Can anyone be an entrepreneur? สรุป 7 แนวคิดของการเริ่มต้นการเป็น “เจ้าของธุรกิจ” จากงาน AIS D.C.

1.มองตัวเองให้เป็นสินค้า ขยายมุมมองให้จับต้องได้

มองว่าตัวเองชอบอะไร หรือ ตัวเองมีทักษะอะไรบ้าง เขียนโดยแยกออกให้ชัดตาม 4 ประเภทดังนี้

  • สิ่งที่ชอบ –  ชอบทำอะไร อยากทำอะไร มีสกิลเด่นๆในด้านไหน ฯลฯ ได้ทั้งหมด
  • สิ่งที่รู้สึก – ชอบทำอันนี้แล้วมี รูป รส กลิ่น เสียง อะไรบ้าง รู้สึกยังไงบ้าง
  • สิ่งแวดล้อมของสิ่งนั้น – ไล่ดูสิ่งของรอบๆ ทั้งหมดว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมาได้
  • เราทำอะไรได้บ้าง – กลับมาดูที่ทรัพยากรของตัวเองว่ามีโอกาสทำได้ตอนนี้เลยบ้าง

หลังจากแยกตามนี้แล้วจะทำให้มองเห็นโอกาส ทั้งสินค้าและสิ่งที่น่าจะทำเป็นธุรกิจได้มากขึ้น จากในตารางจะทำให้คิดแบบเป็นระบบ เลือกได้อย่างแน่ใจว่าจะลงมือทำในสิ่งไหนดี

2.การเติบโตรายได้มีสองแบบเติบโตแบบขั้นบันใดและ การเติบโตแบบบันไดเลื่อน

การเติบโตแบบขั้นบันใด – รายได้จะเติบโตแบบมั่นคงตามระยะเวลา หรือการทำให้ได้ตามกรอบที่ได้กำหนดวางไว้ รายได้จะเติบโตแบบช้าๆแต่มั่นคง เป็นไปตามแผนการเงินของโครงสร้างบริษัท เช่น การทำงานประจำ เติบโตตามประสบการณ์และตำแหน่งงาน , การทำธุรกิจที่หลายๆ อย่างยังต้องทำเองเกือบจะทุกอย่าง (รายได้จะเติบโตตามการลงมือทำ หากหยุดรายได้ก็หยุด จึงนับว่ายังเป็นรายได้แบบขั้นบันใด)

การเติบโตแบบบันใดเลื่อน – รายได้เติบโตได้เองโดยอัตโนมัติ อาจจะเหนื่อยในช่วงแรก แต่พอหลังจากตั้งต้นได้ ก็เหมือนเป็นเครื่องผลิตรายได้ให้เรื่อยๆ แบบอัตโนมัติ เพียงแค่ติดตามดูและตรวจสอบ รายได้ประเภทนี้จะมีโอกาสเพิ่มพลังเป็นการทวีคูณและทำรายได้ให้ได้มากๆได้ เช่น ซื้อแฟรนชายมาเปิดและทำกำไรได้มากกว่าต้นทุน หรือ การทำธุรกิจส่วนตัวที่มีพนักงานในตำแหน่งอื่นๆช่วยทำหน้าที่ให้ โดยที่คุณจะเข้าหรือไม่เข้าออฟฟิศก็ได้

3.มองทุกอย่างแบบผู้ผลิต

การมองแบบผู้ผลิต คือการมองให้ลึกลงไปในสิ่งที่เห็น ทุกสินค้า ทุกแบรนด์ ย่อมมีเรื่องราว หรือการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ กว่าจะมาเป็นสินค้าที่ขายดี แบรนด์ที่คนรู้จักได้โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักเป็นผู้บริโภค สมมุติว่า เห็นชานมไข่มุกยี่ห้อนึงขายดีมาก จะมองเห็นแค่ว่า ร้านชานมเจ้านี้ขายดี มองเห็นแค่นั้น แต่ถ้าหากมองในมุมมองของผู้ผลิตแล้วจะมองเห็นเป็น การตลาด,การพัฒนาสินค้า,กลยุทธ์ที่ใช้ ทำให้ทราบได้ว่า ทำไมชานมไข่มุกเจ้านี้ถึงขายดีได้

