ท่ามกลางโอกาสในการขายสินค้าออนไลน์ก็ยังมีอุปสรรคแฝงอยู่เต็มไปหมด อย่างเช่นสินค้าที่ขายเหมือนกันทุกร้านจนไม่รู้ว่าจะหาจุดเด่นอะไรมาขาย ไหนจะปัญหาจัดการสต๊อก และเรื่องเงินทุน ด้วยการแข่งขันที่สูงในยุคนี้ นายพร้อมพงษ์ พัฒนธีระเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์และ Portfolio ธุรกิจ เอสเอ็มอี ทีเอ็มบี ได้เปิดเผยว่า คนขายของออนไลน์ยังคงมีปัญหาซ้ำๆ 3 เรื่อง คือ จะสร้างรายได้ในปีต่อๆ ไปอย่างไรให้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน จะบริหารค่าใช้จ่ายอย่างไรให้คุ้มที่สุด และจะเอาเงินมาจากไหนเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจให้เติบโตในอนาคต TMB จึงได้ร่วมกับบริษัทวิจัยชั้นนำของประเทศทำการสำรวจผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทยจำนวน 200 คน ที่ขายของ Online ในปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า ร้านค้า Online โดยคละกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งผู้ประกอบการขายของ online ผ่านแพลทฟอร์ม E-Commerce และ ผ่าน Social Commerce (LINE, Instragram และ Facebook) โดยผู้ประกอบการดังกล่าวจะมีหน้าร้านหรือไม่ก็ได้ เพื่อค้นหาปัญหาในทุกมุม ผลการศึกษานี้ได้แบ่งประเด็นหลักออกมาเป็น 5 เรื่องจริงที่ร้านค้าออนไลน์มักเจอ พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1. สินค้าไม่มีจุดแตกต่าง จะขายอย่างไรดี สมมติว่าใครที่กำลังต้องการกล่องรองเท้าแล้วเข้าไปหาสินค้าใน Lazada หรือ Shopee คงจะพบว่ามีสินค้าที่หน้าตาเหมือนกันทั้ง สี ขนาด ราคา ระยะเวลาการจัดส่ง แม้แต่รูปภาพที่ใช้ในการโพสต์ยังเป็นรูปเดียวกันทุกร้าน จึงทำให้ผลการสำรวจพบว่า 60% ร้านค้า Online พบปัญหาขายของที่ไม่มีจุดต่าง ซึ่งเหตุผลก็เป็นสินค้าที่มาจาก Supplier เจ้าใหญ่เจ้าเดียวกัน เพราะเอาเข้าจริงแล้วก็มีอยู่เพียงไม่กี่เจ้า ทำให้หาจุดต่างได้ยากเหลือเกิน หรืออีกกรณีหนึ่งคือ ไม่มีกำลังทุนพอที่จะสั่งผลิตสินค้าในแบบที่ตนเองต้องการจริงๆ ได้ เพราะตัวเล็กเกินไป เชื่อได้เลยว่าร้อยทั้งร้อยต่างก็ใช้กลยุทธ์ ลด แลก แจก แถม ดึงลูกค้าให้เป็นลูกค้าประจำ ...
