Covid-19 สาเหตุ ‘ยางแผ่นดิบขาดตลาด’

โควิดทำให้เกิดปรากฏการณ์ ‘ยางแผ่นดิบขาดตลาด’ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รายงานสถานการณ์ราคายางพารา ณ วันที่ 1 ก.ย. 2563 ราคาประมูลเฉลี่ย ณ ตลาดกลาง ยางพารายางแผ่นดิบอยู่ที่ 55.39 บาทต่อกิโลกรัม ราคายางแผ่นรมควันอยู่ที่ 60.05 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคา FOB อยู่ที่ 62.90 บาทต่อกิโลกรัม 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) และมาตรการปิดเมือง
อีกทั้งยังไม่สามารถ ควบคุมได้ในหลายประเทศทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการทางการเงินและการคลังในขนาดใหญ่ เพื่อประคับประคอง ระบบเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางการเงิน
แต่ภาพรวมเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย โดย กองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF)

คาดการณ์เพิ่มเติมในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกจะหดตัวลดลงร้อยละ 4.9 จากเดิม
ที่คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 3.0 และคาดการณ์ของประเทศคู่ค้าที่สําคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยูโรโซน
อยู่ที่ -8.0, -5.8 และ -10.2 ยกเว้นจีนที่มีโอกาสขยายตัวอยู่ที่ 1.0

โดยราคายางมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นอเมริกาบวก เงินดอลลาร์สหรัฐทรงตัว
ราคาเงินเยนอ่อนค่า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

สถานการณ์ที่ทำให้ราคายางพาราไม่สดใสมาเป็น 10 ปี นั้นมีผลมาจาก

  1. ไทยยังมีการพึ่งพาการส่งออกยางพาราเป็นหลัก เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
    เช่น ปัญหาสงครามทางการค้า โรคระบาด ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไปตลาดหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน
  2. ราคายางพาราอ้างอิงจากตลาดซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศเป็นหลัก
    จึงทำให้มีการเก็งราคาและแทรกแซงราคา จนเกิดความผันผวนของราคาสูง ซึ่งไม่สะท้อนกับความเป็นจริง
  3. ราคายางพารายังอ้างอิงจากราคาน้ำมันโลก
    จึงเกิดความผันผวนของราคาสูงและอยู่เหนือการควบคุมได้
  4. กลุ่มประเทศ CLMV หันมาปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น
    ทำให้เกิดภาวะอุปทานยางพาราโลกเกินกว่าอุปสงค์
  5. ต้นทุนการผลิตและการส่งออกไทยสูงกว่าคู่แข่งขัน (ต้นทุนแรงงานและพลังงาน)
    เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม
  6. ค่าเงินบาทไทยที่แข็งค่า ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน
  7. ปัญหาการชำระเงิน และการยกเลิกสัญญาของกลุ่มลูกค้าบางราย

อ้างอิง: https://bit.ly/31SK9KG
https://bit.ly/34ZgVfb