ทำทีละชิ้น เล่าไปทีละเรื่องราวผ่าน ‘Tynee Basket’ เค้กโฮมเมด ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของคนสั่งผ่านเมนูขนมอบที่ใครเห็นเป็นต้องฟิน ร้านเค้กเล็กๆ ออเดอร์เยอะจนลูกค้าต้องจองล่วงหน้า นิยามของ Tynee Basket เค้ก คือ ตัวแทนของความรู้สึก “เค้ก” นั่นสื่อถึงตัวแทนของความยินดี และการเฉลิมฉลอง ผู้ให้ย่อมมีความสุขแล้วแต่ผู้ที่ได้รับย่อมมีความสุขมากกว่า จากประสบการณ์การลองผิดลองถูก หาความชอบของตัวเอง จนสุดท้ายได้มาเจอ ธุรกิจในแบบของตัวเอง ทุกวันนี้ สิ่งที่ทำคือสิ่งที่รัก ดังนั้น ทุกอย่างคือ การปล่อยพลังสร้างสรรค์ ทุกงานคือ ความใส่ใจที่ส่งมอบให้ โดยทำทีละชิ้น เล่าไปทีละเรื่องราวผ่าน ‘Tynee Basket’ ร้านเค้กโฮมเมด ที่ต้องนั่งฟังเรื่องราวของลูกค้าก่อนทำเสมอ จุดเริ่มต้นของ Tynee Basket ธุรกิจที่ผสมผสานระหว่าง ‘ความชอบ’ ผสมผสานกับ ‘ความครีเอทีฟ’ คุณสุภัทร์พร​ โปสกนิษฐกุล​หรือ “คุณฝน” เล่าถึงความชอบส่วนตัวเองในครั้งนั้นว่า อยากลองทำธุรกิจยิ่งถ้าเป็นธุรกิจที่ชอบแล้วด้วยนั่นคงจะสนุกและดีมาก ๆ อีกทั้งหากธุรกิจนั่นเป็นธุรกิจที่ไม่เหมือนที่คนอื่น เคยทำกันมาก่อนคงจะดีไม่ใช่น้อย จากไอเดียความชอบจึงทำให้ได้ทดลองทำแบบลองผิดลองถูก โดยเริ่มแรกก็เป็น เค้กในขวดโหลและช็อตเค้กญี่ปุ่นมาก่อน เพราะอยากให้เค้กมีความครีเอทที่ต่างจากเค้กร้านอื่น ๆ แถมต้องการให้กลิ่นความตลบอบอวลของเค้กสื่อออกมาในรูปแบบของความอบอุ่น ดังนั้นจึงเลือกไปเลือกมา สุดท้ายก็มาลงเอยที่เค้ก Fondant Cake ...

ขายของออนไลน์กำลังเป็นอาชีพเสริมยอดนิยม และมีหลายคนที่ทำๆไป อาชีพเสริมที่ว่านี้ก็กลายเป็นอาชีพธุรกิจหลักของตัวเองได้เลย LAZADA หนึ่งในแพลตฟอร์มซื้อ-ขายของออนไลน์ยอดนิยม ที่ไม่ว่าใครก็เป็นพ่อค้า แม่ค้าได้ แต่วันนี้เราได้นำมือหนึ่งเรื่อง LAZADA ที่ได้รับใบรับรองทั้งประเทศมีแค่ไม่กี่คน มาแชร์เคล็ดลับทำยังไงถึงจะขายของออนไลน์สำเร็จได้ไปดูกัน แชร์ไอเดียสู่คนที่สนใจ กลายเป็น 1 ในไม่กี่สิบคนที่ได้รับรอง… “คุณเฟรน Train Lazada” ผู้ฝึกสอนที่ทางลาซาด้าได้รับรองเป็น “Certified Trainer Program”ได้แชร์ให้ฟังว่า การจะทำให้ขายของออนไลน์ได้นั้น วิธีคิดขั้นแรกคือหาวิธี ให้ “ลูกค้าเลือกร้านของเรา” โดยสิ่งที่จะทำให้เป็นผลสำเร็จได้นั้น ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ และ 3 เทคนิค ดังนี้ (1) รู้จักชื่อสินค้าที่แท้จริง “ตั้งชื่อตามที่ลูกค้าพูด” ร้านจะโดดเด่นกว่า เพราะลูกค้าคีย์หาด้วยคำตามที่พูด กลยุทธ์แรกที่น่าสนใจ ถ้าเรารู้จักคำที่ลูกค้าใช้ในการค้นหาได้จริง ก็เพิ่มโอกาสต่อยอดธุรกิจได้ดีกว่าเจ้าอื่นซึ่งส่วนใหญ่ผู้ขายจะตั้งชื่อ ตามสิ่งที่ชอบเป็นพิเศษ การตั้งชื่อที่รู้ใจ เป็นการต่อยอดในอนาคตได้ดีซึ่งการค้นหาชื่อสินค้ามีทั้งชื่อหลัก ชื่อแบรนด์ และก็ชื่อเล่น.. ยกตัวอย่าง หมอนสุขภาพ หมอนยางพารา หมอนขนเป็ด ส่วนใหญ่ลูกค้าจะไม่ได้ค้นหาชื่อตรง ๆ ของสินค้า แต่จะค้นหาจากชื่อเล่น คือ“หมอนดูดวิญญาณ” หากร้านไหนตั้งชื่อได้ตรงกับสิ่งที่เขาพิมพ์ในช่องค้นหา ก็มีโอกาสขายได้ดีกว่าร้านอื่น ๆ แน่นอน ...