ทำธุรกิจปวดหัวภายนอกยังดีกว่าปวดหัวภายใน แต่หากเป็นรุ่นลูกที่สืบต่อธุรกิจจากพ่อแล้ว ยังไงก็หนีไม่พ้นต้องเจอ “ปัญหาปวดหัวภายใน” ทั้งเรื่องการบริหารที่มีลูกน้องเป็นคนเก่าคนแก่สั่งงานได้ยาก, ลูกน้องที่ติดพ่อไม่เชื่อฟังคนลูก และอีกหลายอย่างที่ทายาทรุ่นลูกต้องเจอ โดยจากข้อมูลจากงานวิจัยจาก TMB SME Insight ได้เปิดเผยว่า “ปัจจุบันประเทศไทยมีธุรกิจ SME กว่า 3 ล้านราย” ซึ่งเป็นทายาท SME จำนวนกว่า 50% หมายความว่า มากกว่าครึ่งนึงนั้นธุรกิจถูกส่งต่อให้รุ่นลูกบริหารต่อ ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตกว่า 20% ในเขตกรุงเทพฯ ทำให้ GDP พุ่งขึ้นสูงถึง 55% หรือตีเป็นเงิน 2.7 ล้านบาท รุ่นลูกที่มีปัญหาในการบริหารงาน มีหลายประเด็น แต่ประเด็นที่เป็น ปัญหาดราม่ายอดฮิตสำคัญๆ ที่เจอมีหลักๆ อยู่ 9 ข้อ คือ 1. มือใหม่หัดบริหาร “เพราะไม่เคย…เลยทำไม่เป็น” เมื่อทายาทธุรกิจ เข้ามารับช่วงธุรกิจต่อจากครอบครัว โดยที่ไม่เคยฝึกงานและไม่เคยลองทำงานที่ไหนมาก่อน เมื่อจบการศึกษาก็เข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารของบริษัททันที เมื่อรากฐานไม่แน่น ขาด “ประสบการณ์งาน” และ ขาด “ประสบการณ์การบริหารคน” ก็ทำให้บริหารธุรกิจไม่ได้ หรือไม่ราบรื่น จึงต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ (จากการสำรวจพบว่าในจำนวนนี้มีมากถึง 36%) 2. ได้มาแต่ตำแหน่ง “เพราะไม่รู้… เลยไปไม่ถูก” ทายาทธุรกิจหลายๆ คน ไม่เคยได้รับการสอนงาน หรือการเตรียมความพร้อมทางธุรกิจจากรุ่นพ่อแม่ เมื่อไม่มีความรู้ ความเข้าใจ จึงไม่เห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมและไม่สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ เปรียบเหมือนคนที่ได้มาแต่ตำแหน่งบน แต่ไม่รู้ว่ารากฐานเกิดขึ้นมาได้ยังไง (จากการสำรวจพบว่าในจำนวนนี้มีมากถึง 34%) 3. ทำงานเหมือนโดนบังคับให้มาทำ เพราะไม่ได้มีใจรัก… เลยทำไปเฉยๆ ให้จบวัน ทำไปงั้นๆ ให้พ้นมือ จากการสำรวจพบว่า 43% ของทายาทธุรกิจ อยากมีธุรกิจตามความชื่นชอบและแนวคิดของตัวเอง แต่ทว่าต้องจำใจสานต่อธุรกิจของครอบครัว เมื่อไม่มีใจรัก ก็บริหารธุรกิจอย่างไม่เต็มความสามารถ เมื่อประสบปัญหาการแข่งขันหรือการเปลี่ยนแปลง ก็มีแนวโน้มที่จะไม่สามารถสานต่อหรือต่อยอดธุรกิจให้เจริญเติบโตไปกว่าเดิมได้ 4. ...
