สิ่งสำคัญในการสร้างรายได้ ไม่ใช่แค่ “ได้เท่าไหร่” แต่ต้องคิดควบคู่กับ “ได้เมื่อไหร่”

เงินก้อนใหญ่ที่ได้แล้วจบ กับเงินก้อนเล็กที่ได้ช้าแต่มีเรื่อย ๆ เพื่อคอยเติมเงินสดในกระเป๋า ทำมันให้สมบูรณ์แบบในทุกงาน แต่ใช้เวลาช้าเป็นวัน ๆ จนไม่ได้ทดลองทำงานอื่น หรือทำงานชิ้นเล็ก ๆ ให้ดีตามมาตฐานแล้วเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ

ระหว่าง 2 อย่างนี้ คุณคิดว่าใครจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่ากัน ?

คุณโนงุจิ มาฮิโตะ ผู้เขียนหนังสือ ทำงานยังไงให้คุณมีมูลค่าสูงสุดในองค์กร ได้บอกว่าหลักในการสร้างเงินที่ดีนั้น “การจะสร้างรายได้ไปจนถึงเมื่อไหร่” มีสำคัญไม่แพ้ไปกว่า “การจะสร้างรายได้ได้เท่าไหร่” เพราะถ้าเราวางแผนให้เงินไหลเข้ากระเป๋าในระยะยาวได้มากเท่าไหร่ ก็ย่อมได้ผลตอบแทนที่ปลายทางเยอะกว่าการหวังแค่เงินก้อนในระยะสั้นที่คาดเดาไม่ได้เลยว่าจะเก็บไปได้ถึงวันไหน คุณโนงุจิได้ยกตัวอย่างเรื่องมูลค่าสินค้าเปรียบเทียบกับเวลาให้เห็นภาพว่า

สมมติร้าน ก ต้นทุนสินค้าราคา 100 เยน ตั้งขายในราคา 110 เยน เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ปีหน้า 
ส่วนร้าน ข ต้นทุนสินค้าราคา 100 เยน ตั้งขายในราคา 109 เยน เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้เดือนหน้า 

ถ้าดูแค่ตัวเลขแบบผ่าน ๆ เราคงคิดว่าร้าน ก ดูมีรายรับเข้ามามากกว่า แต่ถ้าเราคิดในแง่ดอกเบี้ยเปรียบเทียบกับมูลค่าและเวลาแล้ว ปรากฎว่า… ร้าน ข กลับมีรายรับเข้ามาได้มากกว่า เนื่องจากต้นทุน 100 เยนของร้าน ก จะกลายเป็น 110 เยนในปีหน้า นั้นเท่ากับว่าได้ดอกเบี้ยปีละ 10% 
ในขณะที่ร้าน ข เพิ่มจาก 100 เยนเป็น 109 เยนในเดือนหน้า เท่ากับว่าได้ดอกเบี้ยเดือนละ 9% หรือถ้าเปรียบเทียบเป็นปีแล้วก็เท่ากับ 108%  ถ้าคิดในมุมมองร้าน ข จึงถือว่าฉลาดไม่น้อย เพราะตอนเริ่มต้นอาจดูเป็นเงินก้อนน้อยที่ได้ไว แต่เมื่อเวลาผ่านไป แล้วลองเปรียบเทียบกับร้าน ก ด้วยจำนวนเวลาหนึ่งปีเท่ากัน กลับมีเงินเข้ามามากกว่าเป็นเท่าตัว นอกจากนี้ แนวคิดเรื่องดอกเบี้ยยังเอามาใช้ในการเพิ่มมูลค่าให้กับปัจจุบันของตัวเราเองได้อีกด้วย เพราะแนวคิดของร้าน ข บอกให้รู้ว่า ยิ่งเราสร้างกระแสเงินสดได้เร็วเท่าไหร่ มูลค่าของคุณก็จะเพิ่มขึ้นมากไปด้วยตามระยะเวลา โดยผู้เขียนเปรียบเทียบกับการทำงานไว้ว่า เพียงทำงานให้ได้ตามกำหนดเวลา ก็ได้เปรียบอย่างยิ่งต่อการเพิ่มมูลค่าของคุณแล้ว เพราะถ้าเราทำงานเสร็จได้เร็ว มันก็หมายความว่าเราจะได้ลองทำงานชิ้นต่อไปต่อ แม้ว่างานชิ้นเก่าอาจจะไม่ได้ดีเต็มร้อย ก็เก็บสะสมเป็นประสบการณ์ไว้ แล้วนำมันไปทดลองใช้กับงานถัดไปดีกว่า ซึ่งทำให้เรามีโอกาสได้จับงานที่หลากหลายขึ้นในระยะยาว แน่นอนว่าเวลาเป็นเงินเป็นทองจริง ทีนี้ก็อยู่ที่ว่าเราจะจัดการรายได้ยังไง ให้มีกระแสเงินสดไหลเข้ามาได้ตลอดเวลา เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวเองได้เลยในปัจจุบัน แล้วตบทรัพย์ก้อนใหญ่อีกครั้งในอนาคต 

เขียนและเรียบเรียงโดย 100WEALTH

———

100WEALTH
สังคมคนทำธุรกิจขนาดใหญ่
มาร่วมเติบโต ไปกับผู้ร่วมเดินทางอีกกว่า 1 ล้านคน ทั้ง เจ้าของธุรกิจ, SME, ขายของออนไลน์, Startup, Entrepreneur และนักลงทุน ด้วยเป้าหมายเดียวกัน “ไปให้ถึง100ล้าน”
#Money
#100WEALTH
#ไปให้ถึง100ล้าน
#SERVgroup

อ้างอิง
– หนังสือ ทำยังไงให้คุณมีมูลค่าสูงสุดในองค์กร เขียนโดย โนงุจิ มาฮิโตะ