ตะกร้าหลายใบยังไงก็ดีกว่าในยุคที่ “ไม่มีอะไรแน่นอน” คนที่มีรายได้เยอะ และ มีรายได้หลายทาง ล้วนมีสิ่งที่เหมือนกันนั้นคือ เริ่มต้นจากการเห็นความเสี่ยงจากการมีรายได้ทางเดียว เราทุกคนล้วนมีธุรกิจซ่อนอยู่ในตัว อย่างน้อยคนละ 1 ธุรกิจ โดยสิ่งเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปแบบของ ความชอบ งานอดิเรก หรือ สิ่งที่เราถนัด เพียงแต่เราต้องเอามันออกมาปัดฝุ่นใช้ “หาเงิน” เท่านั้นเอง ดังนั้น การทำเงินจึงต้องเริ่มมองหาสิ่งที่เป็นต้นทุนหลังจากความชอบและงานอดิเรก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็มีได้ แบบคุณนาฟิส ที่เริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านตัวยง ที่ชอบจับประเด็นดี ๆ มาคิดเรียบเรียงออกมาเป็น “คอนเทนต์”แล้วนำไปเขียนลงในเพจ “สมองไหล” ทั้งช่องทาง Facebook และ Blockdit จากเพจเล็กๆ โนเนม จนก้าวสู่การเพิ่มยอดผู้ติดตาม มากกว่า 100,000 คน ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนสามารถทำรายได้มากกว่า 100,000 แสนบาท แถมยังได้ออกทีวีรายการชื่อดังอีกด้วย จุดเริ่มต้นจาก “งานประจำ” สู่เจ้าของเพจ และก็ยังทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไปด้วย เป็นรายได้ 2 ทาง “คุณนาฟิส” เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ ตั้งแต่สมัยเรียน โดยจะพกหนังสือติดตัวไปอ่านทุกทีเสมอ จนเพื่อนๆ ถามว่า “อ่านอะไร” ? และอยากจะรู้เรื่องราวในหนังสือที่อ่านบ้าง แต่เขาขี้เกียจอ่าน ...