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี ธุรกิจบริษัทขนาดเล็กแบบ SME นั้นมีความยากลำบากหลายอย่าง ทั้งเงินทุนที่มีจำกัด และไหนจะปัญหาเรื่องคน กว่าจะหาพนักงานเข้ามาช่วยงานกันได้ก็ยากลำบากมาก ส่วนใหญ่พอได้มาก็มาอยู่ด้วยกันไม่นาน เพราะสวัสดิการของบริษัทเล็ก อาจจะดีไม่เท่าบริษัทใหญ่ และเท่านั้นยังไม่จบ ยังมีปัญหาเรื่องเอกสารบัญชีต่างๆ อีกเยอะแยะมากมายไม่ว่าจะขยับทำอะไร ก็ต้องเจอเอกสารกองใหญ่ หลายๆ ครั้งที่ SME ต้องมานั่งทำเองจนเสียเวลาในการหาโอกาสใหม่ๆ ไปเยอะมาก เมื่อย้อนดูจากสถิติแล้วพบว่า “เงินทุน พนักงาน และโอกาส” ปัญหาหลักๆ ของ SME ไทย นางสาวชมภูนุช ปฐมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้า ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี ได้เปิดเผยผลจากการสำรวจพบว่า ปัญหาของ SME ไทยนั้นมีปัญหาอยู่ 3 อันหลักๆ คือ 1.ปัญหาธุรกรรมยุ่งเหยิง เสียเวลามานั่งทำบัญชี : เพราะใน1วัน SME ต้องเจอรายการทั้งรับเงิน จ่ายเงินมากมาย และมาจากหลายช่องทาง ต้องมานั่งไล่ยอดดูอีกว่าจากเจ้าไหน ยอดตรงหรือเปล่า ทำให้เสียเวลามากมาย จากสถิติได้รวมเวลาที่ SME ต้องมานั่งเช็คยอดเงินในบัญชี เมื่อรวมเวลาทั้งหมดพบว่า ใน 1 ปี ใช้เวลาไปมากถึง 26 วัน! ถ้าลดเวลานี้ได้เอาไปใช้หาวิธีเพิ่มโอกาสทางธุรกิจดีกว่า 2.ปัญหาการบริหารบุคคล คนขาด ไม่มีพนักงานมาช่วย ...
ปกติเวลาหลายคนไปธนาคาร มักต้องกังวลและเกรงใจเจ้าหน้าที่ธนาคารที่บางครั้งนำเสนอ สินค้า หรือบริการไม่ตรงกับความต้องการของเราเลย ยิ่งคนทำธุรกิจที่เงินหมุนเยอะๆ ต่อเดือน ย่อมถูกเสนอขายอะไรหลายอย่างมากกว่าคนทั่วไป ทีเอ็มบีเข้าใจปัญหาของเอสเอ็มอี ข้อนี้มากกว่าใครๆ จึงเกิดแนวคิดใหม่ที่จะมอบ “ทีเอ็มบี เอ็กซ์พีเรียนซ์” (TMB Experience) มอบประสบการณ์การมาสาขาของธนาคารให้ตรงตามความต้องการมากขึ้นกว่าเดิมแบบก้าวกระโดด เพราะรูปแบบของสาขาเดิมๆ ไม่ได้ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างครบถ้วนต่อไปอีกแล้ว TMB Experience เป็นสาขาต้นแบบใหม่ ที่ใช้ระบบดิจิทัลมาช่วยงานในสาขามากกว่า 60% แบ่งเป็นสเตชั่นต่างๆ ตามรูปแบบที่ลูกค้าต้องการ คือ เดินเข้าไปแล้วปกติจะได้เจอกับพนักงานมาแนะนำให้ลูกค้าค้นพบความต้องการและบริการที่เหมาะกับตนเอง โดยระบบจะช่วยแนะนำไปจนจบขั้นตอนถึงการรับบริการ ที่ตรงตามความต้องการมากกว่า หลังจากได้ทดลองใช้แล้ว รู้สึกได้ทันทีว่า TMB มาถูกทางแล้ว สาขาต้นแบบที่ใช้ระบบดิจิทัลมากกว่า 60% สร้างตัวแทนลูกค้าด้วยอวตาร ที่แยกตอบสนองได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละคน สาขาต้นแบบนี้จะให้คุณสร้างตัวเองด้วยอวตาร ในการใช้งานจริง สมมติว่าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจแล้วต้องการทำธุรกรรมเกี่ยวกับการขอคำปรึกษาเรื่อง “สินเชื่อ” พอเข้าไปที่สาขาดิจิทัลต้นแบบนี้ ระบบจะเริ่มให้คุณสร้างตัวตนอวตาร ขั้นตอนการสร้างอวตารจะมีให้ใส่รายละเอียดคร่าวๆ เช่น เพศ อายุ มีเงินหมุนหรือรายได้ต่อปี/ต่อเดือน เท่าไร และความต้องการในการรับบริการวันนี้ขั้นพื้นฐาน เช่น สินเชื่อเพื่อการขยายธุรกิจ สินเชื่อเพื่อไว้เป็นเงินหมุน ฯลฯ เลือกได้ตามความต้องการ พอกดไปตามระบบเรื่อยๆ แล้วจะได้ QR Code มา 1 ชุด ซึ่ง QR Code ตัวนี้จะเป็นตัวบอกสถานะข้อมูลของตัวคุณจากการประเมินมาแล้วได้อย่างแม่นยำ โดยในกลุ่มของคนทำธุรกิจ เอสเอ็มอี นั้นจะแบ่งกลุ่มอวตารออกเป็น ...
