วางแผนให้ดี.. ลำบากตอนเกษียณมีเยอะ

ใครที่หวังว่าเกษียณแล้วจะสบาย พอเกษียณแล้วสบายจริงๆหรือเปล่า?

จากผลสำรวจ วิจัยตัวเลขจากแบงค์ชาติ พบว่า “เกษียณแล้ว” แต่ไม่ได้สบายมีเยอะมาก สมมุติคนวางแผนเกษียณ 100 คน พอเกษียณจริงมากกว่า 95% คือล้มเหลว มีเงินไม่พอใช้

มาดูตัวเลขกันว่าคนทั่วไปเป็นอย่างไร ? เมื่อถึงวัยเกษียณ

1% = ร่ำรวย เป็นเศรษฐี
4% = มีเงินใช้สุขสบาย
7% = พอช่วยเหลือตัวเองได้
40% = ต้องพึ่งพาลูกหลาน สถานสงเคราะห์
48% = ยังคงต้องดิ้นรน ทำงานหนักแม้จะแก่แล้ว

สรุป สำเร็จแค่ 5% ล้มเหลว 95%

ยิ่งคุณแก่คุณก็จะพบว่า ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปได้หมด ตอนแรกวางแผนเกษียณก็คิดแค่ค่าใช้จ่าย ค่ากิน ในการดำรงชีวิต

เช่น ลองคิดง่ายๆ แค่ปัจจัยพื้นฐาน
ค่าอาหารต่อ 1 คน
1 วัน 3 มื้อ
1 ปี = 365 วัน x 3 มื้อ = 1,095 มื้อ

ถ้ากินมื้อละ 30 บาท ต้องใช้เงิน = 32,850 บาท/ปี
ถ้ากินมื้อละ 50 บาท ต้องใช้เงิน = 54,750 บาท/ปี

นอกจากนี้ เราอาจต้องมีรายจ่ายทั้ง 7 ข้อ หลังเกษียณ
1. เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องนุ่งหุ่ม
2. ยารักษาโรคพื้นฐาน ปวดหัว ตัวร้อน
3. ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย
4. ค่าใช้จ่ายการเดินทาง พักผ่อน ไปธุระต่างๆ
5. ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเน็ต
6. ค่าซ่อมแซมบ้าน ค่าซ่อมแซมรถ
7. ค่าภาษีสังคมต่างๆ งานบุญ งานศพ งานบวช วันเกิดลูกหลาน

สมมุติเกษียณตอนอายุ 60 ถ้าหากตายอายุ 85 แปลว่าส่วนต่างคือ 25 ปี

แปลว่าตอนที่เราอายุ 60 ปี ต้องมีเงินเก็บก่อนเกษียณแล้ว เพราะหากอายุเกิน 60 ปี แล้วการมีรายได้นั้นยากยิ่งนัก

แล้วถ้าหลังวัยเกษียณเรากินข้าวมื้อละ 50 บาทล่ะ

เงินสำหรับกินข้าวมื้อละ 50 บาท 25 ปีจะ = 50x1095x25 = 1,368,750 บาท

นี่คือเฉพาะเงินกินข้าวที่เป็นค่าอาหารพื้นฐาน ไม่นับมื้อพิเศษ หัวละ 299 หรือ 399 บาท และคิดเพียงแค่ 1 คนเท่านั้น!

แล้วถ้าเงินเฟ้อกว่าที่คิดอีกล่ะ ?
ถ้าลูกหลานไม่เลี้ยง ?
ถ้าป่วยเป็นโรคร้ายอีก ?

ถ้าหากเราไม่วางแผนเกษียณดีๆ อย่าได้หวัง จะไม่มีการกินในห้าง ไม่มีการฉลองวันเกิดใดๆจนตาย

รู้หรือยังครับ ทำไมต้อง “ทำงานหนัก” เพื่อวันข้างหน้า !!!
รู้หรือยังว่าทำไมต้องรีบทำงาน “หาเงิน” ตั้งแต่วันนี้ !!!


#วางแผนเกษียณ
#ไปให้ถึง100ล้าน