วิกฤติโควิดไม่รู้จุดจบ เศรษฐกิจหยุดชะงัก ตกงานกว่า 5 ล้านคน  เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังอยู่ในสภาวะวิกฤตที่ยังไม่รู้จุดจบอย่างแน่นอน จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบในเกือบทุกสาขาธุรกิจ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อตลาดแรงงานและสภาวะเศรษฐกิจอย่างมาก  ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) เผยบทวิเคราะห์ ตลาดแรงงานไทยมีสัญญาณความอ่อนแอตั้งแต่ก่อนเข้าสู่สภาวะวิกฤตโควิด-19 สาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ความต้องการแรงงานมีน้อยลง และแรงงานกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่สุดที่เลี่ยงไม่ได้ คือ กลุ่มลูกจ้างชั่วคราว ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และลูกจ้าง SMEs ที่ทำงานในธุรกิจการท่องเที่ยว ประเมินว่าจำนวนผู้ว่างงานจะเพิ่มขึ้นสูงถึงราว 3-5 ล้านคน ทั้งนี้ยังมีแรงงานจำนวนมากที่ถึงแม้จะไม่ตกงาน แต่จำนวนชั่วโมงทำงานและรายได้ลดลงอย่างมากหรือกระทั่งไม่มีรายได้เลยในบางช่วง ถึงแม้ขณะนี้จะผ่านพ้นมาตรการล็อกดาวน์ สถานการณ์ในตลาดแรงงานจะดีขึ้น แต่ก็เป็นการฟื้นตัวไปอย่างช้าๆ  การสูญเสียรายได้และตกงานของแรงงาน จะนำไปสู่ความเดือดร้อนของครัวเรือนจำนวนมาก และจะส่งผลให้ครัวเรือนเหล่านี้อาจต้องปรับตัวโดยการลดการบริโภคลงอย่างมาก ตลอดจนขายหรือจำนองสินทรัพย์ที่มี ไปจนถึงการก่อหนี้ เพื่อนำมาใช้จ่ายอันจะเป็นการสร้างความเปราะบางเพิ่มเติมในระยะต่อไป อ้างอิง : https://www.thairath.co.th/news/business/entrepreneur/1825814 ...

5 คำแนะนำทางการเงินเสริมความมั่นคงมั่งคั่ง ช่วงโควิด-19 ก่อนจะนอนก็คิดถึง เมื่อหลับตายังเก็บไปฝันถึงอีก วน ๆ เวียนๆ อยู่ในหัวตลอดเวลา เรื่องกวนใจที่คนส่วนใหญ่เจอก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง การเงินนี้ล่ะ ปัญหากวนใจ ยิ่งเวลาผ่านไป นานวันเข้า หากเราไม่มีการบริหารจัดการความมั่งคั่งเพื่อเพิ่มความมั่นคงเราอาจจบไม่สวยแน่ ๆ บางคนอายุมากแล้วยังไม่มีเงินเก็บ สัญญาณอันตรายเริ่มดังชัดขึ้น ลองดู 5 คำแนะนำทางการเงิน ว่ามีอะไรกันบ้าง  คำแนะนำข้อที่ 1 : ก่อนจะวางแผนทางการเงินได้..ต้องสำรวจตัวเองก่อนเสมอ การวางแผนทางการเงิน เหมือนการวาดภาพชีวิตในอนาคตของเรา ดังนั้นควรสำรวจตัวเองก่อนว่าเรามีสินทรัพย์เท่าไหร่ มีหนี้สิน หรือภาระที่ต้องรับผิดชอบทั้งหมดเท่าไหร่ เมื่อสำรวจเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ควรจะได้ก็คือ “เงินเหลือเก็บ” ในแต่ละเดือน คำแนะนำข้อที่ 2 : หาเงินสดที่เหลือ..ว่าในแต่ละเดือน ขาดหรือเกินมาเท่าไหร่ ลองคำนวณหาเงินสดในแต่ละเดือน แล้วนำมาหักลบกับค่าใช้จ่าย เหลือเก็บเท่าไหร่จะได้นำมาคำนวณสู่คำแนะนำที่ 3 คำแนะนำที่ 3 : จดบันทึกค่าใช้จ่าย ถ้าไม่อยากเกิดอาการ “เงินช็อต” หรือหมุนเงินไม่ทันในสิ้นเดือนนั้น  เราต้องวางแผนล่วงหน้าเพื่อเก็บเงินสะสม โดยเราต้องจดบันทึกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในปัจจุบัน และอนาคตของเราออกมา ไม่ว่าจะค่าประกันชีวิต ค่าบ้าน ค่าเดินทาง หรือค่าดำรงชีวิตในแต่ละวัน โดยในปัจจุบันมีแอปพลิเคชั่นที่ช่วยส่งเสริม ให้หันมาวางแผนทางการเงินกันมากขึ้น ...