ใน 5 ปีที่ผ่านมามีธุรกิจเกิดใหม่ 70,000 รายต่อปี แต่มีเพียง 50% เท่านั้นที่ก้าวผ่านปีแรกไปได้ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้กิจการเหล่านั้นต้องปิดตัวลง…ความรู้? ทักษะ? หรือเงินทุน? ปัญหาที่น่าสนใจนี้ ทาง TMB ได้ลงมือศึกษาเรื่องนี้แบบจริงจัง โดยศึกษาจาก SME ไทยทั่วประเทศที่มีรายได้เฉลี่ย 1-50 ล้านบาท คละประเภทธุรกิจ และคละประเภทอุตสาหกรรม จำนวนกว่า 200 คน คำตอบที่ได้ทำให้ชวนทึ่งกว่าเดิม เพราะปัญหาทางด้านความรู้ที่กล่าวมานั้นเป็นแค่ประเด็นรอง สาเหตุหลักๆ ที่ SME ไปไม่ถึงฝั่งเป็นเพราะ “ทัศนคติ และพฤติกรรมของเจ้าของเอง” บางเจ้าขายดีมาก ยอดขายเยอะ แต่พอไปดูรายได้จริงๆ แล้ว “ไม่มีกำไร” ขายเพื่อเอายอดขายอย่างเดียว…เข้าตามตำรา “ขายดีจนเจ๊ง” พอมาดูตัวอย่างอีกเจ้า บริหารธุรกิจแบบวันต่อวัน วันนี้จะทำแบบนี้ พอมาอีกวันจะทำอีกอย่างไม่ต่อเนื่อง ซ้ำยังเสียเงินทุนไปเรื่อยๆ มีแต่สิ่งที่ทำได้แบบแค่ครึ่งๆ กลางๆ ทำตามใจแบบไม่ได้วางแผน เมื่อเจอปัญหาก็เปลี่ยนใจไปทำอีกทางแทน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจน งง ตัวเอง และนั้นทำให้พนักงานก็สับสนไปด้วย ว่าเจ้าของธุรกิจจะเอายังไงกันแน่ ปัญหาเหล่านี้ไม่น่าเชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ธุรกิจ SME ไทยหลายรายไปไม่รอด ถ้ามองดูภายนอกคนทั่วไปจะนึกว่าปัญหามาจากการ “ขาดความรู้” ...
