ทำทีละชิ้น เล่าไปทีละเรื่องราวผ่าน ‘Tynee Basket’ เค้กโฮมเมด ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของคนสั่งผ่านเมนูขนมอบที่ใครเห็นเป็นต้องฟิน ร้านเค้กเล็กๆ ออเดอร์เยอะจนลูกค้าต้องจองล่วงหน้า นิยามของ Tynee Basket เค้ก คือ ตัวแทนของความรู้สึก “เค้ก” นั่นสื่อถึงตัวแทนของความยินดี และการเฉลิมฉลอง ผู้ให้ย่อมมีความสุขแล้วแต่ผู้ที่ได้รับย่อมมีความสุขมากกว่า จากประสบการณ์การลองผิดลองถูก หาความชอบของตัวเอง จนสุดท้ายได้มาเจอ ธุรกิจในแบบของตัวเอง ทุกวันนี้ สิ่งที่ทำคือสิ่งที่รัก ดังนั้น ทุกอย่างคือ การปล่อยพลังสร้างสรรค์ ทุกงานคือ ความใส่ใจที่ส่งมอบให้ โดยทำทีละชิ้น เล่าไปทีละเรื่องราวผ่าน ‘Tynee Basket’ ร้านเค้กโฮมเมด ที่ต้องนั่งฟังเรื่องราวของลูกค้าก่อนทำเสมอ จุดเริ่มต้นของ Tynee Basket ธุรกิจที่ผสมผสานระหว่าง ‘ความชอบ’ ผสมผสานกับ ‘ความครีเอทีฟ’ คุณสุภัทร์พร​ โปสกนิษฐกุล​หรือ “คุณฝน” เล่าถึงความชอบส่วนตัวเองในครั้งนั้นว่า อยากลองทำธุรกิจยิ่งถ้าเป็นธุรกิจที่ชอบแล้วด้วยนั่นคงจะสนุกและดีมาก ๆ อีกทั้งหากธุรกิจนั่นเป็นธุรกิจที่ไม่เหมือนที่คนอื่น เคยทำกันมาก่อนคงจะดีไม่ใช่น้อย จากไอเดียความชอบจึงทำให้ได้ทดลองทำแบบลองผิดลองถูก โดยเริ่มแรกก็เป็น เค้กในขวดโหลและช็อตเค้กญี่ปุ่นมาก่อน เพราะอยากให้เค้กมีความครีเอทที่ต่างจากเค้กร้านอื่น ๆ แถมต้องการให้กลิ่นความตลบอบอวลของเค้กสื่อออกมาในรูปแบบของความอบอุ่น ดังนั้นจึงเลือกไปเลือกมา สุดท้ายก็มาลงเอยที่เค้ก Fondant Cake ...

ขายของออนไลน์กำลังเป็นอาชีพเสริมยอดนิยม และมีหลายคนที่ทำๆไป อาชีพเสริมที่ว่านี้ก็กลายเป็นอาชีพธุรกิจหลักของตัวเองได้เลย LAZADA หนึ่งในแพลตฟอร์มซื้อ-ขายของออนไลน์ยอดนิยม ที่ไม่ว่าใครก็เป็นพ่อค้า แม่ค้าได้ แต่วันนี้เราได้นำมือหนึ่งเรื่อง LAZADA ที่ได้รับใบรับรองทั้งประเทศมีแค่ไม่กี่คน มาแชร์เคล็ดลับทำยังไงถึงจะขายของออนไลน์สำเร็จได้ไปดูกัน แชร์ไอเดียสู่คนที่สนใจ กลายเป็น 1 ในไม่กี่สิบคนที่ได้รับรอง… “คุณเฟรน Train Lazada” ผู้ฝึกสอนที่ทางลาซาด้าได้รับรองเป็น “Certified Trainer Program”ได้แชร์ให้ฟังว่า การจะทำให้ขายของออนไลน์ได้นั้น วิธีคิดขั้นแรกคือหาวิธี ให้ “ลูกค้าเลือกร้านของเรา” โดยสิ่งที่จะทำให้เป็นผลสำเร็จได้นั้น ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ และ 3 เทคนิค ดังนี้ (1) รู้จักชื่อสินค้าที่แท้จริง “ตั้งชื่อตามที่ลูกค้าพูด” ร้านจะโดดเด่นกว่า เพราะลูกค้าคีย์หาด้วยคำตามที่พูด กลยุทธ์แรกที่น่าสนใจ ถ้าเรารู้จักคำที่ลูกค้าใช้ในการค้นหาได้จริง ก็เพิ่มโอกาสต่อยอดธุรกิจได้ดีกว่าเจ้าอื่นซึ่งส่วนใหญ่ผู้ขายจะตั้งชื่อ ตามสิ่งที่ชอบเป็นพิเศษ การตั้งชื่อที่รู้ใจ เป็นการต่อยอดในอนาคตได้ดีซึ่งการค้นหาชื่อสินค้ามีทั้งชื่อหลัก ชื่อแบรนด์ และก็ชื่อเล่น.. ยกตัวอย่าง หมอนสุขภาพ หมอนยางพารา หมอนขนเป็ด ส่วนใหญ่ลูกค้าจะไม่ได้ค้นหาชื่อตรง ๆ ของสินค้า แต่จะค้นหาจากชื่อเล่น คือ“หมอนดูดวิญญาณ” หากร้านไหนตั้งชื่อได้ตรงกับสิ่งที่เขาพิมพ์ในช่องค้นหา ก็มีโอกาสขายได้ดีกว่าร้านอื่น ๆ แน่นอน ...