หลังจากประเทศไทยคลายล็อกดาวน์ ธุรกิจทั่วไทยจากเดิมรายได้ลดลงจากที่เป็นอยู่ กำลังถูกฟื้นฟูให้กลับมา ปัจจัยท้าทายที่สำคัญต่อเศรษฐกิจในระยะนี้ คือ ภาวะกำลังซื้อชะลอตัว โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจจะหดตัวร้อยละ 6 ซึ่งส่งผลต่อปัญหาการว่างงาน ทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น  อย่างไรก็ตามยังคงมีบางธุรกิจที่จะฟื้นตัวในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะธุรกิจที่สอดคล้องกับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก หรือธุรกิจที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง วันนี้จะยกตัวอย่าง 4 ธุรกิจที่น่าจับตามองหลังโควิด  ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนหันกลับมารักสุขภาพกันมากขึ้น และตระหนักถึงการดูแลตัวเอง นี่จึงถือเป็นโอกาสสำหรับสินค้าอย่าง อาหารเพื่อสุขภาพ ยา สมุนไพร เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ รวมไปถึงธุรกิจเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ธุรกิจค้าปลีกเพราะลูกค้ายังคงนิยมการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์เพิ่มขึ้น แม้บางส่วนจะเริ่มกลับมาใช้บริการช่องทางหน้าร้านมากขึ้น แต่ถึงอย่างไรคนก็ยังมีพฤติกรรมซื้อสินค้าออนไลน์เนื่องจากมีความสะดวกที่มากกว่า ธุรกิจร้านอาหารแม้ว่าบริการเดลิเวอรี่ยังคงได้รับความนิยม แต่หลังจากคลายล็อกดาวน์ยังคงมีลูกค้าที่ยังซื้ออาหารหลับไปทานที่บ้าน แต่ยังมีลูกค้าบางกลุ่มที่ต้องการใช้บริการที่ร้าน โดยร้านอาหารปรับเปลี่ยนตามมาตรการก็ยังตอบโจทย์ลูกค้าที่เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักอยู่ ธุรกิจที่ปรับตัว ยังขอยืนยันว่าธุรกิจที่จะสามารถอยู่รอดได้นั้น คือธุรกิจที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่อการทำงานหรือการเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ มาตรการภายหลังคลายล็อกที่เกิดขึ้นประเทศต่างๆ ถือเป็นปัจจัยที่ฟื้นฟูธุรกิจที่ได้รับผลกระทบในช่วงที่ผ่านมา แต่ปัจจัยที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ การดำเนินธุรกิจต้องมีความรอบคอบ รวมถึงให้ความสำคัญกับการหาพันธมิตรเพิ่มเติมเพื่อทดแทนพันธมิตรที่ลดลงในช่วงการระบาด อ้างอิง : https://www.posttoday.com/economy/news/627760 ...

ใน 5 ปีที่ผ่านมามีธุรกิจเกิดใหม่ 70,000 รายต่อปี แต่มีเพียง 50% เท่านั้นที่ก้าวผ่านปีแรกไปได้ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้กิจการเหล่านั้นต้องปิดตัวลง…ความรู้? ทักษะ? หรือเงินทุน? ปัญหาที่น่าสนใจนี้ ทาง TMB ได้ลงมือศึกษาเรื่องนี้แบบจริงจัง โดยศึกษาจาก SME ไทยทั่วประเทศที่มีรายได้เฉลี่ย 1-50 ล้านบาท คละประเภทธุรกิจ และคละประเภทอุตสาหกรรม จำนวนกว่า 200 คน คำตอบที่ได้ทำให้ชวนทึ่งกว่าเดิม เพราะปัญหาทางด้านความรู้ที่กล่าวมานั้นเป็นแค่ประเด็นรอง สาเหตุหลักๆ ที่ SME ไปไม่ถึงฝั่งเป็นเพราะ “ทัศนคติ และพฤติกรรมของเจ้าของเอง” บางเจ้าขายดีมาก ยอดขายเยอะ แต่พอไปดูรายได้จริงๆ แล้ว “ไม่มีกำไร” ขายเพื่อเอายอดขายอย่างเดียว…เข้าตามตำรา “ขายดีจนเจ๊ง” พอมาดูตัวอย่างอีกเจ้า บริหารธุรกิจแบบวันต่อวัน วันนี้จะทำแบบนี้ พอมาอีกวันจะทำอีกอย่างไม่ต่อเนื่อง ซ้ำยังเสียเงินทุนไปเรื่อยๆ มีแต่สิ่งที่ทำได้แบบแค่ครึ่งๆ กลางๆ ทำตามใจแบบไม่ได้วางแผน เมื่อเจอปัญหาก็เปลี่ยนใจไปทำอีกทางแทน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจน งง ตัวเอง และนั้นทำให้พนักงานก็สับสนไปด้วย ว่าเจ้าของธุรกิจจะเอายังไงกันแน่ ปัญหาเหล่านี้ไม่น่าเชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ธุรกิจ SME ไทยหลายรายไปไม่รอด ถ้ามองดูภายนอกคนทั่วไปจะนึกว่าปัญหามาจากการ “ขาดความรู้” ...

ถ้าพูดถึงการวางกลยุทธ์สำหรับองค์กร  นักการตลาด เจ้าของธุรกิจหลายๆ คนอาจจะคิดว่าตัวเองเข้าใจดีอยู่แล้ว  แต่รู้ไหมว่าพื้นฐานจริงๆ ของการวางกลยุทธ์นั้นต้องมีกระบวนการทางความคิด  ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ระยะสั้น หรือระยะยาว เพื่อไม่ให้สุดท้ายแล้วกลายเป็นกลยุทธ์ที่ “ไร้สาระ” เราลองมาดูวิธีวางกลยุทธ์เด็ดๆ ที่นำไปต่อยอดในปี 2018 ได้กัน ...