หนังสือธุรกิจหลายเล่มได้บอกหลักในการทำธุรกิจที่ดี ก็คือการทำผลกำไรให้มากขึ้น มากขึ้น และก็มากขึ้น เรื่องนี้ใครๆ ก็รู้ดี แต่หลังจากได้ทำจริงไปซักระยะจะพบว่า “ต้นทุน” มันจะเพิ่มเหมือนเป็นเงาตามตัว ต้องมานั่งลงรายละเอียดคิดถึงทุกต้นทุนที่นำไปใช้ และคำนวณไปถึงทุกกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในธุรกิจของเรา ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน ยังมีเรื่องเวลา และอื่นๆ มาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้เราไม่สามารถโฟกัสเพียงแต่ผลกำไรที่ได้เพียงอย่างเดียว ต้องบริหารจัดการเรื่องต้นทุนควบคู่ไปด้วย เพราะยิ่ง “ลดต้นทุน” ได้มากเท่าไร นั้นคือผลกำไรที่จะกลับมาในภายหลัง วิธีลดต้นทุนที่ดีที่สุดต้องคงไว้ที่ “ประสิทธิภาพของงานสูงเท่าเดิม…แต่ต้นทุนต้องลดลง” ฟังดูเหมือนทำยาก แต่พอได้ลองทำจริงๆ ไม่ยากแบบที่คิด แค่ต้องมีหลักสูตรวิธีการตรวจสอบให้เจอ “ต้นทุนที่สูญเปล่า” เรื่องนี้นักธุรกิจญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อว่า “ใช้ทุกอย่างในการทำงานได้อย่างคุ้มค่าสุดๆ” ได้คิดแนวคิดในการทำธุรกิจที่ชื่อว่า LEAN ขึ้นมา กระบวนการคิดแบบลีนนั้น เนื้อหาหลักๆ เลยก็คือ “การลดความสูญเปล่า” โดยการจะลดการสูญเปล่าได้นั้น ต้องรู้ก่อนว่าอะไรคือสิ่งที่ศูนย์เปล่าในธุรกิจเรา อะไรคือสิ่งที่ไม่ได้เกิดประโยชน์หรือมูลค่าใดๆ ที่ส่งผลต่อธุรกิจ หลักสูตรแนวคิดนี้สามารถหาที่เรียนได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะกับผู้บริหาร หรือเจ้าของธุรกิจเท่าไร เพราะด้วยเนื้อหาที่เข้าใจยาก และใช้เวลาในการเรียนรู้ ในส่วนนี้ทาง TMB ได้มองเห็นข้อจำกัดในด้านเวลาของเจ้าของธุรกิจ จึงได้จัดหลักสูตร LEAN Supply Chain by TMB ที่เน้นเรื่องการ ลดต้นทุน ลดความสูญเปล่า พัฒนาประสิทธิภาพตลอดซัพพลายเชน โดยนำเนื้อหาคัดเฉพาะที่ใช้ได้จริง ...
ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ประกอบการหลายคนจะรู้กันดีว่าหนักหนาสาหัสและต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย ต้องคิดคนเดียวและทำคนเดียวอยู่บ่อยครั้ง เจอปัญหาอะไรก็ต้องตัดสินใจเอง อยากจะเรียนรู้การแก้ไขปัญหานั้นๆ ต้องพลิกหาตำราหลายเล่มกว่าจะเจอที่เหมาะสมกับสิ่งที่ตัวเองกำลังเจอ บางทีก็ช้าเกินแก้ ต้องเสียหายก่อนถึงจะแก้ไขปัญหานั้นได้ ดร.รุจิกร ภาวสุทธิไพศิฐ ปัจจุบันเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริการการตลาดลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี เข้าใจ Insight ของปัญหา พร้อมหาโชลูชั่นมาช่วยเสริม ได้เล่าถึงช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจของครอบครัวทางบ้าน ที่เห็นมาตั้งแต่เด็กๆว่า คุณพ่อเป็นคุณหมอ และเปิดคลีนิค ทำมานานหลายสิบปีช่วงเริ่มต้น ต้องใช้ที่บ้านเป็นคลังสินค้า และค่อยๆ ต่อยอดฝ่าฟันอุปสรรคหลายอย่าง เดินคนเดียวแก้ไขปัญหาบริหารจัดการคนเดียวมาโดยตลอด มาถึงในตอนนี้แล้วเห็น เอสเอ็มอีไทยหลายเจ้าประสบกับปัญหาเดียวกัน “ต้องเดินคนเดียว คิดเองคนเดียว” สำหรับเอสเอ็มอีปัจจุบันนี้ หมดยุคแล้วกับการลองผิดลองถูกแก้ไขปัญหาเอง จึงได้สร้างหลักสูตร Lean Quick Win เป็นการนำส่วนผสมระหว่างหลักสูตรของ Lean Supply Chain by TMB เข้ากับ Design Thinking มาประยุกต์ พัฒนาเป็นหลักสูตรใหม่ จากเดิมที่เนื้อหาเน้นเรื่องเทคนิค Lean Six Sigma ที่ใช้เวลามากถึง 4 เดือนในการเรียนรู้เชิงลึกและสามารถทำให้เกิดผลลัพธ์เห็นได้จริง หลังจากเอามาเรียบเรียงใหม่และดูสิ่งที่ เอสเอ็มอีสามารถหยิบไปใช้ได้จริงเลยตรงๆ ไม่ต้องอ้อม ทำให้หลักสูตรนี้จบได้ภายในไม่กี่วัน โดยได้เริ่มต้นเปิดเรียนรุ่นแรกแล้วเมื่อวันที่ 8 ...
