เมื่อรัฐบาลสิงคโปร์กำลังเดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเต็มกำลัง หลังจากนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้รับอำนาจเต็มจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และได้มีนโยบายใหม่ๆ โดยเฉพาะนโยบายทางเศรษฐกิจ เพราะรัฐบาลประเมินว่าเศรษฐกิจโลกหลังสถานการณ์โควิด-19 จะเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยหลักการของรัฐบาลชุดใหม่คือต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเร็วที่สุด ประกาศมาตรการทางเศรษฐกิจที่สำคัญภายใน 1 เดือน หลังรัฐบาลชุดใหม่เข้ามารับตำแหน่ง นายชาง ชุน ซิง ระบุว่า วิกฤติในครั้งนี้หากมัวแต่รอโควิด-19 หายไปก็จะยิ่งแย่ลง ดังนั้นรัฐบาลสิงคโปร์ต้องเร่งสร้างรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ทันที โดยอาศัยแนวคิด 4 เปลี่ยน 3 หลักการ ดังต่อไปนี้ การเมืองโลกเปลี่ยนความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ ได้แก่ สหรัฐฯ กับจีน ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจของชาวสิงคโปร์ โดยเขายกตัวอย่างว่า ต่อไปนี้นักธุรกิจชาวสิงคโปร์จะประสบปัญหาติดต่อสื่อสารกับนักธุรกิจจีนด้วยโปรแกรม ‘WeChat’ ที่จะไม่สามารถติดต่อกันได้หากอยู่ในสหรัฐฯ เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ จะแบนแอปฯ นี้ ซึ่งนี่ก็เป็นผลกระทบทางธุรกิจที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองระดับโลก รัฐบาลสิงคโปร์มองว่า นับจากนี้สิงคโปร์ต้องหลีกเลี่ยงการไปอยู่ที่ใจกลางความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ และต้องหาทางไม่ให้ติดกับดักความขัดแย้งเหล่านี้ โลกธุรกิจเปลี่ยน บริษัทกระจายความเสี่ยงมากขึ้นรัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ชี้ว่า การกระจายความเสี่ยงอาจเป็นโอกาสของสิงคโปร์ เนื่องจากหากบริษัทเอกชนต้องการกระจายความเสี่ยงจากเดิมที่มีฐานอยู่ในประเทศจีนเป็นหลัก ก็อาจวางแผนตั้งฐานนอกประเทศจีน เช่นในอาเซียนเพิ่มเติม และจุดนี้เองที่การลงทุนใหม่ๆ อาจมาที่สิงคโปร์ได้ รูปแบบงานเปลี่ยน ใครๆ ก็ทำงานของคนสิงคโปร์ได้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีจะส่งผลกระทบต่อหลายสายอาชีพโดยตรง เช่น ที่ผ่านมาพนักงานส่วนใหญ่ต้องทำงานที่บ้าน (Work from Home) ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ...
ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่เกิดภาวะเศรษฐกิจหดตัว ประเทศญี่ปุ่นเองก็พบเจอกับปัญหาเศรษฐกิจหดตัวลงในอัตราที่เร็วที่สุดเป็นประวัติการณ์เนื่องจากต้องต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ประเทศที่มีค่าเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกพบว่าเศรษฐกิจมวลรวมต่างๆ ในประเทศลดลง 7.8% ในเดือนเมษายน-มิถุนายน จากไตรมาสที่ผ่านมา หรือคิดเป็น 27.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตัวเลขที่เผยเมื่อวันจันทร์เป็นเครื่องเตือนใจอย่างชัดเจนถึงผลกระทบทางการเงินที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญ ญี่ปุ่นเองก็เข้าสู่สภาวะถดถอยตั้งแต่ต้นปี และข้อมูลล่าสุดสำหรับไตรมาสที่ผ่านมาเป็นการหดตัวของเศรษฐกิจที่มากที่สุด และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังการตกต่ำคือการบริโภคภายในประเทศที่ลดลงอย่างรุนแรงซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจ และการส่งออกก็ลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากเศรษฐกิจการค้าทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ญี่ปุ่นเป็นประเทศล่าสุดในกลุ่มเศรษฐกิจเอเชียที่รายงานข้อมูล GDP ในไตรมาสที่สองที่ลดลงอย่างมาก แต่การที่เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นมีการหดตัวไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะไม่มีใครที่รอดพ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่จะต้องมองไปยังอนาคตและความเป็นไปได้ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะทำได้ดีกว่าประเทศอื่นๆ ตามที่นักวิเคราะห์บางท่านได้กล่าวไว้ นักเศรษฐศาสตร์ทุนกล่าวว่าแม้ว่า ประเทศซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกจะอยู่ท่ามกลางการติดเชื้อระลอกที่สอง สำนักวิจัยกล่าวว่าคาดว่า GDP ในไตรมาส 3 จะกลับมาและดำเนินต่อไปจนถึงปีหน้า หลังจากที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ถึงเศรษฐกิจที่หดตัวเป็นประวัติการณ์ และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะดีดตัวขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อ้างอิง : https://bbc.in/2PZQi0T ...