ตะกร้าหลายใบยังไงก็ดีกว่าในยุคที่ “ไม่มีอะไรแน่นอน” คนที่มีรายได้เยอะ และ มีรายได้หลายทาง ล้วนมีสิ่งที่เหมือนกันนั้นคือ เริ่มต้นจากการเห็นความเสี่ยงจากการมีรายได้ทางเดียว เราทุกคนล้วนมีธุรกิจซ่อนอยู่ในตัว อย่างน้อยคนละ 1 ธุรกิจ โดยสิ่งเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปแบบของ ความชอบ งานอดิเรก หรือ สิ่งที่เราถนัด เพียงแต่เราต้องเอามันออกมาปัดฝุ่นใช้ “หาเงิน” เท่านั้นเอง ดังนั้น การทำเงินจึงต้องเริ่มมองหาสิ่งที่เป็นต้นทุนหลังจากความชอบและงานอดิเรก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็มีได้ แบบคุณนาฟิส ที่เริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านตัวยง ที่ชอบจับประเด็นดี ๆ มาคิดเรียบเรียงออกมาเป็น “คอนเทนต์”แล้วนำไปเขียนลงในเพจ “สมองไหล” ทั้งช่องทาง Facebook และ Blockdit จากเพจเล็กๆ โนเนม จนก้าวสู่การเพิ่มยอดผู้ติดตาม มากกว่า 100,000 คน ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนสามารถทำรายได้มากกว่า 100,000 แสนบาท แถมยังได้ออกทีวีรายการชื่อดังอีกด้วย จุดเริ่มต้นจาก “งานประจำ” สู่เจ้าของเพจ และก็ยังทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไปด้วย เป็นรายได้ 2 ทาง “คุณนาฟิส” เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ ตั้งแต่สมัยเรียน โดยจะพกหนังสือติดตัวไปอ่านทุกทีเสมอ จนเพื่อนๆ ถามว่า “อ่านอะไร” ? และอยากจะรู้เรื่องราวในหนังสือที่อ่านบ้าง แต่เขาขี้เกียจอ่าน ...

1.มองตัวเองให้เป็นสินค้า ขยายมุมมอง “ ให้จับต้องได้ ” มองว่าตัวเองชอบอะไร หรือ ตัวเองมีทักษะอะไรบ้าง เขียนโดยแยกออกให้ชัดตาม 4 ประเภทดังนี้ สิ่งที่ชอบ –  ชอบทำอะไร อยากทำอะไร มีสกิลเด่นๆในด้านไหน ฯลฯ ได้ทั้งหมด สิ่งที่รู้สึก – ชอบทำอันนี้แล้วมี รูป รส กลิ่น เสียง อะไรบ้าง รู้สึกยังไงบ้าง สิ่งแวดล้อมของสิ่งนั้น – ไล่ดูสิ่งของรอบๆ ทั้งหมดว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมาได้ เราทำอะไรได้บ้าง – กลับมาดูที่ทรัพยากรของตัวเองว่ามีโอกาสทำได้ตอนนี้เลยบ้าง หลังจากแยกตามนี้แล้วจะทำให้มองเห็นโอกาส ทั้งสินค้าและสิ่งที่น่าจะทำเป็นธุรกิจได้มากขึ้น จากในตารางจะทำให้คิดแบบเป็นระบบ เลือกได้อย่างแน่ใจว่าจะลงมือทำในสิ่งไหนดี 2.การเติบโตรายได้มีสองแบบเติบโตแบบ “ขั้นบันใด” และ การเติบโตแบบ “บันไดเลื่อน” การเติบโตแบบขั้นบันใด – รายได้จะเติบโตแบบมั่นคงตามระยะเวลา หรือการทำให้ได้ตามกรอบที่ได้กำหนดวางไว้ รายได้จะเติบโตแบบช้าๆแต่มั่นคง เป็นไปตามแผนการเงินของโครงสร้างบริษัท เช่น การทำงานประจำ เติบโตตามประสบการณ์และตำแหน่งงาน , การทำธุรกิจที่หลายๆ อย่างยังต้องทำเองเกือบจะทุกอย่าง (รายได้จะเติบโตตามการลงมือทำ หากหยุดรายได้ก็หยุด จึงนับว่ายังเป็นรายได้แบบขั้นบันใด) การเติบโตแบบบันใดเลื่อน – ...