“เราทุกคนต่างก็ใช้ชีวิตไปแบบเหมือนๆกัน ทำงานหาความก้าวหน้า เก็บเงินซื้อของที่ต้องการ หาความสุขไปเรื่อยๆ” เจ้าของธุรกิจหลายๆ ท่านก็เหมือนกัน พยายามทำธุรกิจเพื่อให้บริษัทมีกำไรไต่ระดับไปเรื่อยๆ ระหว่างทางต้องเจอปัญหามากมาย ทำให้ต้องพัฒนาตัวเองอยู่บ่อยครั้ง ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการเรียนรู้จากผู้ที่สำเร็จแล้ว ช่วยให้เดินทางได้ง่ายขึ้นมาก ทำธุรกิจสำเร็จได้เร็วขึ้น เหมือนกับ “คุณศุภชัย จูพานิชย์” หรือ คุณกอล์ฟ ผู้บริหารหนุ่มเจ้าของแบรนด์ “เดอ ลีฟ ทานาคา” ที่เริ่มต้นอยากทำธุรกิจของตัวเอง ลองไปเยอะเกือบถอดใจล้มเลิกตั้งแต่ช่วงแรกๆ แต่ด้วยความ “อดทน” จนหาจุดพลิกธุรกิจเจอ ทำให้ เดอ ลีฟ ทานาคา โด่งดังทั้งในไทยและอีก 3 ประเทศเพื่อนบ้าน ขายได้เป็นล้านชิ้น และกำลังจะเจรจา ต่อยอดธุรกิจในอีก 3 ประเทศ จากจุดนี้ช่วยการันตีได้ว่าต้องเรียนรู้จากนักธุรกิจคนนี้จริงๆว่า “เขาทำได้ยังไง” และจุดไหนที่ทำให้ธุรกิจพุ่งทะยานได้ขนาดนี้ เพราะอยากมีความสุขทุกวันจึงได้ก่อตั้ง “บริษัท มีความสุขทุกวัน จำกัด” คุณศุภชัยก็เหมือนคนทั่วๆไป ทำงานไต่ระดับเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่บริษัทชื่อดัง ด้วยสายงานที่ต้องเดินทางบ่อยมาก เลยมีโอกาสได้เห็นได้เจออะไรหลายอย่าง วันหนึ่งได้ไปเข้าคอร์สอบรมสั้นๆ ที่สอนให้คนเรารู้จักตั้งเป้าหมายค้นหาปลายทางที่อยากเป็น และวางแผนออกเดินไปให้ถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ จากการอบรมครั้งนั้น มันเป็นจุดที่ทำให้คุณศุภชัยต้องย้อนกลับมาดูตัวเองว่าทุกวันนี้ทำไปเพื่ออะไร นั่งคิดอยู่นานจนค้นพบว่าเป้าหมายของตัวเองคือ “อยากเป็นเจ้าของกิจการ” ตอนนั้นไม่ได้คิดว่าอยากรวยหรืออะไร แค่อยากลองทำในสิ่งที่รักและถนัดที่เป็นของตัวเอง มีเวลามากขึ้น ...