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยไตรมาสที่ 2/63 หดตัวถึง -12.2% และคาดถึง -13% ถึง 17% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลพวงจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งเป็นผลพวงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 และกีดกันทางการค้า ทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย และยังส่งผลให้ครึ่งปีแรกของปีนี้เศรษฐกิจไทยหดตัวถึง 6.9% ทั้งนี้ การปรับลดประมาณการ GDP ปีนี้ลงนั้นอยู่ภายใต้สมมติฐานเศรษฐกิจโลกหดตัว -4.5% ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 43 ดอลลาร์/บาร์เรล ค่าเงินบาทเฉลี่ยที่ 31.30 บาท/ดอลลาร์ การส่งออกลดลง -10% จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.7 ล้านคน รายได้การท่องเที่ยว 3.1 แสนล้านบาท อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณปี 63 ราว 91.8% ถึงอย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยช่วงที่เหลือของปีนี้จะฟื้นตัวได้ช้าหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไวรัสโคโรนาในทั่วโลกว่าจะมีการผลิตวัคซีนออกมาใช้ได้หรือไม่ เพราะถ้าวัคซีนออกมาได้เร็วเศรษฐกิจไทยก็จะฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 64 ส่วนปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจดีขึ้นในปีนั้น ขึ้นอยู่กับ 1.ความสำเร็จในการควบคุมและป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และผ่อนมาตรการปิดสถานศึกษาและการเดินทาง 2.การเบิกจ่ายงบประมาณและมาตรการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาครัฐ 3.การปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกของช่วงครึ่งปีหลัง 4.การผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่ได้ประโยชน์ ด้านนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ...
วิกฤติโควิดไม่รู้จุดจบ เศรษฐกิจหยุดชะงัก ตกงานกว่า 5 ล้านคน เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังอยู่ในสภาวะวิกฤตที่ยังไม่รู้จุดจบอย่างแน่นอน จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบในเกือบทุกสาขาธุรกิจ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อตลาดแรงงานและสภาวะเศรษฐกิจอย่างมาก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) เผยบทวิเคราะห์ ตลาดแรงงานไทยมีสัญญาณความอ่อนแอตั้งแต่ก่อนเข้าสู่สภาวะวิกฤตโควิด-19 สาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ความต้องการแรงงานมีน้อยลง และแรงงานกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่สุดที่เลี่ยงไม่ได้ คือ กลุ่มลูกจ้างชั่วคราว ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และลูกจ้าง SMEs ที่ทำงานในธุรกิจการท่องเที่ยว ประเมินว่าจำนวนผู้ว่างงานจะเพิ่มขึ้นสูงถึงราว 3-5 ล้านคน ทั้งนี้ยังมีแรงงานจำนวนมากที่ถึงแม้จะไม่ตกงาน แต่จำนวนชั่วโมงทำงานและรายได้ลดลงอย่างมากหรือกระทั่งไม่มีรายได้เลยในบางช่วง ถึงแม้ขณะนี้จะผ่านพ้นมาตรการล็อกดาวน์ สถานการณ์ในตลาดแรงงานจะดีขึ้น แต่ก็เป็นการฟื้นตัวไปอย่างช้าๆ การสูญเสียรายได้และตกงานของแรงงาน จะนำไปสู่ความเดือดร้อนของครัวเรือนจำนวนมาก และจะส่งผลให้ครัวเรือนเหล่านี้อาจต้องปรับตัวโดยการลดการบริโภคลงอย่างมาก ตลอดจนขายหรือจำนองสินทรัพย์ที่มี ไปจนถึงการก่อหนี้ เพื่อนำมาใช้จ่ายอันจะเป็นการสร้างความเปราะบางเพิ่มเติมในระยะต่อไป อ้างอิง : https://www.thairath.co.th/news/business/entrepreneur/1825814 ...