4.คิดให้ใหญ่เท่าโลก แต่ลงมือทำเท่าเม็ดหิน

  • ลงมือทำให้น้อยที่สุด แต่ได้กำไรมาก
  • ใช้คนและต้นทุนให้น้อยที่สุด
  • เพราะความคิดมันฟุ้งกระจายง่าย ทำให้มองสิ่งที่จำเป็นจริงๆไม่ออก
    ไม่ว่ายังไงการโฟกัสไปที่การทำเงินให้ชัดยังไงดีกว่า

เมื่อเริ่มต้นคิดให้ใหญ่ได้ เอาไอเดียมาขยายให้ใหญ่ที่สุดได้ แต่เมื่อ “เริ่มต้น” ลงมือทำนั้น ควรจะทำแบบคนขี้เกียจ ใช้ของให้น้อยที่ ยึดตามได้เพียงการ สุดพุ่งเป้าไปที่การทำรายได้ให้ได้มากที่สุด เพื่อจะได้ไม่หลงทาง ฟุ้งกระจายไปกับไอเดียจนลืมความเป็นจริง และละเลย “ความจำเป็น” จนทำให้เงินหรือต้นทุนหมดไปซะก่อน

5.คิดยังไง ก็ได้อย่างนั้น เรียนรู้ให้ถูกสเกล

“เปิดร้านค้าข้างทาง อย่าเอาตัวเองไปเทียบกับห้าง” เพราะใช้คนละกลยุทธ์ คนละต้นทุน ถมยังคนละกลุ่มลูกค้า เมื่อคุณได้เริ่มต้นทำแบรนด์ของตัวเอง หรือธุรกิจของตัวเอง ในช่วงเริ่มต้น ขอให้คิดแบบจริงจังว่า คุณจะทำอะไรได้่บ้าง และเรียนรู้จากระดับใกล้เคียงเท่านั้น อย่าเพิ่งไปเรียนรู้จากคนที่ทำธุรกิจใหญ่กว่ามากๆ เพราะคุณจะหลงทางจับต้นชนปลายไม่ถูก ลองคิดคนที่เปิดร้านขายเบเกอรี่เล็กเริ่มต้นใน Facebook แล้วดันเอาตัวเองไปเทียบกับห้าง เห็นร้านในห้างทำแพ็กเกตดีๆสวยๆก็ทำตาม โดยไม่เปรียบเทียบทุนของตัวเองว่าควรจะเอาเงินไปโปรโมทก่อนดีกว่า เพื่อให้คนรู้จักแล้วเกิดยอดขายก่อน ทำแพ็กเกตแค่กลางๆ ก็เพียงพอใช้ได้ ทำให้พอสุดท้ายแล้วเงินหมดก่อน ที่จะทำการโปรโมท

6. “อายุ  ไม่ใช่อุปสรรค  การเรียนรู้ตั้งหากที่เป็นอุปสรรค

อายุไม่ใช่อุปสรรค เจ้าของธุรกิจที่ผ่านงานมานานพอสมควรจะรู้ดีว่า การเรียนรู้นั้นแหละที่เป็นอุปสรรค การเรียนรู้มี 3 วิธี

  • เรียนรู้จาก “ห้องเรียน/ตำรา”
  • เรียนรู้จาก การ “ลงมือทำ” เอง
  • เรียนรู้จาก “คนอื่น” ที่ทำได้แล้ว

ดังนั้นไม่ว่าจะอายุเท่าไร ย้ำให้ตรงนี้ว่า อยากเป็นอะไร อยากทำอะไร ขอให้ไปเกาะติดกับการเรียนรู้อย่ามามัวสนว่าตัวเองเริ่มช้าหรือเร็ว ให้เริ่มเรียนรู้เลยทันที

7.ทุกอย่างสร้างได้ แม้แต่นิสัยการเป็นเจ้าของธุรกิจ

นี้คือยุคที่เป็น “เจ้าของธุรกิจ” ได้ง่ายสุดๆ ข้อมูลข่าวสาร การแก้ไขปัญหา และเครื่องมือ พร้อมแค่ไม่กี่คลิก แม้แต่นิสัยการเป็นเจ้าของธุรกิจก็มีแหล่งให้เรียนรู้ ให้ติดตามและลองทำ ตัวอย่างให้เห็นมีมากมาย มาถึงตอนนี้แล้วหากอยากเป้นเจ้าของธุรกิจจริงๆ ไม่ต้องรออะไรแล้ว เริ่มต้นได้เลย นี่คือยุคที่เป็นเจ้าของธุรกิจได้ง่ายสุดๆ!