการความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมาย และการพัฒนาประสิทธิภาพส่วนตัว โดยสิ่งที่ควรทำคือ
O การร่วมมือ (Collaboration) : ความสามารถในการทำงานกับผู้อื่นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล และข้อค้นพบ ซึ่งช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของคุณไปสู่เป้าหมายที่กำหนด ทักษะการสื่อสาร พูด เขียน ภาพ เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงานร่วมกัน
O ลงมือทำ (Execution) : การนำทรัพยากรไปใช้ อย่างมีวินัย เพื่อบรรลุเป้าหมาย สิ่งนี้ต้องการ ความมุ่งเน้น และวินัย เพื่อจัดการกับสิ่งรบกวน เสียงรบกวน และสิ่งล่อใจต่าง ๆ ที่อาจทำให้คุณเบี่ยงเบนออกนอกเส้นทาง แม้การลงมือทำมักถูกมองว่าเป็นเรื่อง การปฏิบัติ แต่ก็มีส่วน การวางกลยุทธ์ อยู่ด้วย เพราะข้อค้นพบที่ไม่ได้นำไปใช้จริงจะไร้ค่า ส่งผลให้คุณมอบคุณค่าได้น้อยลง
O พัฒนาตัวเอง (Personal performance) : การบริหาร เวลา พลังงาน ทัศนคติ ของตัวคุณเอง เพื่อไล่ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ การเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ต้องการ ความยืดหยุ่น ในการปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และความคล่องแคล่วทางความคิด ในการเอาชนะความท้าทาย และสร้างเส้นทางใหม่ ในการบรรลุเป้าหมาย
การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในทุกมิติของชีวิต ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทใด ความสามารถในการคิดอย่างรอบคอบ เข้าใจสถานการณ์รอบตัว และมองหาแนวทางการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เขียนและเรียบเรียงโดย 100WEALTH
(Reference in comment)
—
Inspire to Scale Up
“สู่ความสำเร็จแบบยุคใหม่”
100WEALTH l ไปให้ถึง100ล้าน
#Doit
#100WEALTH
#ไปให้ถึง100ล้าน
#SERVgroup