ตอนเริ่มเต้นทำงาน คนสองคนตั้งใจเก็บเงินเหมือนกัน จนอายุ 30 คนสองคนนี้มีปลายทางที่ต่างกัน เพราะมีเคล็ดลับในการใช้เงินต่างกัน
ตอนเรียนจบใหม่…
เคล็ดลับ คนแรก : อยากมีเงินเก็บ แต่ เพิ่งเริ่มต้นทำงาน รายได้ยังน้อยค่าใช้จ่ายยังไม่พอเลย ไม่รู้ว่าจะหักเก็บได้ยังไงเลยผลัดไปก่อน
เคล็ดลับ คนที่สอง : ขอใช้แนวคิดพื้นๆ “รายรับ – เงินออม = รายจ่าย” เงินเดือนไม่เยอะ ขอหักออมแค่ 500 ก่อนแล้วกัน
ทำงานมาสักพัก…
เคล็ดลับ คนแรก : อยากมีเงินเก็บ ทำงานมาสักพักแล้ว แต่ตอนนี้มีหนี้บัตรเครดิตผ่อนของอยู่ 1 รายการ ขอใช้หนี้หมดก่อนค่อยเริ่มเก็บแล้วกัน
เคล็ดลับ คนที่สอง : หักเก็บ 5% จะเอาไว้ซื้อของที่อยากได้ แต่พอถึงยอดที่สามารถซื้อได้ ก็หมดอารมณ์อยากได้ เลยนำเงินไปซื้อกองทุน
ตอนมีโทรศัพท์รุ่นใหม่ออก…
เคล็ดลับ คนแรก : อยากมีให้ได้ ถึงของเก่ายังไม่พัง แต่สามารถหาเหตุผลดีๆได้เป็น 10 ข้อ เพื่อสนับสนุนว่าซื้อของใหม่ ดีกว่า
เคล็ดลับ คนที่สอง : อยากซื้อแต่อดทนใช้ต่อไปก่อน หาเหตุผลเพื่อรอรุ่นหน้าที่ดีกว่า ถ้ายังไม่พังคามือไม่ซื้อใหม่
ตอนอยากมีรถยนต์คันแรก…
เคล็ดลับ คนแรก : ไม่มีเงินก้อนก็ดาวน์น้อยๆ แล้วค่อยผ่อนหนักๆนานๆ ฝากชีวิตไว้กับอนาคตยังไงเงินเดือนก็ขึ้น คิดว่าโบนัสออกค่อยหักเก็บเป็นก้อน
เคล็ดลับ คนที่สอง :ใช้รถสาธารณะไปก่อน พร้อมกับเก็บเงินไปพลางๆ ก่อน ถึงเวลาจริงซื้อมือสองสภาพดี ก็ประหยัดไปเป็นแสน
พอตอนอายุกำลังจะ 30…
คนแรก : “…ยังไม่มีเงินเก็บสักบาท มีค่าผ่อนรถยนต์ ค่าผ่อนมือถือ ค่าเทอมเรียนต่อโท หักค่าใช้จ่ายส่วนตัวแล้วสุดท้ายปลายเดือนหมดพอดีเลย…”
เป็นความรู้สึกเสียใจปนเศร้านะ ถ้าเงินที่หามาหมดไปกับสิ่งของที่อยากได้ไปหมด
ส่วนคนที่สอง : “…ไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้ เพราะตลอดเวลาที่ทำงานมาต้องอาศัยความมานะ อดทน อดกลั้น ต่อสิ่งเร้าแบบสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า รถยนต์ หริอทริปไปเที่ยวต่างๆ อยากได้เหมือนเพื่อนทุกอย่าง แต่ไม่เปรียบเทียบความสำเร็จของคนอื่น สุดท้ายจึงมีเงินเก็บ…”
วิธีของสองคนนี้ทำให้เห็นว่า อายุเท่าไหร่ก็สามารถเก็บได้ เงินเดือนเท่าไรก็สามารถเก็บได้
แต่สำคัญคือต้องหาวิธีเอาชนะสิ่งเร้า และที่สำคัญไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น โฟกัสที่ทางของเราแล้วมันจะไปถึงเอง
#ไปให้ถึง100ล้าน