เทคนิค การใช้เงินดูดเงินแบบทำเองได้ 7 วิธี

คนที่มีเงินส่วนใหญ่จะไม่ถือเงินไว้เฉยๆ
เทคนิค การใช้เงินดูดเงินแบบทำเองได้ 7 วิธี
.
.
โลกของการเงินเป็นอะไรที่ไม่แน่นอนเพราะปัญหาเงินเกิดขึ้นแทบจะทุกปีส่งผลให้ค่าครองชีพในประเทศพุ่งสูงขึ้น ของใช้ของกินก็แพงขึ้นตาม ๆ กัน นอกจากนี้ยังมีโรคระบาดที่ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลย กี่ระลอกก็ไม่มีวันหายไป ถ้าใครเตรียมความพร้อมไว้แต่เนิ่น ๆ ก็ย่อมผ่านสมรภูมิเหล่านี้ไปได้
.
การวางแผนเรื่องเงินคือสิ่งที่ทุกคนควรจะทำไว้แต่เนิ่น ๆ เพราะถ้ามีอะไรฉุกเฉินขึ้นมาอย่างน้อยก็สามารถช่วยเหลือตัวเองไว้ได้ นอกจากเอาเงินไปฝากธนาคารแล้ว หากคุณอยากได้อะไรที่มากกว่านั้นแทนที่จะถือเงินไว้เฉย ๆ ให้มันเหนื่อย ทำไมไม่ลองวางเงินลงทุนเพื่อให้มันทำเงินต่อด้วยตัวมันเอง
.
(1) โลกนี้มี “เงินเฟ้อ” ถือเงินไว้เฉย ๆ
ค่าเงินก็ลดลงโดยเฉลี่ยได้ประมาณ 2% ต่อปี
.
ซึ่งหมายความว่าถ้าหากเราถือเงินเฟ้อไว้จะทำให้เราซื้อของได้น้อยลงด้วยจำนวนเงินเท่าเดิม เพราะเงินเฟ้อถูกยกให้เป็นความเสี่ยงสำคัญเรื่องหนึ่ง สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์แทบจะทุกประเภท
.
ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเป้าหมายของเงินเฟ้อ ไว้ที่ 2.5% (± 1.5%) หรือให้อยู่ในกรอบ 1-4%
.
(2) มี “ถังน้ำหลายใบ” ย่อมช่วยลดความเสี่ยงได้ดีกว่า
.
ไม่ควรมีรายได้เพียงช่องทางเดียว เพราะแม้ธุรกิจเดียวจะใหญ่แค่ไหนก็ล้มได้ การมีรายได้หลายทางจะช่วยลดความเสี่ยงเหมือนกับการมีถังน้ำสำรองหลาย ๆ ใบช่วยกักเก็บน้ำใช้ในยามวิกฤต
.
(3) หาเงินเก่งไม่สำคัญ..ว่า “เก็บเงินเก่งแค่ไหน”
.
ยิ่งรายได้สูง โดยทั่วไปพฤติกรรมการใช้เงินก็สูงตามด้วย ควรเก็บเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉินบ้าง อย่าลืมว่าเงินฉุกเฉินคือต้องใช้ระยะเวลาในการเก็บ ไม่ใช่เกิดวิกฤติแล้วค่อยเริ่มเก็บเงินฉุกเฉินทันที โดยปกติจะแนะนำให้สำรองเงินไว้ที่ประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน
.
(4) “เงินต่อเงิน” รู้จักลงทุน เริ่มก่อนก็ได้ก่อน
.
ให้เงินทำงานแทนเรา ซึ่งเงินนั้นอาจเป็นเงินที่เราแบ่งเก็บไว้ทุกเดือน ที่สามารถนำไปต่อยอดได้
เช่น มีเงินเดือน 20,000 บาท ทำงาน 20 วันต่อเดือน แสดงว่ามีรายได้เฉลี่ย 1,000 บาทต่อวัน ถ้าเลือกเก็บเงินเดือนละ 1,000 บาท (5% จากรายได้) เวลา 5 ปี จะมีเงินเก็บ 60,000 บาท แต่ถ้าเปลี่ยนนำเงินสะสมไว้ในที่ที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น เช่น ผลตอบแทน 2% เงินของเราจะเติบโตขึ้นเป็น 63,047 บาท เพิ่มขึ้นตั้ง 3,047 บาท โดยเงินช่วยเราทำงานถึง 3 วัน เลยทีเดียว
.
(5) “บัตรเครดิตไม่ใช่ผู้ร้าย” ถ้าใช้ให้เป็น
.
หัดเป็นคนฉลาดในการใช้บัตรเครดิต เพราะมีทั้งโปรโมชั่นดี ๆ จ่ายครบตรงตามเวลา อย่ารูดบัตร ถ้าไม่มีเงินสดในกระเป๋าตังจะจ่ายค่าสินค้านั้นอยู่แล้ว ซื้อเฉพาะของจำเป็นที่มีเงินจ่าย ถ้าฝ่าฝืนก็ขอให้ยกเลิกบัตรเครดิตทิ้งทั้งหมด เพราะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะสร้างหนี้เสียได้ในอนาคต
.
(6) อสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว หุ้นก็เช่นกัน เรื่องที่น่ากลัวที่สุดของข้อนี้ คือ “การลงทุนแบบไม่เข้าใจมากกว่า”
.
ให้ทบทวนและทำความเข้าใจกับตัวเองว่าก่อนการลงทุนนั้น เรามี “เป้าหมาย” คืออะไร จากนั้นค่อยมาพิจารณา “เงื่อนไข” ในการลงทุนต่าง ๆ เช่น เรารับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ซื้อหนังสือมาศึกษาหรือฟังกูรูเพิ่มเติม รู้จัก “เครื่องมือในการลงทุน” เลือกการลงทุนประเภทไหน ทั้งหุ้นสามัญ หุ้นกู้ พันธบัตร กองทุน หรือแม้กระทั่งทองคำ และอื่น ๆ
.
เมื่อรู้จักเครื่องมือต่าง ๆ แล้ว ก็ต้อง “รู้จักจังหวะลงทุน” เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอ
.
(7) “การวางแผนเกษียณ” คือ หน้าที่ของทุกคน
.
เราไม่ได้เกิดมาพร้อมคู่มือชีวิต การเลือกวางแผนชีวิตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และวัยเกษียณนั่นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น อย่าลืมเตรียมพร้อมด้านการเงินกับเวลาที่กำลังจะมาถึง
.
ถึงแม้ว่าในระบบการศึกษาอาจไม่ได้สอนเรื่องการเงินเพื่อเตรียมพร้อมเด็กที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต แต่เรื่องเหล่านี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ ความรู้นอกห้องเรียนไม่ใช่แค่เรื่องข้อมูลอย่างเดียว แต่รวมถึงประสบการณ์อีกด้วย
.
คำว่า “เก็บหอมรอมริบ” อาจใช้ได้ในยุคปัจจุบันแต่มันไม่ทันใจในยุคโลกดิจิทัล ถ้าหากอยากได้รายได้ที่เพิ่มขึ้น ลองศึกษาช่องทางใหม่ ๆ ที่เข้ามาในชีวิต เปิดโอกาสให้กับตัวเองได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตัวเองไม่เคยรู้และลงมือทำเพื่อประโยชน์ของตัวเอง
.
เรียบเรียงโดย 100WEALTH
.
#MoneyandInvestment
#100WEALTH
#ไปให้ถึง100ล้าน
#SERVgroup